dc.contributor.author | ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeepong Suphanchaimat | th_TH |
dc.contributor.author | ฑิณกร โนรี | th_TH |
dc.contributor.author | Thinakorn Noree | th_TH |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ พะไกยะ | th_TH |
dc.contributor.author | Nonglak Pagaiya | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-04-26T07:34:34Z | |
dc.date.available | 2024-04-26T07:34:34Z | |
dc.date.issued | 2567-01 | |
dc.identifier.other | hs3101 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6055 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อถอดบทเรียนกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการหนุนเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการถ่ายโอนและลดผลกระทบทางด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นของการกระจายอำนาจ การศึกษานี้ได้ศึกษาในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ในพื้นที่ร้อยละ 100 ได้แก่ 1) จังหวัดหนองบัวลำภู 2) จังหวัดปราจีนบุรี 3) จังหวัดขอนแก่น 4) จังหวัดสุพรรณบุรี และ 5) จังหวัดมุกดาหาร โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เครื่องมือประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์ แบบสอบถามผู้ให้บริการ รพ.สต. และแบบสอบถามผู้ใช้บริการใน รพ.สต. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล จำนวน 70 คน บุคลากรของ รพ.สต. จำนวน 500 คน และผู้ใช้บริการ รพ.สต. จำนวน 500 คน ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงต้นของการถ่ายโอนปัญหาและความท้าทายในภาพรวมที่เผชิญ ได้แก่ 1) ขาดกลไกในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ คณะกรรมการสุขภาพพื้นที่ (กสพ.) ไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง ขาดกลไกระดับอำเภอที่เชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆ ในระดับอำเภอเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ และความไม่พร้อมทั้งด้านจำนวนคนและประสบการณ์ของกองสาธารณสุข อบจ. ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการงาน 2) การบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบในบางบริการ เช่น บริการทันตกรรม งานด้านส่งเสริมสุขภาพ ตลอดทั้งงานควบคุมป้องกันโรค นอกจากนั้นความไม่ชัดเจนของตัวชี้วัดส่งผลต่อทิศทางการทำงานของ รพ.สต. และ 3) ปัญหาด้านกำลังคนเกี่ยวข้องกับประเด็นการสรรหา, ความก้าวหน้าของอาชีพ, ค่าตอบแทนพิเศษ, การให้ความดีความชอบ, การพัฒนาศักยภาพและการนิเทศงานต่างๆ นอกจากนั้นการถ่ายโอน รพ.สต. ในช่วงแรกมีผลกระทบต่อโครงการสามหมอทำให้การทำงานไม่เชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกันมากนัก การที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ยังอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข และขึ้นตรงกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) มีผลกระทบให้การทำงานระหว่าง รพ.สต., สสอ. และ อสม. ไม่ราบรื่นนัก และ รพ.สต. อยู่คนละสังกัดกับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ส่งผลต่อการทำงานเชื่อมโยงระหว่าง รพช. (หมอที่ 3) และ รพ.สต. (หมอที่ 2) เช่นกัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งด้านกำลังคน ด้านวิชาการ และด้านงบประมาณ แก่ กสพ., กองสาธารณสุขใน อบจ. และกลไกระดับอำเภอ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และ 3) กระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรร่วมกันกำหนดเรื่องแผนยุทธศาสตร์ปฐมภูมิระดับชาติและระบบการควบคุมคุณภาพการบริการระดับปฐมภูมิ กำหนดเป้าหมายบริการนำไปสู่การกำหนดตัวชี้วัดบริการสู่การบริการระดับปฐมภูมิของ รพ.สต. | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลชุมชน | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ผลกระทบของการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ : กรณีศึกษานโยบายสามหมอ ใน 5 จังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | The Effects of Decentralizing Health-Promoting Hospitals to Local Governments on Primary Health Care System: Case Study of the 3-Healthcare Provider Teams in 5 Provinces | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to 1) assess the lessons in relation to decentralization process and outputs from the decentralization of subdistrict health promoting hospitals (SHPH) to provincial administrative organizations (PAO) and 2) develop the policy recommendations in order to strengthen the decentralization process and to mitigate negative effects of decentralization. The study was carried out in 5 provinces where all SHPH in a province were decentralized to PAO. Both qualitative and qualitative data collection techniques were employed. Data collection tools comprised semi-structured interview guide, questionnaire survey for health personnel working at SHPH and questionnaire survey for people using services at SHPH. Seventy key persons from provincial, district and sub-districts levels were interviewed. Five hundred health personnel from SHPH and five hundred patients receiving services from SHPH were the target of the survey. The results showed that, in the first year of the decentralization, key problems encountered were: (1) lack of effective administer mechanism including, incapability of the Health Area Board (HAB) to function as expected, (2) lack of mechanism to coordinate multi-stakeholders in district levels, and ineffective Health Division of PAO, (3) reduction of health service utilization after decentralization, especially for dental services, health promotion services and disease prevention activities, and (4) health workforce management problems in relation to recruitment process, career advancement, incentive support, capacity building and supervision. In addition, the decentralization seemed to affect the relationship / coordination between the so-called “3 Doctors”, namely village health volunteers, SHPH personnel and doctors from district hospitals. To address these challenges, the recommendations were: 1) strengthening key administrative mechanisms of HAB, Health Division of PAO, and administrative authority at district levels, 2) developing effective health workforce planning and management, and 3) developing key performance indication by national authorities according to The National Primary Health Care Services Plan and cascading down to provincial levels and sub-district levels, so that the primary health care services will be able to operate coherently | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ร243ผ 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-079 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | อบจ. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
dc.subject.keyword | อสม. | th_TH |
dc.subject.keyword | สสอ. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพช. | th_TH |
.custom.citation | ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, ฑิณกร โนรี, Thinakorn Noree, นงลักษณ์ พะไกยะ and Nonglak Pagaiya. "ผลกระทบของการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ : กรณีศึกษานโยบายสามหมอ ใน 5 จังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6055">http://hdl.handle.net/11228/6055</a>. | |
.custom.total_download | 226 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 13 | |
.custom.downloaded_this_year | 226 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 45 | |
.custom.is_recommended | true | |