บทคัดย่อ
โครงการนี้เป็นการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องของการพัฒนาเชิงระบบที่เพิ่มการเข้าถึงการบำบัดฟื้นฟูเยาวชนในโรงเรียนที่ใช้สารเสพติด ซึ่งการวิจัยพัฒนาในระยะแรกชี้ว่าการใช้แนวทางสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถนะด้านจิตสังคมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยมาตรการการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ มีความเป็นไปได้และมีแนวโน้มของความสำเร็จ แต่การทดลองดำเนินการในโรงเรียนอย่างเป็นระบบกลับพบความยากลำบาก ที่จะก้าวข้ามวิถีการสื่อสารและการเรียนรู้ในโรงเรียนแบบเดิมๆ อันเป็นข้อจำกัดของทั้งครูและนักเรียน ซึ่งต้องการวิธีคิด มุมมองและทางเลือกเชิงบวกสำหรับการสื่อสารและเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะออกแบบหรือหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูแกนนำในโรงเรียนที่สนใจขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตสังคม ด้วยการนำแนวคิดศาสตร์ละครประยุกต์มาใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะนักเรียนแกนนำ ในการทำบทบาทเพื่อนช่วยเพื่อน และประมวลผลการใช้ศาสตร์ละครประยุกต์ในการเพิ่มความสร้างสรรค์และเสริมพลังการเรียนรู้ ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 5 คน จากคลินิกสุขภาพวัยรุ่นของโรงพยาบาลจังหวัด ครูแกนนำ จำนวน 5 คน ร่วมกับนักเรียนแกนนำ จำนวน 5 คน จากโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง ในพื้นที่ที่ดำเนินการวิจัยพัฒนาระยะแรกร่วมกันมาแล้ว ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนแกนนำ ควรปรับกระบวนการเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะการใช้เทคนิคละครประยุกต์ให้ครูและนักเรียนแกนนำไปพร้อมกัน เพื่อให้ได้เครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของกิจกรรมหรือโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน 2) พัฒนาแกนนำนักเรียนต่อยอด เพื่อให้ทำบทบาทเพื่อนช่วยเพื่อน ด้วยการฝึกทักษะออกแบบกิจกรรมและการสร้างพื้นที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือละครประยุกต์ที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ทั้งนี้ มีครูแกนนำเป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยสามารถเพิ่มจำนวนนักเรียนแกนนำใหม่ได้ประมาณ 3-4 เท่าตัวของแกนนำนักเรียนที่อบรมพร้อมครูแกนนำมาแล้ว ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน แนวทางการพัฒนาครูและนักเรียนแกนนำในโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าเทคนิคต่างๆ ของศาสตร์ละครประยุกต์ ช่วยให้การสื่อสารเรื่องราวที่ซับซ้อนและพูดออกมาได้ยากเป็นไปได้มากขึ้น ช่วยทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ผ่อนคลายและผู้เรียนสนุกสนานไปกับการเรียนรู้ ให้ความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ทั้งนี้ สามารถใช้ร่วมกับแนวคิดและทักษะการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน นอกจากนั้น การสร้างการเรียนรู้เชิงทดลองในลักษณะการสร้างห้องเรียนจำลอง ช่วยทำให้ครูและนักเรียนแกนนำมีประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ และมีจินตนาการในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตสังคมในโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ
This is a continuing part of the health systems research on improving access to health care among in-school adolescent who have mental health problems and/or substance use. School-based psychosocial health promotion using low-intensity cognitive behavioral approach and basic motivational interviewing technique was found feasible in practice for both teacher and high-school student. Lead-teacher and peer-to-peer strategies and showed tendency to gain wider access. This study aimed to design a process to strengthen capacity on creativity of a lead teacher and peer-student by using creative drama techniques. Two schools which had ever engaged the prior research phase got involved in this study. Five lead-teachers and five peer-students from each school were recruited in the design and development process, as well as five health personnel from adolescent clinic of the provincial hospital. The results showed that the creative capacity building of lead-teachers and peer-students should be separately done. Two-step process was suggested, started with learning and practicing creative drama principles and techniques which five lead-teachers and five peer-students attended together. The first workshop focused on lead-teacher to learn to be learning designer and facilitator while peer-students learned to be active or pro-active learners. Improvisation techniques, puppet theater, positive monologues, and forum theater were impressed creative drama techniques which also relevant to complement with Li-CBT and MI techniques. They were helpful to create more participative learning activities with feeling of safe and joyful. The second step was design for strengthening capacity to design creative learning activities and space focusing on peer-students to engage more new peers which lead-teachers and health personnel were learning supporters. In conclusion, techniques of creative drama can be applied to enhance creativities of learning process and as a result it will enhance peer-engagement and facilitate positive and deeper communication to help inner exploring and sharing. This is a way to promote psychosocial health of in-school students by peer-to-peer strategy with learning approach.