บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ : โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวโรค แต่การที่จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมารับการตรวจสุขภาพประจำปี เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาและมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่สามารถลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้เอง จะเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนมากกว่า ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเพื่อนำนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ (Implementation Research) ของการพัฒนาตัวแบบเชื่อมโยงการตรวจร่างกายประจำปีและประวัติการรับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อทำการติดตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ได้เข้าสู่ระบบการยืนยันการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเริ่มดำเนินการในโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกต้นแบบ จากนั้นจะทำการวัดผลของการศึกษาในรูปแบบของผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ใช้งาน ได้แก่ ระดับความดันโลหิตในช่วงระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนของน้ำหนัก ดัชนีมวลกายและผลทางห้องปฏิบัติการต่างๆ จากนั้นจะเป็นการนำผลของการศึกษาที่ได้ในเชิงปริมาณ ไปขยายผลต่อเพื่อขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งในสังกัดกองทัพบกและกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นการทำการศึกษาเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการสนทนากลุ่ม เพื่อนำเสนอการใช้งานและให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องของตัวแบบเชื่อมโยง ผลการศึกษา : พบว่า ได้มีการพัฒนาตัวแบบเชื่อมโยงการตรวจร่างกายประจำปีและประวัติการรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อทำการติดตามผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ได้เข้าสู่ระบบการยืนยันการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยจะเริ่มดำเนินการในโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกต้นแบบและผลการศึกษาของการใช้งานจากตัวแบบเชื่อมโยง พบว่า ผู้ที่มาตรวจสุขภาพทั้งหมด จำนวน 10,385 ราย เป็นผู้ที่สุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 1,980 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.07 ที่เหลืออีก จำนวน 8,450 ราย เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวและจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเพียง จำนวน 7,459 ราย เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.74 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง พบว่า เมื่อนำปัจจัย อายุที่เพิ่มขึ้น เพศ การเป็นโรคความดันโลหิตสูง การเป็นโรคไขมันในเลือดสูงและดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น พบว่า เพศชาย จะมี Adjusted Odds Ratio ต่อการติดตามดูแลรักษา 0.37 เท่า เมื่อเทียบกับเพศหญิง ประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมี Adjusted Odds Ratio ต่อการติดตามดูแลรักษา 0.10 เท่า เมื่อเทียบกับการไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ประวัติการเป็นโรคไขมันในเลือดสูง จะมี Adjusted Odds Ratio ต่อการติดตามดูแลรักษา 0.39 เท่า เมื่อเทียบกับการไม่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง ดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะมี Adjusted Odds Ratio ต่อการติดตามดูแลรักษา 1.17 เท่า เมื่อเทียบกับดัชนีมวลกายก่อนหน้า นอกจากนี้จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ความสำคัญของตัวแบบเชื่อมโยงที่ควรต้องมีการคำนึงถึง ประกอบไปด้วยในเรื่องของการใช้ง่ายของตัวแบบเชื่อมโยง การแจ้งเตือนการนัดหมายและการเจาะเลือดมีประโยชน์ รวมถึงด้านข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลจากโรงพยาบาลใหญ่ สรุปผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบเชื่อมโยงสามารถที่จะพัฒนาผู้ที่ใช้งาน ให้สามารถมีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและมีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่ควรจะต้องมีการเฝ้าระวัง เพื่อเป็นการเพิ่มสัดส่วนผู้ที่จะสามารถให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องได้มากที่สุด นอกจากตัวแบบเชื่อมโยงแล้ว การควบคุมและดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและจากการศึกษาเชิงคุณภาพยังคงพบว่า ตัวแบบเชื่อมโยงยังคงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดต่อไป
บทคัดย่อ
Background: Chronic non-communicable diseases require long-term care to mitigate complications, particularly in cases of specific conditions, such as hypertension. This study underscores the significance of consistent treatment and care, specifically within the context of hypertension. Methods: The objective of this study was to develop an integrated Electronic Health Record (EHR) system model, which would incorporate annual physical check-ups and medical care history assessments within hospital settings. Once the model was established, its application was expanded to quantify the outcomes in hypertensive patient care. Additionally, the model's effectiveness was assessed through in-depth interviews and focus group discussions conducted in community hospitals. Results: Within the cohort of 10,385 participants, 1,980 (19.07%) exhibited normal health, while 8,450 (80.93%) required ongoing care due to pre-existing health conditions. Notably, 7,459 (88.74%) of those requiring care actively engaged with the continuous care system. After adjusting for age, gender, history of hypertension, history of dyslipidemia, and increasing body mass index (BMI), it was observed that adherence to hypertensive continuous care was 0.37 times more likely in males compared to females, a history of hypertension was 0.10 times more likely compared to those without a history of hypertension, a history of dyslipidemia was 0.39 times more likely compared to those without such a history, and each unit increase in BMI was associated with a 1.17 times of adhering to continuous care. Moreover, the qualitative study revealed additional dimensions of the model's importance, including its user-friendliness, the value of appointment reminders, and notifications for blood sampling. Additionally, the study highlighted limitations related to accessing information from major hospitals. Conclusion: This study demonstrated the effectiveness of the EHR model in enhancing health outcomes. However, it emphasized the importance of sustained treatment and vigilant monitoring. While the model positively impacted patient care, the role of expert medical guidance remained pivotal for effective hypertension management. The study stresses the ongoing need for refining the model to optimize its advantages.