Show simple item record

Research and Curriculum Development on Improving Competencies for Patient Transport Personnel to Support a High-Quality Health Service System

dc.contributor.authorวิชัย เทียนถาวรth_TH
dc.contributor.authorVichai Tienthavornth_TH
dc.contributor.authorวณิชา ชื่นกองแก้วth_TH
dc.contributor.authorWanicha Chuenkongkaewth_TH
dc.contributor.authorลัดดา เหลืองรัตนมาศth_TH
dc.contributor.authorLadda Leungratanamartth_TH
dc.contributor.authorภานุ อดกลั้นth_TH
dc.contributor.authorPanu Odklunth_TH
dc.contributor.authorพิชญ์สินี มงคลศิริth_TH
dc.contributor.authorPitsini Mongkhonsirith_TH
dc.contributor.authorกิตติพร เนาว์สุวรรณth_TH
dc.contributor.authorKittiporn Nawsuwanth_TH
dc.contributor.authorโรชินี อุปราth_TH
dc.contributor.authorRoshinee Ouprath_TH
dc.contributor.authorภัคณัฐ วีรขจรth_TH
dc.contributor.authorPhakkhanat Weerakhachonth_TH
dc.contributor.authorสมตระกูล ราศิริth_TH
dc.contributor.authorSomtakul Rasirith_TH
dc.contributor.authorนภชา สิงห์วีรธรรมth_TH
dc.contributor.authorNoppcha Singwerathamth_TH
dc.date.accessioned2024-07-01T02:12:20Z
dc.date.available2024-07-01T02:12:20Z
dc.date.issued2567-04
dc.identifier.otherhs3133
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6112
dc.description.abstractพนักงานเปลเป็นบุคลากรที่ให้บริการด่านหน้าของโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การปฏิบัติงานจึงต้องมีความรวดเร็ว ทันเวลา ถูกต้องและปลอดภัย สอดคล้องกับนโยบาย 3P safety นอกจากนี้ลักษณะการทำงานของพนักงานเปล มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้ออาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ป่วยและโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะพนักงานเปลในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพนักงานเปลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพพนักงานเปลในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง รูปแบบการวิจัย เป็นวิจัยและพัฒนามี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะพนักงานเปล ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาหลักสูตรโดยจัดทำร่างหลักสูตรภายใต้แนวคิดของ Taba ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร และระยะที่ 4 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเปลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระยะที่ 1 เลือกโดยวิธีสุ่ม จำนวน 252 คน ระยะที่ 3 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 4 ภาค ภาคละ 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล 2) คู่มือ 3) วิดีโอ 4) แบบประเมินสมรรถนะพนักงานเปล 5) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการอบรมหลักสูตรฯ 6) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงานเปลต่อการเข้าร่วมอบรม 8) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะพนักงานเปลก่อนและหลังเข้ารับการอบรมด้วยสถิติทดสอบที (t- dependent test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะพนักงานเปลประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามสมรรถนะพนักงานเปล ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6-1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดของ Taba 7 ขั้นตอน และแนวคิดหลักสูตรภายใต้ฐานสมรรถนะองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย วัตถุประสงค์หลัก เนื้อหาสาระตามสมรรถนะ 6 โมดูล ได้แก่ การให้บริการตามมาตรฐาน สิทธิผู้ป่วย การบริการผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน ศิลปะและการสื่อสารในการให้บริการ การดูแลตนเองและสมรรถนะทางกาย นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับพนักงานเปลระยะเวลาจัดการอบรม 3 วัน ประกอบด้วยการบรรยาย และการฝึกทักษะปฏิบัติ 10 ทักษะ โดยแบ่งกลุ่มย่อยฝึกฐานต่างๆ 3 ฐาน ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรพบว่า ภายหลังเข้ารับการอบรมหลักสูตรฯ มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ค่า E1/E2 เท่ากับ 95.11/72.26 มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจของพนักงานเปลที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือความพึงใจด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x¯= 4.84, SD = 0.33) และ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและสถานบริการสุขภาพ เสริมสร้างพนักงานเปลให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศ โดยมีหลักสูตรที่ตรงตามระดับความเชี่ยวชาญทั้ง ระดับพื้นฐานและระดับสูง พัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระบบในทุกเขตสุขภาพ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพนักงานเปลในการทำงาน ผลักดันให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการพนักงานเปลที่ครอบคลุมตามภารกิจของพนักงานเปลรวมถึงการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ให้มีระบบบริหารงานพนักงานเปลที่มีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Promotionth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในการทำงานth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพคุณภาพสูงth_TH
dc.title.alternativeResearch and Curriculum Development on Improving Competencies for Patient Transport Personnel to Support a High-Quality Health Service Systemth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePatients Transport personnel are individuals who work at the hospital frontiers, and the trend in moving and handling patients is estimated to rise consecutively. It is important that the patient moving process should be fast, timely, accurate, and safe. This is also relevant to 3P safety policy, which concerns the patients' Transport personnel who have a high risk of injuring their muscles, which could diminish work efficiency, impacting both patients and the hospital. This research aims to: 1) Investigate the components and performance indicators of Patients Transport personnel to support high-quality healthcare services. 2) Develop competency enhancement programs for Patients Transport personnel to align with high-quality healthcare services. 3)Propose policy recommendations for developing Patients Transport personnel competencies in hospitals to support high-quality healthcare services. This research was conducted using the research and development methodology comprising four phases: Phase 1 involves studying the components and performance indicators of Patients Transport personnel. Phase 2 entails developing and refining the training curriculum based on Taba's conceptual framework. Phase 3 involves evaluating the effectiveness of the curriculum. Phase 4 involves formulating policy recommendations for enhancing Patients Transport personnel competencies. The study sample consists of Patients Transport personnel from Ministry of Public Health-affiliated hospitals. For Phase 1, a random sampling method was employed, selecting 252 individuals. For Phase 3, a purposive sampling method was used, dividing participants into four regions with 30 persons in each group. The research tools include: 1) Competency development curriculum, 2) Manuals, 3) Videos 4) Competency assessment forms 5) pre- and post-training knowledge tests 6) Practical skills assessment forms 7) Surveys on Patients Transport personnel satisfaction with training participation 8) Suitability, feasibility, congruence, and utility assessment forms for the competency development curriculum. Quantitative data were analyzed using percentages, means, standard deviations, and t-tests to compare pre- and post-training competency levels. Qualitative analysis entails content analysis of interview transcripts.th_TH
dc.identifier.callnoW76 ว539ก 2567
dc.identifier.contactno66-063
dc.subject.keywordPatients Transport Personnelth_TH
.custom.citationวิชัย เทียนถาวร, Vichai Tienthavorn, วณิชา ชื่นกองแก้ว, Wanicha Chuenkongkaew, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, Ladda Leungratanamart, ภานุ อดกลั้น, Panu Odklun, พิชญ์สินี มงคลศิริ, Pitsini Mongkhonsiri, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, Kittiporn Nawsuwan, โรชินี อุปรา, Roshinee Oupra, ภัคณัฐ วีรขจร, Phakkhanat Weerakhachon, สมตระกูล ราศิริ, Somtakul Rasiri, นภชา สิงห์วีรธรรม and Noppcha Singweratham. "การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพคุณภาพสูง." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6112">http://hdl.handle.net/11228/6112</a>.
.custom.total_download30
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year30
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs3133.pdf
Size: 9.043Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record