Show simple item record

Effects of Cognitive Behavior Therapy Self-Help Booklet Program on Negative Automatic Thoughts and Depression among Youths with Drug Abused in Chonburi Central Prison

dc.contributor.authorภาคิณี เดชชัยยศth_TH
dc.contributor.authorPakinee Detchaiyotth_TH
dc.contributor.authorดวงใจ วัฒนสินธุ์th_TH
dc.contributor.authorDuangjai Vatanasinth_TH
dc.contributor.authorสราวลี สุนทรวิจิตรth_TH
dc.contributor.authorSarawalee Suntornvijitrth_TH
dc.contributor.authorสิริพิมพ์ ชูปานth_TH
dc.contributor.authorSiripim Chupanth_TH
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ เต็มสอาดth_TH
dc.contributor.authorJirawat Temsaardth_TH
dc.date.accessioned2024-06-19T07:15:31Z
dc.date.available2024-06-19T07:15:31Z
dc.date.issued2567-05
dc.identifier.otherhs3121
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6088
dc.description.abstractการบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม เป็นที่ยอมรับและพิสูจน์ว่าได้ผลกับเยาวชนที่ติดสารเสพติดในการฟื้นคืนสภาพ การวิจัยนี้มีระยะการสำรวจ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางชนิดหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Cross-sectional, Predictive Correlational Design) เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและความคิดอัตโนมัติทางลบ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี จำนวน 450 คน และระยะการทดลอง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ (Two Groups Pretest-Posttest and Follow-Up Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการใช้คู่มือการบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความคิดอัตโนมัติ และภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คน รวมจำนวน 100 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้คู่มือการบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเอง ใช้เวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง วันเว้นวัน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น แบบสอบถามความคิดอัตโนมัติทางลบ ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น .87 และ .96 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระยะก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี ผลการศึกษา พบว่า ความคิดอัตโนมัติทางลบ ความภาคภูมิใจในตนเอง (β=-.163, p<.001) ความยึดติดทางความคิด (β=.103, p<.01) และการมองโลกทางบวก (β=-.104, p<.01) สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 58.60 (R2=.586, p<.001) 2. ปัจจัยที่ผลต่อความคิดอัตโนมัติทางลบ และการยึดติดทางความคิด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี ส่วนความภาคภูมิใจในตนเอง การมองโลกทางบวก มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ปัจจัยที่ผลต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรีมากที่สุด ได้แก่ ความคิดอัตโนมัติทางลบ รองลงมา คือความภาคภูมิใจในตนเอง ความยึดติดทางความคิด และการมองโลกทางบวก โดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. เยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรีที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดอัตโนมัติทางลบ กลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 5. เยาวชนที่ได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ ต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลการวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาล นักจิตวิทยาและผู้คุมในเรือนจำ สามารถนำโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองนี้ไปใช้เพื่อบำบัดเยาวชนที่ใช้สารเสพติดเพื่อลดความคิดอัตโนมัติทางลบและลดภาวะซึมเศร้า และรูปแบบคู่มือการบำบัดที่สามารถศึกษาด้วยตนเองเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectพฤติกรรมth_TH
dc.subjectBehaviorth_TH
dc.subjectความซึมเศร้าth_TH
dc.subjectเยาวชนth_TH
dc.subjectYouthsth_TH
dc.subjectTeenagersth_TH
dc.subjectTeenagers--Drug Useth_TH
dc.subjectSubstance Abuse--Therapyth_TH
dc.subjectSubstance Abuse--Treatmentth_TH
dc.subjectสารเสพติดth_TH
dc.subjectสารเสพติด--ในวัยรุ่นth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับเยาวชนth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับนักเรียนth_TH
dc.subjectสารเสพติด--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectผู้ติดยาเสพติด--การบำบัดฟื้นฟูth_TH
dc.subjectการเลิกยาเสพติดth_TH
dc.subjectยาเสพติดth_TH
