บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยผู้คน แต่ส่งกระทบต่อความยั่งยืนของระบบสาธารณสุขเช่นกัน ปัจจุบันมีมาตรการด้านสุขภาพที่มีราคาแพง เช่น การคัดกรองยาราคาแพงและผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP) ซึ่งเป็นยาที่พัฒนาจากยีน เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรค อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้พัฒนาจึงมีความคาดหวังเกี่ยวกับผลกำไรสูงตามไปด้วย ทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าไม่ถึงมาตรการเหล่านี้ อุปสรรคด้านการเงินการคลังดังกล่าวจึงอาจจำกัดการเข้าถึงการรักษาในระบบสาธารณสุขของภาครัฐ โดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง เช่น ประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพอันเกิดจากระดับรายได้ในหลายๆ ประเทศ จึงยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่เด่นชัดขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเหตุนี้กลไกใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสนับสนุนกระบวนการกำหนดนโยบายในปัจจุบันและเพิ่มการเข้าถึงการรักษาที่มีราคาแพง งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการรับมือกับความท้าทายในการให้บริการเบิกจ่ายยาราคาแพงในประเทศไทย การศึกษานี้สามารถช่วยให้คำตอบว่า 1) มาตรการด้านสุขภาพอุบัติใหม่ที่มีราคาแพงมีนิยามอย่างไร 2) สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการเข้าถึงยาราคาแพงในประเทศไทยเป็นอย่างไร 3) มีวิธีการอย่างไรในการประเมินข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับมาตรการด้านสุขภาพที่มีราคาแพง เช่น มีกระบวนการประเมินเฉพาะสำหรับมาตรการด้านสุขภาพที่มีราคาแพงซึ่งต่างจากกระบวนการของมาตรการอื่นๆ หรือไม่ และกลไกในการเบิกจ่ายลักษณะใดที่เป็นไปได้สำหรับมาตรการด้านสุขภาพที่มีราคาแพง และ 4) กระบวนการ Horizon Scanning คืออะไร และช่วยให้มีการเข้าถึงยาราคาแพงได้อย่างไร
บทคัดย่อ
The advancement in science has come a long way to support our community though, at the same time, it has threatened the sustainability of the healthcare system. There are many emerging high-cost health interventions, such as screening, high-cost drugs and advanced therapy medicinal products (ATMPs). These medicines based on genes, cells and tissues offer innovative pathways to treat diseases. However, these advancements do come at high cost of research and development and elevated profit expectations from their developers, making these interventions inaccessible to most people. These financial pressures may limit access to treatments in the public healthcare system especially in low- and middle-income countries such as Thailand. The issue of health inequity based on the income status of countries remains a concern, which has been visible during the COVID-19 pandemic. Consequently, there is a need for innovative mechanisms to support the current decision making process to enhance better access to these high-cost treatments. In collaboration with stakeholders, this study aims to address challenges in making reimbursement decisions on high-cost medicines in Thailand. Specifically, this research can help answer: 1) how to define emerging high-cost health interventions; 2) what is the current context of access to high-cost medicines in Thailand; 3) how to evaluate evidence on selected high-cost health interventions (e.g. are there specific evaluation process for high-cost health interventions, which differ from other interventions and what reimbursement mechanisms are possible for the selected high-cost health interventions); and 4) what horizon scanning process is and how it can help access to high-cost medicines.