การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19
dc.contributor.author | จิราภรณ์ ชูวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraporn Choowong | th_TH |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ ตุลยกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Phatcharapon Tulyakul | th_TH |
dc.contributor.author | เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiamjit Sophonsuksathit | th_TH |
dc.contributor.author | ประไพ เจริญฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Prapai Jarernrit | th_TH |
dc.contributor.author | เสาวณีย์ ปล้องหอย | th_TH |
dc.contributor.author | Saowanee Plonghoy | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-27T07:59:19Z | |
dc.date.available | 2023-12-27T07:59:19Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 765-778 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5985 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: โครงการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน พัฒนา และศึกษาผลของรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการระบาดของ COVID-19 ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้แบบประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง 40 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มีอาการนอกโรงพยาบาล จำนวน 10 คน หัวหน้าแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 2 คน แพทย์แผนกฉุกเฉิน จำนวน 4 คน พยาบาลในแผนกฉุกเฉิน จำนวน 20 คน และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 4 คน ผลการศึกษา: รูปแบบที่ได้รับการพัฒนา จำแนกได้เป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการดูแลก่อนมาโรงพยาบาล ประกอบด้วย ระบบการแพทย์ทางไกล ระบบการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุที่คำนึงถึงการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล (2) ระยะการดูแลในแผนกฉุกเฉิน ประกอบด้วย การคัดกรองการติดเชื้อ COVID-19 และการดูแลผู้ป่วย (3) ระยะการส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโดยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการแยกผู้ป่วย รูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่แตกต่างจากระบบบริการในก่อนการระบาดของ COVID-19 ในประเด็นการแยกผู้ป่วย การสวมหน้ากากอนามัยให้ผู้ป่วย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทีมสุขภาพ การงดให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA (recombinant tissue plasminogen activator) แก่ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง การดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA และการพิจารณาใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อลดการสัมผัส สรุปผล: ร้อยละ 99 ของกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาและกระบวนการของรูปแบบใหม่ที่มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง ทำให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย แต่ระยะเวลาในการเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ: เพื่อรักษาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับระบบใหม่นี้อย่างครอบคลุม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การพยาบาลฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject | Emergency | th_TH |
dc.subject | New Normal | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | th_TH |
dc.subject | Stroke | th_TH |
dc.subject | COVID-19 | th_TH |
dc.subject | COVID-19 Pandemic | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19 | th_TH |
dc.title.alternative | New Normal Emergency Stroke Care System in Public and Private Hospitals during COVID-19 Pandemic | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and Rationale: This research and development aimed to review, develop, and evaluate the new normal emergency stroke care system in public and private hospitals during the COVID-19 pandemic. Methodology: A research and development methodology was employed using system implementation form and semi-structured interviews for evaluation. Participants included 40 individuals, comprising 10 acute stroke patients exhibiting symptoms outside the hospital, 2 heads of accident and emergency departments, 4 emergency department physicians, 20 emergency department nurses, and 4 emergency medical workers. Results: The developed system unfolded in three phases. (1) Pre-hospital care phase integrated telemedicine for on-scene patient care, addressing the imperative of preventing COVID-19 infection, and transportation to the hospital systems. (2) Care phase in the emergency department with rigorous COVID-19 infection screening protocols and diligent patient care. (3) Patient in-hospital transfer phase needed a heightened focus on infection prevention and patient isolation during the transfer process. The new normal emergency stroke care system diverged significantly, emphasizing patient isolation, mandatory mask-wearing for patients, utilization of personal protective equipment by healthcare teams, a cautious approach to administering the blood thinner rt-PA (recombinant tissue plasminogen activator) to COVID-19 patients displaying severe symptoms, and enhanced monitoring of patients receiving rt-PA, with the potential inclusion of telemedicine to mitigate exposure risks. Summary: Ninety-nine percent of the samples agreed on the suitability and practicality of the new system’s content and procedures. The new normal model would serve as a robust safeguard for patients and healthcare staff alike, but with an increasing time-to-treatment. Suggestions: To maintain the quality of care, all healthcare staff involved in stroke care must receive comprehensive training on the new system. | th_TH |
dc.subject.keyword | การแพทย์ฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject.keyword | วิถีใหม่ | th_TH |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง | th_TH |
.custom.citation | จิราภรณ์ ชูวงศ์, Jiraporn Choowong, พัชราภรณ์ ตุลยกุล, Phatcharapon Tulyakul, เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์, Jiamjit Sophonsuksathit, ประไพ เจริญฤทธิ์, Prapai Jarernrit, เสาวณีย์ ปล้องหอย and Saowanee Plonghoy. "การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5985">http://hdl.handle.net/11228/5985</a>. | |
.custom.total_download | 754 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 62 | |
.custom.downloaded_this_year | 741 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 163 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