บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและเกิดจากการผสมผสานของหลายปัจจัยอย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลระบาดวิทยาในกลุ่มนักศึกษาอาชีวะยังมีอยู่จำกัด ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของกลุ่มนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาประสบการณ์ รูปแบบการใช้สารเสพติด และปัจจัยที่สนับสนุนต่อการใช้เสพติดของนักศึกษาอาชีวะในเขตภาคตะวันออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ชนิด Convergent Design ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก จำนวน 1,538 คน ด้วยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ chi-square test, t-test และ binary logistic regression analysis และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพในผู้ให้ข้อมูล จำนวน 24 คน ทำการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Thematic analysis ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 77.5 มีอายุเฉลี่ย 17.87 (SD = 1.47) ปี มีรายรับเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 2,001-4,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 48.9 อายุที่เริ่มใช้สารเสพติดอยู่ระหว่าง 4-20 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเสพติด อัตราชุกของการใช้สารเสพติดของกลุ่มตัวอย่างตลอดช่วงชีวิต, 12 เดือน, 3 เดือน และ 1 เดือน คิดเป็นเป็นร้อยละ 70.7, 65.5, 57.5 และ 49.7 ตามลำดับ สารเสพติดที่กลุ่มตัวอย่างใช้มากที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน 5 อันดับแรก ได้แก่ สุรา บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ ใบกระท่อม และสารผสมน้ำต้มใบกระท่อม คิดเป็นร้อยละ 52.5, 38.9, 28.9, 16.6 และ 14 ตามลำดับ โดยเพศหญิงมีอัตราชุกของการใช้สุราและบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าเพศชาย ผลการศึกษาแบบผสมผสาน ยืนยันได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักศึกษาในภาคตะวันออก ได้แก่ การมีเพื่อนสนิทที่กำลังใช้สารเสพติด (AOR = 5.54, 95% CI = 4.18-7.34, p < .001) การมีแฟนที่กำลังใช้สารเสพติด (AOR = 2.19, 95% CI = 1.35-3.59, p <.05) และความยากในการควบคุมแรงกระตุ้น (AOR = 1.05, 95% CI = 1.01-1.10, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มนักศึกษาอาชีวะมีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ สถาบันอาชีวศึกษา สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เพื่อสร้างรูปแบบการป้องกัน ควบคุม และลดความอันตรายจากการใช้สารเสพติด
บทคัดย่อ
The issues of drug addiction are multifaceted and stem from various factors. However, there is still limited epidemiological data regarding vocational students. Therefore, this study aimed to: 1) investigate the prevalence of substance use behaviors and their associated factors among vocational students in the eastern region, and 2) explain the experiences, patterns of substance use behaviors, and relevant factors among vocational students in the eastern region. A mixed methods approach with a convergent design was employed. Quantitative data were gathered from 1,538 vocational students in the eastern region using multistage cluster sampling and then analyzed using chi-square tests, t-tests, and binary logistic regression analysis. Additionally, qualitative data were obtained from 24 individuals through semistructured interviews and analyzed using thematic analysis. The research findings reveal that a majority of the sample group were males, with an average age of 17.87 years (SD = 1.47) and an average monthly income ranged from 2,001 to 4,000 baht/month, accounting for 48.9% of the sample. The age of onset of substance use varied from 4 to 20 years and differed depending on the type of drug use. The prevalence rates of substance use among the sample group for lifetime of, past 12 months, past 3 months, and past 1 month were 70.7%, 65.5%, 57.5%, and 49.7%, respectively. The top five substances used in the past 12 months were alcohol, electronic cigarettes, cigarettes, kratom leaves, and kratom cocktails, with prevalence rates of 52.5%, 38.9%, 28.9%, 16.6%, and 14%, respectively. Females had higher prevalence rates of using alcohol and electronic cigarette, compared to males in the past 3 months. The results of the mixed-methods study confirm that factors influencing the drug use behavior of students in the eastern region include having close friends who currently use drugs (AOR = 5.54, 95% CI = 4.18-7.34, p < .001), having a partner who currently uses drugs (AOR = 2.19, 95% CI = 1.35-3.59, p < .05), and difficulty in controlling impulses (AOR = 1.05, 95% CI = 1.01-1.10, p < .05). These findings indicate higher substance use behaviors among vocational students compared to others, especially electronic cigarettes. Relevant agencies at both national and vocational education institutions can utilize these research findings to develop prevention, control, and harm reduction models for substance use behaviors among vocational students.