• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การจัดทำระบบฐานข้อมูลและทดลองใช้เครื่องมือมาตรฐาน รายงานต้นทุน (Standard Cost Report) ของสถานพยาบาลในพื้นที่นำร่อง

ไอลดา สุขนาค; I-lada Sooknark; ครรชิต สุขนาค; Kanchit Sooknark;
วันที่: 2567-03
บทคัดย่อ
โครงการนี้ดำเนินการตามข้อเสนอคณะทำงานขับเคลื่อนความเพียงพอและความยั่งยืนของงบประมาณ เป็นการปรับปรุงการจัดทำบัญชีต้นทุนสถานพยาบาล เป็นมาตรการ Prerequisite ระยะสั้นของคณะทำงานขับเคลื่อนความเพียงพอและความยั่งยืนของงบประมาณภายใต้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดที่ 1 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดกระบวนการนำไปใช้เป็นรูปแบบการรายงานข้อมูลต้นทุนของสถานพยาบาลที่กำหนดหรือปฏิบัติ เป็นแนวทางเดียวกันทั้งประเทศได้ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยเป็นการทดลองใช้รายงานต้นทุนบริการในพื้นที่นำร่อง เพื่อทดสอบระบบ Platform ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนความเข้าใจในการนำเข้าข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ในพื้นที่นำร่อง รวมถึงปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์ก่อนการพัฒนาเพื่อนำไปขยายผลใช้ในระดับประเทศ โดยมีการดำเนินงานประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1. จัดทำ Platform ระบบฐานข้อมูลและคู่มือมาตรฐานรายงานต้นทุน (Standard Cost Report) ของสถานพยาบาล ส่วนที่ 2. ประสานงานสถานพยาบาลผ่านผู้ตรวจราชการของเขตสุขภาพในพื้นที่นำร่องและจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ Platform และการเข้าถึงฐานข้อมูลต้นทุนบริการจำแนกตามประเภทสถานพยาบาลที่ผู้เข้าร่วมอบรมสังกัด ส่วนที่ 3. สัมภาษณ์เชิงลึกและ/หรือสนทนากลุ่ม ภายหลังจากการจัดการทดลองใช้ Platform และส่วนที่ 4. การจัดทำฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับทุกประเภทสถานพยาบาล ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการขยายไปสู่การปฏิบัติ สามารถกำหนดให้ทุกสถานพยาบาลในภาครัฐได้ โดยมีลำดับการจัดทำ คือ โรงพยาบาล (รพ.) ที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้เป็นลำดับแรก คือ รพ. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกับ รพ. สังกัดอื่นนอกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข แล้วจึงขยายไปสู่ รพ. นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ รพ. เอกชน จำเป็นต้องใช้การบังคับใช้ผ่านกฎหมาย สำหรับระบบฐานข้อมูลมีระบบการนำเข้าข้อมูล (Import Data) โดยต้นสังกัดสามารถนำเข้าข้อมูลจากฐานข้อมูลรายงานทางการเงินของทุก รพ. เข้ามาในระบบได้ อย่างไรก็ดีระบบฐานข้อมูลยังมีข้อจำกัดที่ต้องมีรายงานทางการเงินที่อยู่ในรูปแบบเดียวกัน หรือมีผังบัญชีย่อยที่เหมือนกันดังนั้นการนำเข้าข้อมูลจำเป็นต้องแปลงให้อยู่ในคำจำกัดความและระบบข้อมูลเดียวกันก่อนจึงทำการนำเข้าข้อมูล

