dc.contributor.author | สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Somtanuek Chotchoungchatchai | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิวิมล อ่อนทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Sasivimol Ontong | th_TH |
dc.contributor.author | ศรวณีย์ อวนศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Sonvanee Uansri | th_TH |
dc.contributor.author | นิจนันท์ ปาณะพงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nitjanan Panapong | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทรจิราพร สุโอสถ | th_TH |
dc.contributor.author | Patjirapohn Suosot | th_TH |
dc.contributor.author | ธนินทร์ พัฒนศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Thanin Pattanasiri | th_TH |
dc.contributor.author | พิสภาสินี พิศาลสินธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pispasinee Pisansin | th_TH |
dc.contributor.author | กมลพัฒน์ มากแจ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | Kamolphat Markchang | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-06-25T03:16:45Z | |
dc.date.available | 2024-06-25T03:16:45Z | |
dc.date.issued | 2567-06 | |
dc.identifier.other | hs3140 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6100 | |
dc.description.abstract | การถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีความเป็นพลวัตและมีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ซึ่งข้อมูลวิชาการจะมีความสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลไกการทำงานของหน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ (Health System Intelligent Unit, HSIU) ในการสนับสนุนข้อมูลวิชาการด้านระบบสุขภาพเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย 2) ติดตามสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อมูลวิชาการ 3) สื่อสารข้อมูลวิชาการ ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม 4) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์กลไกการทำงานของ HSIU ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1) การประชุมทีมมดงาน ซึ่งเป็นคณะทำงานขนาดเล็ก เพื่อติดตามสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนที่การวิจัย (Research Mapping) โดยใช้กรอบแนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ (6 Building Blocks of Health System) วิเคราะห์ และจัดทำเป็นข้อมูลวิชาการ และ 2) การประชุมคณะทำงาน HSIU เพื่อสื่อสารข้อมูลวิชาการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ ในปีงบประมาณ 2566 มีการถ่ายโอน สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. จำนวน 3,263 แห่ง (ร้อยละ 33.0) จากทั้งหมดจำนวน 9,878 แห่ง และมีการถ่ายโอนต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2567 อีกจำนวน 933 แห่ง (ร้อยละ 9.5) รวมมี สอน. และ รพ.สต. 4,196 แห่ง ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. (ร้อยละ 42.5) คงเหลือ สอน. และ รพ.สต. ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 5,598 แห่ง (ร้อยละ 56.7) ผลจากการติดตามสถานการณ์และการทบทวนโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจฯ จำนวน 17 โครงการ ได้ถูกรวบรวม วิเคราะห์และนำเสนอใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) สถานการณ์ด้านกำลังคน กรณีบุคลากรที่ถ่ายโอนไม่เพียงพอกับภาระงาน 2) สถานการณ์ด้านการเงินการคลังสุขภาพ เกิดรูปแบบที่หลากหลายในการจัดสรรงบประมาณสำหรับบริการสุขภาพจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 3) สถานการณ์ด้านการบริการสุขภาพปฐมภูมิ หลังการถ่ายโอนมีทั้งที่ รพ.สต. ถ่ายโอนให้บริการได้เช่นเดียวกับก่อนการถ่ายโอน และบาง รพ.สต. ให้บริการได้ลดลง 4) สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการระบบยา และเวชภัณฑ์ ในหลายจังหวัดมีการทำข้อตกลงให้โรงพยาบาลชุมชนบริหารจัดการระบบยาและเวชภัณฑ์ให้แก่ รพ.สต. ถ่ายโอนเช่นเดิมและมีบางจังหวัดที่ อบจ. ดำเนินการจัดซื้อและบริหารจัดการเอง 5) สถานการณ์ด้านระบบข้อมูล พบการส่งข้อมูลตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่ลดลง 6) สถานการณ์ด้านการอภิบาลระบบ วิธีการดำเนินงานต้องเปลี่ยนจากการสั่งการเป็นทำงานอย่างมีส่วนร่วมกัน และ 7) มุมมองและความคาดหวังของประชาชน เช่น การได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ สะดวก และมีเจ้าหน้าที่เพียงพอ เป็นต้น ข้อมูลแต่ละประเด็นนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้ระบบสุขภาพปฐมภูมิสามารถดำเนินการต่อไปหรือพัฒนาให้ดีขึ้นหลังการถ่ายโอนภารกิจฯ สำหรับการพัฒนาการทำงานของ HSIU มีข้อเสนอแนะใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การใช้รูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการที่สร้างข้อมูลเชิงประจักษ์และแก้ไขปัญหาในระบบสุขภาพไปพร้อมกัน 2) สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในกระบวนการการติดตามสถานการณ์ และ 3) สื่อสารข้อมูลวิชาการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเพิ่มการใช้ช่องทางสาธารณะ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | หน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | Health