dc.contributor.author | ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chathaya Wongrathanandha | th_TH |
dc.contributor.author | สุมนมาลย์ สิงหะ | th_TH |
dc.contributor.author | Sumonmarn Singha | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-27T07:53:00Z | |
dc.date.available | 2023-12-27T07:53:00Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 660-683 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5982 | |
dc.description.abstract | โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรวัยทำงาน การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการนับเป็นช่องทางสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีส่งเสริมให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทบทวนวรรณกรรมและรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (mixed method) ประกอบด้วยการทบทวนองค์ความรู้และสังเคราะห์ข้อเสนอ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยวิธีการ Delphi technique การทบทวนวรรณกรรมและสังเคราะห์องค์ความรู้ดำเนินการใน 5 ประเด็น คือ 1) นโยบายและมาตรการด้านกฎหมาย 2) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 3) ระบบข้อมูลและแอปพลิเคชันที่ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 5) เปรียบเทียบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การศึกษานี้นำเสนอรายละเอียดประเด็นที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมี 4 กลุ่ม คือ ผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน นายจ้าง ลูกจ้างและผู้เชี่ยวชาญ รวม 15 คน สัมภาษณ์ 2 ครั้ง นโยบายและมาตรการด้านกฎหมายที่เป็นโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพมี 4 กลุ่ม คือ 1) ด้านหลักประกันสุขภาพ 2) ด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิต 3) ด้านการควบคุมโรค วินิจฉัยโรค และชดเชยกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากงาน และ 4) ด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในที่ทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ในการปรับแก้ไขกฎหมายด้านที่ 1, 2 และ 3 ยกเว้น เรื่องการลดชั่วโมงการทำงาน การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในกฎหมายเหล่านี้ ส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกระดับกระทรวงซึ่งนับเป็นโอกาสที่จะสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ทันที ข้อเสนอแนะ การปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ คือ 1) ชุดสิทธิประโยชน์ด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) การใช้สิทธิประกันสังคมที่ห้องพยาบาล 3) สวัสดิการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ 4) บทบาทของบุคลากรในห้องพยาบาลให้ครอบคลุมการให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5) บทบาทของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ให้ครอบคลุมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ 6) โรคจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานให้อยู่ในรายการกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและโรคที่ได้รับการชดเชย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | สถานประกอบการ | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.title | ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนวัยทำงาน | th_TH |
dc.title.alternative | Policy Recommendations for Legislative Changes to Facilitate Health Promotion and Non-Communicable Disease Prevention in Working Population | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Non-communicable diseases (NCDs) are important health problems in working population. Workplace health promotion (WHP) plays a crucial role in reaching this group; therefore, the measures to promote WHP need exploration. This study aimed to review literature and explore stakeholders’ perspective to synthesize policy recommendations. The mixed method research was used, including literature review and stakeholder interview by Delphi technique. Results revealed 5 major issues: 1) policy, laws, and regulations, 2) behavioral economics and social theory, 3) data system and application supporting lifestyle modification (LSM), 4) personal data protection laws, and 5) WHP package comparison. This paper explored policy, laws, and regulations in details. Fifteen stakeholders representing the Ministry of Labor, employers and employees were interviewed twice. The opportunities to improve WHP through policy and legislations were listed: 1) health insurance scheme, especially the social security scheme (SSS), 2) welfare and quality of life 3) control, diagnosis and compensation for work-related illness or injury, and 4) control of NCD risk factors in workplace. Stakeholders agreed upon most of the proposed amendments, except reducing the allowed working hours. These changes needed merely ministerial level amendments. Recommendations: Legislative amendments to improve WHP were proposed: 1) include LSM consultation in the essential health benefit package, 2) register the workplace first aid room in the SSS provider list with payment schedule, 3) define health promoting environment in workplace as welfare at workplace, 4) retrain the first aid room health personnel to be capable in giving LSM consultation, 5) extend the role of workplace safety committee to cover WHP, and 6) specify diseases from long working hours as the work-related or occupational diseases eligible for compensation. | th_TH |
dc.subject.keyword | ประชากรวัยทำงาน | th_TH |
dc.subject.keyword | การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ | th_TH |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
.custom.citation | ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์, Chathaya Wongrathanandha, สุมนมาลย์ สิงหะ and Sumonmarn Singha. "ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนวัยทำงาน." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5982">http://hdl.handle.net/11228/5982</a>. | |
.custom.total_download | 718 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 42 | |
.custom.downloaded_this_year | 701 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 122 | |