บทคัดย่อ
This project is carried out according to the proposal of the working group to drive budget adequacy and sustainability. It is an improvement in hospital cost accounting. It is a short-term prerequisite measure of the working group driving the adequacy and sustainability of the budget under the First National Reform Commission, which aims to create a process to use it as a data reporting format. Cost of designated or practiced healthcare facilities It can be the same approach throughout the country. This research is a qualitative study using service cost reporting in a pilot area. To test the Plat Form system, problems and obstacles as well as an understanding of data import and data analysis. as well as being used in pilot areas, including improving the system to perfection before development in order to expand it for use at the national level. The work consists of four parts: Part 1. Prepare a platform, database system, and standard cost report manual for health care facilities. Part 2. Coordinate with health care facilities through the Inspector General of health districts in pilot and management areas. Workshop on using the platform and accessing service cost databases classified by type of hospital that participants belong to. Part 3. In-depth interviews and/or group discussions After organizing a trial of the platform and Part 4. Creating a database to be consistent with all types of medical facilities. The research results found that the process extends into practice. Can be assigned to every hospital in the government sector immediately. The order of preparation is that hospitals can proceed immediately with hospitals under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, along with other hospitals outside the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health but under the Ministry of Public Health, then expand to hospitals outside the Ministry of Public Health, while private hospital enforcement through law is required. For the database system, there is a data import system (Import Data). The agency can import data from the financial reporting database of every hospital into the system. However, the database system still has limitations in that financial reports must be in the same format or have the same sub-chart of accounts, so importing data needs to be converted to the same definition and information system before importing data.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3091.pdf
ขนาด: 10.06Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 19
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 49
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อบริหารจัดการและการจัดทำนโยบายด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพแรงงานข้ามชาติ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา: สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 

    สุทัศน์ โชตนะพันธ์; Suthat Chottanapund; ยุทธนา ลิลา; Yutthana Lila; ยศวลัย โชติปทุมวรรณ; Yodsawalai Chodpathumwan; สรรค์วิทย์ เอียบฉุ้น; Sanwit Iabchoon; จริยา ยมเสถียรกุล; Jariya Yomsatainkul; รัชตะ อัศวรุ่งนิรันดร์; Rachata Ausavarungnirun; จริยา ดำรงศักดิ์; Chariya Damrongsak; เตือนใจ นุชเทียน; Tuenjai Nuchtean; แสนสุข เจริญกุล; Sansuk Charoenkun (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-09-13)
    การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อบริการจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 เพื่อนำข้อมูลมาบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยใช้ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม จากคลังข้อมู ...
  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพจิตวิถีใหม่ 

    ฐิติพร สุแก้ว; Thitiporn Sukaew; นพพร ตันติรังสี; Nopporn Tantirangsee; พยงค์ เทพอักษร; Phayong Thepaksorn; ภัทรหทัย ณ ลำพูน; Pathathai Na Lumpoon; นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; เยาวลักษณ์ มีบุญมาก; Yaowaluck Meebunmak; วันดี แสงเจริญ; Wandee Saengjarern; สันติ ประไพเมือง; Sunti Prapaimuang; กีรติ พลเพชร; Keerati Ponpetch; เพ็ญนภา กวีวงศ์ประเสริฐ; Pennapa Kaweewongprasert; ดาวรุ่ง คำวงศ์; Daoroong Komwong; อลิซาเบธ เคลลี่ ฮอม เทพอักษร; Elizabeth Kelly Hom Thepaksorn; นิสารัตน์ สงประเสริฐ; Nisarat Songprasirt; รวิษฎา บัวอินทร์; Rawisada Buain (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-06)
    ความเป็นมาและเหตุผล : การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของปัจจัยกำหนดสุขภาพจิตในช่วง “ความไม่ปกติใหม่ (New Abnormal)” ส่งผลให้ต้องมีการต้องประเมินสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพจิตและนวัตกรรมทางเลือกที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเ ...
  • การสังเคราะห์สารสนเทศทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 

    ประคิณ สุจฉายา; Phakin Sutchaya (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2549)
    การสังเคราะห์สารสนเทศทางการพยาบาลและผดุงครรภ์ โดยการบูรณาการข้อมูลจากเอกสารและฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์บุคคล 12 คนที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางการพยาบาลและผดุงครรภ์ในสถาบันต่างๆ พบว่า ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV