กลไกเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่นโยบายด้านสุขภาพและการค้าระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.)
dc.contributor.author | วีระ หวังสัจจะโชค | th_TH |
dc.contributor.author | Weera Wongsatjachock | th_TH |
dc.contributor.author | วินัย ลีสมิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Vinai Leesmidt | th_TH |
dc.contributor.author | ชินวัฒน์ หรยางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | Shinawat Horayangkura | th_TH |
dc.contributor.author | นพพล ผลอำนวย | th_TH |
dc.contributor.author | Noppon Phon-amnuai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-27T07:50:47Z | |
dc.date.available | 2023-12-27T07:50:47Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 647-659 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5981 | |
dc.description.abstract | บทความวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาการทำงานของคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.) ในฐานะกลไกเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่นโยบาย เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการและพิจารณาผลกระทบต่อความเชื่อมโยงของนโยบายสุขภาพ ด้วยวิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลแบบยุทธศาสตร์เฉพาะส่วน การบรรลุเป้าหมาย และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาพบว่า คจคส. สามารถวางกรอบองค์ความรู้และสร้างความเชื่อมโยงนโยบายได้ในระดับการติดตามนโยบายจากภาครัฐ และสามารถเป็นเวทีในการสร้างการมีส่วนร่วม โดยได้สร้างความเชื่อใจระหว่างตัวแสดงทางนโยบายให้สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสมัครใจ แต่ยังพบอุปสรรคอยู่ในเรื่องของโครงสร้างการทำงาน ข้อจำกัดของข้อเสนอทางนโยบาย ความไม่แน่นอนของตำแหน่งและตัวบุคคลในกรรมการ และข้อจำกัดในเรื่องความรวดเร็วในการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการและองค์ความรู้ให้ทันกระแสนโยบาย งานวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้พัฒนา คจคส. ให้เป็นเวทีการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการและสร้างฐานธนาคารข้อมูลเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและนโยบายสุขภาพ จนไปถึงการปรับการทำงานในเชิงรุกและสร้างการสื่อสารสู่สาธารณะให้ไกลกว่าแค่วงวิชาการ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การค้าระหว่างประเทศ | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.title | กลไกเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่นโยบายด้านสุขภาพและการค้าระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.) | th_TH |
dc.title.alternative | Knowledge and Policy Linkage Mechanism between Health and International Trade: A Case Study of the National Committee on International Trade and Health Studies (NCITHS) | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research article studied the role of the National Committee on International Trade and Health Studies (NCITHS) in terms of policy coherence linking knowledge to performance and outcomes. The research employed qualitative methods including documentary research and in-depth interview to collect data based on the research framework namely strategic-constituencies approach, goal attainment, and theory of change. The findings showed that NCITHS could frame knowledge and policy coherence in case of monitoring public policies and became a participatory platform to create ‘trust’ among policy actors to willingly share information. However, there were some obstacles, including the organizational structure, limitation of policy recommendation, inconsistence of position and person in committee’s composition as well as the limitation of presenting academic information to reach policy stream. The research suggests that NCITHS should become a formal platform for participation and create a databank about international trade and health policy. Moreover, the working process should be proactive and support political communication beyond academic circles to the broader public. | th_TH |
dc.subject.keyword | International Trade | th_TH |
dc.subject.keyword | ความสอดคล้องเชิงนโยบาย | th_TH |
dc.subject.keyword | การเชื่อมโยงองค์ความรู้ | th_TH |
.custom.citation | วีระ หวังสัจจะโชค, Weera Wongsatjachock, วินัย ลีสมิทธิ์, Vinai Leesmidt, ชินวัฒน์ หรยางกูร, Shinawat Horayangkura, นพพล ผลอำนวย and Noppon Phon-amnuai. "กลไกเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่นโยบายด้านสุขภาพและการค้าระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.)." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5981">http://hdl.handle.net/11228/5981</a>. | |
.custom.total_download | 387 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 32 | |
.custom.downloaded_this_year | 373 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 83 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