บทคัดย่อ
สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศไทย มากกว่าร้อยละ 75 มีสาเหตุจากโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ โดยการจัดการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม การมีกิจกรรมทางกายน้อย การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ และการควบคุมภาวการณ์ผิดปกติทางเมตาบอลิค (Metabolic) ที่เกิดขึ้นจากการสะสมของพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังกล่าว ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกิน/อ้วน และความดันโลหิตสูง ซึ่งจากปัญหาระดับชาติทำให้เกิดการรวมตัวของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายด้านช่วยกันขับเคลื่อนเพื่อลดการป่วย การเสียชีวิต รวมไปถึงการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการบริหารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ผ่านโครงการ (WHO Country Cooperation Strategies : WHO-CCS NCDs 2022-2026) ในปี พ.ศ. 2565 นี้ ทางกองโรคไม่ติดต่อได้เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้มี Digital Health Station ต้นแบบในหมู่บ้านหรือที่ชุมชน รายงานการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ Mobile Application ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย รอบเอว คะแนนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน รวมถึงผลการดำเนินงานการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย DM Remission for Family Medicine โดยมุ่งเน้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อและเกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพของภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Sustainable Development Goals, SDGs ในประเด็นที่ต้องการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย
บทคัดย่อ
More than 75% of the causes of death in Thailand are due to non-communicable diseases (NCDs), for example, diabetes, coronary heart disease, stroke, and kidney disease which can be prevented by managing inappropriate behavioral risk factors (such as consumption of high-sugar, high-fat and high-sodium foods, having low physical activity, drinking alcohol, and smoking), and the control of metabolic abnormalities arising from the accumulation of such inappropriate behaviors leading to high blood glucose levels, high blood cholesterol levels, becoming overweight/obese, and hypertension. As a result of the national issues, a coalition of several relevant organizational agencies are working together to reduce morbidity, mortality, as well as reducing the cost of care by implementing strategies under the direction of executive committee for cooperation between the Thai government and the World Health Organization (WHO Country Cooperation Strategies: WHO-CCS NCDs) In 2022, the Non-Communicable Diseases Division strengthened collaboration among partners and encouraged digital health prototype stations in villages or communities, including reports on the effectiveness of behavior modification program using a mobile application to blood sugar level, body mass index, waist circumference, health behavior scores in working age groups, as well as the results of the development of the DM remission for Family Medicine Policy Brief to ensure the successful implementation of the objectives for the prevention and control of non-communicable diseases and to bring about the effective cooperation of relevant partners in the advancement of non-communicable disease–related works to achieve the SDGs goals in the areas that need to be developed