System Intelligent Unit (HSIU): The Devolution of Sub-District Health Promoting Hospital to Provincial Administrative Organizations | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Transferring responsibilities of the Chaloem Phra Kiat 60 Years Nawamin Maharachini Health Centre (NHC) and the Tambon Health Promoting Hospital (THPH) to the Provincial Administrative Organization (PAO) is a dynamic situation and involves multiple stakeholders. Evidence will be crucial to support policy decision-making. The objectives of this study are: 1) develop a functioning mechanism for the Health System Intelligent Unit (HSIU) to generate evidence on health systems, thereby supporting policy decision-making, 2) monitor the situation of ongoing responsibilities transferring and relevant research initiatives, analyses and generate evidence 3) disseminate evidence to multi-stakeholders and facilitate collaborative efforts, and 4) develop policy recommendations based on the gathered evidence. The functioning mechanism of HSIU consists of 2 parts: 1) meetings of the worker ant team which is a core working group to monitor the situation of the transfer, review relevant research and map them with the 6 building blocks of health systems framework, analysis, compile as academic information, and 2) meetings of the HSIU working group to disseminate evidence to multi-stakeholders. In the fiscal year 2023, 3,263 (33.0%) facilities of NHCs and THPHs, out of the total of 9,878 facilities, were transferred to PAOs. This ongoing process continued in the fiscal year 2024, 933 (9.5%) facilities of NHCs and THPHs were transferred. In total, 4,196 (42.5%) facilities of NHCs and THPHs have been transferred to PAOs, and 5,598 (56. 7%) facilities remained under the Ministry of Public Health. Findings from situation monitoring and reviewing of 17 research projects related to the transfer were compiled, analysed, and presented across 7 key issues. 1) Human resources situation, there was insufficient personnel to handle the workload after the transfer. 2) Health financing situation, there were various budget allocation models for health services from the National Health Security Office. 3) Primary health care service situation, some THPH continue to provide services at the same level as before the transfer, while others have seen a decline. 4) Drug and medical supply situation, in several provinces, agreements have been made for community hospitals to continue managing drugs and medical supplies for transferred THPH, while in some provinces, PAOs handle procurement and management independently. 5) Information system situation, there has been a decrease in the submission of health indicator data. 6) Governance system situation, the approach has shifted from command-based to participatory working. 7) Public perspectives and expectations, there are expectations for good quality services, convenience, and sufficient personnel. Each of these issues leads to policy recommendations aimed at ensuring the continuity and improvement of primary healthcare systems after the transfer. Furthermore, the recommendations for developing the HSIU mechanism were identified: 1) using action research methodology that allows for concurrent research and problem-solving, 2) incorporating public sector participation, and 3) expanding information dissemination through various public communication channels. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ส255ห 2567 | |
dc.identifier.contactno | 66-086 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | อบจ. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
dc.subject.keyword | สอน. | th_TH |
dc.subject.keyword | Health System Intelligent Unit, HSIU | th_TH |
.custom.citation | สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, Somtanuek Chotchoungchatchai, ศศิวิมล อ่อนทอง, Sasivimol Ontong, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, นิจนันท์ ปาณะพงศ์, Nitjanan Panapong, ภัทรจิราพร สุโอสถ, Patjirapohn Suosot, ธนินทร์ พัฒนศิริ, Thanin Pattanasiri, พิสภาสินี พิศาลสินธุ์, Pispasinee Pisansin, กมลพัฒน์ มากแจ้ง and Kamolphat Markchang. "หน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6100">http://hdl.handle.net/11228/6100</a>. | |
.custom.total_download | 61 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 61 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 21 | |
.custom.is_recommended | true | |