dc.subjectยาเสพติด--การบำบัดและรักษาth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการใช้คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความคิดอัตโนมัติทางลบและภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeEffects of Cognitive Behavior Therapy Self-Help Booklet Program on Negative Automatic Thoughts and Depression among Youths with Drug Abused in Chonburi Central Prisonth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCognitive behavioral therapy (CBT) It is accepted and proven effective for young people. who are addicted to drugs in recovery This research has an exploratory phase. This is a cross-sectional, predictive correlational design to study depression and negative automatic thoughts. Factors involved in youth addicted to type 1 drugs in Chonburi Central Prison, totaling 450 people. and trial period It is quasi-experimental research. (Quasi-experimental research) 2 groups, measured before and immediately after the experiment was completed. and a 2-week follow-up period (Two groups pretest-posttest and follow-up design) to study the effectiveness of the manual therapy program by adjusting thoughts and behavior by yourself against automatic thoughts. and depression of youth addicted to type 1 drugs in Chonburi Central Prison, a total of 100 people, divided into an experimental group and a control group of 50 people each, totaling 100 people. The experimental group received a 3-week program using a manual for self-adjusting thought and behavior therapy, 3 times a week, every other day. The data collection tool was the Adolescent Depression Questionnaire. Negative Automatic Thoughts Questionnaire which obtained reliability values of .87 and .96, respectively. Data were collected before and after the experiment was completed and a follow-up period after 2 weeks of the experiment. Data were analyzed using descriptive statistics and repeated-measures analysis of variance. The results of the research can be summarized as follows: 1. Factors influencing depression of youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison. The results of the study found that negative automatic thoughts Self-esteem (β=-.163, p<.001), cognitive attachment (β=.103, p<.01), and positivity (β=-.104, p<. 01) Can jointly predict the variance in depression of youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison at a statistically significant 58.60 percent (R2=.586, p< .001). 2. Factors that affect automatic thoughts negatively and attachment to ideas There is a positive relationship with depression among youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison. As for self-esteem Positivity. There is a negative relationship with depression among youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison. Statistically significant at the .001 level. 3. The factor that has the greatest effect on depression among youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison is negative automatic thoughts, followed by self-esteem. clinginess of thought and looking at the world positively Together, they were able to predict the variance in depression among youth addicted to Type 1 drugs in Chonburi Central Prison at a statistical significance at the .001 level. 4. The mean scores of negative automatic thoughts in experimental group were lower than control group at post-test and 2 week follow-up were significantly different at .001 and 5. The mean scores of depression in experimental group were lower than control group at post-test and 2 week follow-up were significantly different at .05 The results of this research It has been suggested that nurses, psychologists and prison guards This cognitive and behavioral self-adjustment program can be used to treat youth who use substances to reduce negative automatic thoughts and reduce depression. And the form of a treatment manual that can be studied on your own is another option that is beneficial to the rehabilitation of drug addicts who do not have access to electronic systems.th_TH
dc.identifier.callnoHV5840.T5 ภ415ผ 2567
dc.identifier.contactno66-133
dc.subject.keywordCognitive Behavioural Therapy, CBTth_TH
dc.subject.keywordการบำบัดความคิดและพฤติกรรมth_TH
.custom.citationภาคิณี เดชชัยยศ, Pakinee Detchaiyot, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, Duangjai Vatanasin, สราวลี สุนทรวิจิตร, Sarawalee Suntornvijitr, สิริพิมพ์ ชูปาน, Siripim Chupan, จิรวัฒน์ เต็มสอาด and Jirawat Temsaard. "ผลของโปรแกรมการใช้คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตนเองต่อความคิดอัตโนมัติทางลบและภาวะซึมเศร้าของเยาวชนที่ติดสารเสพติดประเภท 1 ในเรือนจำกลางชลบุรี." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6088">http://hdl.handle.net/11228/6088</a>.
.custom.total_download1
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs3121.pdf
Size: 18.06Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record