• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเท้าและการผลิตอุปกรณ์ซิลิโคนพิมพ์แบบสามมิติสำหรับรักษาภาวะเท้าแบนและนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

สิริพร โตนดแก้ว; Siriporn Tanodekaew; สมฤทัย ชรรณษานนท์; Somruethai Channasanon; ภาสกร เทศะวิบุล; Passakorn Tesavibul; ศิรัญญา แพเจริญ; Siranya Paecharoen; กานต์ งามโสภาสิริสกุล; Kan Ngamsopasirisakul; ณญาดา ชูสวัสดิ์; Nayada Choosawad;
วันที่: 2567-01
บทคัดย่อ
โครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติมาผลิตอุปกรณ์ซิลิโคนเสริมสำหรับเท้าแบบเฉพาะราย สำหรับผู้ที่มีโครงสร้างเท้าผิดปกติที่พบได้บ่อยทางคลินิก คือ ภาวะเท้าแบนและภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เพื่อใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บที่เท้า การทดสอบในอาสาสมัครเท้าแบนมีผู้เข้าร่วมทดสอบจนจบโครงการ จำนวน 76 คน การทดสอบเป็นแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าผลิตตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานวิจัยก่อนหน้า การทดสอบแบ่งอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A ใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าด้านในซิลิโคนชนิดความแข็งชอร์โอโอ 70 กลุ่ม B ใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าด้านในซิลิโคนชนิดความแข็งชอร์โอโอ 35 และ กลุ่ม C เป็นกลุ่มควบคุมใช้แผ่นรองในรองเท้าแบบเฉพาะรายที่ใช้รักษาบรรเทาอาการปวดเท้าในโรงพยาบาล อาสาสมัครสวมอุปกรณ์ที่ได้รับ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยมีการตรวจติดตามผล ในสัปดาห์ที่ 2, 6 และ 12 เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวด แรงกดบริเวณเท้า ผลกระทบการใช้งานเท้าในชีวิตประจำวันและผลความพึงพอใจต่อการใช้งานของอุปกรณ์ ผลการทดสอบอุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าในอาสาสมัครเท้าแบน พบว่า การสวมใส่อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าซิลิโคนทั้ง 2 ชนิด ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากอาการปวดและความลำบากในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ในเกณฑ์ดี เทียบเท่ากับอุปกรณ์ควบคุมที่แพทย์ใช้ในโรงพยาบาล ทั้งนี้การต่อยอดให้ไปสู่การใช้งานได้จริง ควรปรับรูปแบบการติดอุปกรณ์เพื่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ทำการทดสอบในระยะเวลานานขึ้น และขยายการใช้งานของอุปกรณ์ในการลดบรรเทาอาการปวดเท้าของโรคเกี่ยวกับเท้าอื่นๆ นอกจากโรคเท้าแบน สำหรับอุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้า มีผู้เข้าร่วมทดสอบจนจบโครงการ จำนวน 26 คน การทดสอบเป็นแบบไม่มีกลุ่มควบคุม อุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้าผลิตตามแบบ ที่ผ่านการทดสอบการใช้งานเบื้องต้นและได้ยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาสาสมัครทดสอบอุปกรณ์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยมีการตรวจติดตามผล ในสัปดาห์ที่ 2 และ 12 เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวด การเปลี่ยนแปลงขององศาการเอียงของนิ้วหัวแม่เท้าและผลกระทบการใช้งานเท้าในชีวิตประจำวันผลการทดสอบอุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้า พบว่า อุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากอาการปวดและความลำบากในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่องศาการเอียงของนิ้วหัวแม่เท้าหลังการใส่อุปกรณ์ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ควรศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เพิ่มเติม โดยเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบ ทำการทดสอบแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมในระยะเวลาที่นานขึ้นและปรับองศาการดัดเอนของอุปกรณ์ตามระดับความรุนแรงของโรค

บทคัดย่อ
In this work, 3D printing technology was used to fabricate foot orthoses to treat flatfoot and hallux valgus deformity, which are the most prevalent causes of foot pain in clinics. Seventysix flatfoot volunteers completed the randomized controlled experiment. The volunteers were divided into 3 groups. Groups A and B wore 3D printed silicone medial arch supports with hardness values of 70 and 35 shore OO, respectively. Group C, a control group, wore customized full-length insoles that were normally used in clinical practice for foot pain relief. The volunteers wore foot orthoses for 12 weeks. At weeks 2, 6 and 12, the volunteers were examined for pain score, foot pressure, foot function and their satisfaction. The results showed statistically significant improvement in pain score, foot pressure, and foot function after using both arch supports. The satisfaction scores in both arch support groups were comparable to that of the control group. Future work will be focused on improving the technical adherence of the arch support. A long-term test, as well as broadening the application of the arch support to reduce foot pain for foot related diseases other than flatfoot are recommended. Regarding toe separator, twenty-six volunteers with hallux valgus deformities completed the uncontrolled experiment. The volunteers wore toe separators for 12 weeks. At weeks 2 and 12, the volunteers were examined for pain score, foot function and hallux valgus angle. The results showed statistically significant improvement in pain score and foot function after using toe separator. The hallux valgus angle decreased insignificantly. Future work will be focused on a long-term randomized controlled study with a large number of patients. In addition, the adjustment of the hallux valgus angle correction according to the hallux valgus severity is recommended.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3125.pdf
ขนาด: 6.645Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 7
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV