Show simple item record

Foot Orthosis Design and 3D-Printed Silicone for Treatment of Flatfoot and Hallux Valgus

dc.contributor.authorสิริพร โตนดแก้วth_TH
dc.contributor.authorSiriporn Tanodekaewth_TH
dc.contributor.authorสมฤทัย ชรรณษานนท์th_TH
dc.contributor.authorSomruethai Channasanonth_TH
dc.contributor.authorภาสกร เทศะวิบุลth_TH
dc.contributor.authorPassakorn Tesavibulth_TH
dc.contributor.authorศิรัญญา แพเจริญth_TH
dc.contributor.authorSiranya Paecharoenth_TH
dc.contributor.authorกานต์ งามโสภาสิริสกุลth_TH
dc.contributor.authorKan Ngamsopasirisakulth_TH
dc.contributor.authorณญาดา ชูสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorNayada Choosawadth_TH
dc.date.accessioned2024-06-11T09:29:32Z
dc.date.available2024-06-11T09:29:32Z
dc.date.issued2567-01
dc.identifier.otherhs3125
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6082
dc.description.abstractโครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติมาผลิตอุปกรณ์ซิลิโคนเสริมสำหรับเท้าแบบเฉพาะราย สำหรับผู้ที่มีโครงสร้างเท้าผิดปกติที่พบได้บ่อยทางคลินิก คือ ภาวะเท้าแบนและภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เพื่อใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บที่เท้า การทดสอบในอาสาสมัครเท้าแบนมีผู้เข้าร่วมทดสอบจนจบโครงการ จำนวน 76 คน การทดสอบเป็นแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าผลิตตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานวิจัยก่อนหน้า การทดสอบแบ่งอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A ใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าด้านในซิลิโคนชนิดความแข็งชอร์โอโอ 70 กลุ่ม B ใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าด้านในซิลิโคนชนิดความแข็งชอร์โอโอ 35 และ กลุ่ม C เป็นกลุ่มควบคุมใช้แผ่นรองในรองเท้าแบบเฉพาะรายที่ใช้รักษาบรรเทาอาการปวดเท้าในโรงพยาบาล อาสาสมัครสวมอุปกรณ์ที่ได้รับ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยมีการตรวจติดตามผล ในสัปดาห์ที่ 2, 6 และ 12 เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวด แรงกดบริเวณเท้า ผลกระทบการใช้งานเท้าในชีวิตประจำวันและผลความพึงพอใจต่อการใช้งานของอุปกรณ์ ผลการทดสอบอุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าในอาสาสมัครเท้าแบน พบว่า การสวมใส่อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าซิลิโคนทั้ง 2 ชนิด ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากอาการปวดและความลำบากในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ในเกณฑ์ดี เทียบเท่ากับอุปกรณ์ควบคุมที่แพทย์ใช้ในโรงพยาบาล ทั้งนี้การต่อยอดให้ไปสู่การใช้งานได้จริง ควรปรับรูปแบบการติดอุปกรณ์เพื่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ทำการทดสอบในระยะเวลานานขึ้น และขยายการใช้งานของอุปกรณ์ในการลดบรรเทาอาการปวดเท้าของโรคเกี่ยวกับเท้าอื่นๆ นอกจากโรคเท้าแบน สำหรับอุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้า มีผู้เข้าร่วมทดสอบจนจบโครงการ จำนวน 26 คน การทดสอบเป็นแบบไม่มีกลุ่มควบคุม อุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้าผลิตตามแบบ ที่ผ่านการทดสอบการใช้งานเบื้องต้นและได้ยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาสาสมัครทดสอบอุปกรณ์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยมีการตรวจติดตามผล ในสัปดาห์ที่ 2 และ 12 เพื่อประเมินประสิทธิผลในการลดอาการปวด การเปลี่ยนแปลงขององศาการเอียงของนิ้วหัวแม่เท้าและผลกระทบการใช้งานเท้าในชีวิตประจำวันผลการทดสอบอุปกรณ์คั่นนิ้วหัวแม่เท้า พบว่า อุปกรณ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากอาการปวดและความลำบากในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่องศาการเอียงของนิ้วหัวแม่เท้าหลังการใส่อุปกรณ์ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ควรศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เพิ่มเติม โดยเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบ ทำการทดสอบแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมในระยะเวลาที่นานขึ้นและปรับองศาการดัดเอนของอุปกรณ์ตามระดับความรุนแรงของโรคth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectFoot Orthosesth_TH
dc.subjectFlatfootth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการแพทย์th_TH
dc.subjectอุปกรณ์การแพทย์th_TH
dc.subjectอุปกรณ์, การออกแบบth_TH
dc.subjectเท้า--ความผิดปกติth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเท้าและการผลิตอุปกรณ์ซิลิโคนพิมพ์แบบสามมิติสำหรับรักษาภาวะเท้าแบนและนิ้วหัวแม่เท้าเอียงth_TH
dc.title.alternativeFoot Orthosis Design and 3D-Printed Silicone for Treatment of Flatfoot and Hallux Valgusth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn this work, 3D printing technology was used to fabricate foot orthoses to treat flatfoot and hallux valgus deformity, which are the most prevalent causes of foot pain in clinics. Seventysix flatfoot volunteers completed the randomized controlled experiment. The volunteers were divided into 3 groups. Groups A and B wore 3D printed silicone medial arch supports with hardness values of 70 and 35 shore OO, respectively. Group C, a control group, wore customized full-length insoles that were normally used in clinical practice for foot pain relief. The volunteers wore foot orthoses for 12 weeks. At weeks 2, 6 and 12, the volunteers were examined for pain score, foot pressure, foot function and their satisfaction. The results showed statistically significant improvement in pain score, foot pressure, and foot function after using both arch supports. The satisfaction scores in both arch support groups were comparable to that of the control group. Future work will be focused on improving the technical adherence of the arch support. A long-term test, as well as broadening the application of the arch support to reduce foot pain for foot related diseases other than flatfoot are recommended. Regarding toe separator, twenty-six volunteers with hallux valgus deformities completed the uncontrolled experiment. The volunteers wore toe separators for 12 weeks. At weeks 2 and 12, the volunteers were examined for pain score, foot function and hallux valgus angle. The results showed statistically significant improvement in pain score and foot function after using toe separator. The hallux valgus angle decreased insignificantly. Future work will be focused on a long-term randomized controlled study with a large number of patients. In addition, the adjustment of the hallux valgus angle correction according to the hallux valgus severity is recommended.th_TH
dc.identifier.callnoQT261 ส731ก 2567
dc.identifier.contactno66-065
dc.subject.keywordFoot Orthoses, FOth_TH
dc.subject.keywordHallux Valgusth_TH
dc.subject.keyword3D-Printedth_TH
dc.subject.keywordเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติth_TH
.custom.citationสิริพร โตนดแก้ว, Siriporn Tanodekaew, สมฤทัย ชรรณษานนท์, Somruethai Channasanon, ภาสกร เทศะวิบุล, Passakorn Tesavibul, ศิรัญญา แพเจริญ, Siranya Paecharoen, กานต์ งามโสภาสิริสกุล, Kan Ngamsopasirisakul, ณญาดา ชูสวัสดิ์ and Nayada Choosawad. "การออกแบบอุปกรณ์เสริมสำหรับเท้าและการผลิตอุปกรณ์ซิลิโคนพิมพ์แบบสามมิติสำหรับรักษาภาวะเท้าแบนและนิ้วหัวแม่เท้าเอียง." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6082">http://hdl.handle.net/11228/6082</a>.
.custom.total_download5
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs3125.pdf
Size: 6.645Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record