• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 5 ระบบการเงินและงบประมาณของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

อุดม ทุมโฆสิต; Udom Tumkosit; ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์; Direk Patamasiriwat; ภาวิณี ช่วยประคอง; Pawinee Chuayprakong; จิรวัฒน์ ศรีเรือง; Jirawat Sriruang;
วันที่: 2567-06
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในรอบปีงบประมาณ 2566 โดยสนใจศึกษาว่า หลังจากได้รับการถ่ายโอนไปแล้ว สถานะทางการเงินของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร มีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้าง สมควรจะมีแนวทางการปรับปรุงการพัฒนาอย่างไร ในด้านวิธีวิทยาการวิจัยนี้ได้เลือกใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลเชิงคุณภาพจาก 32 รพ.สต. 8 จังหวัด 4 ภาค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม ATLAS.ti ในขั้นตอนที่ 2 ได้ใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยสกัดเอาประเด็นสำคัญบางประเด็นมาขยายผลในทางกว้าง โดยการทอดแบบสอบถามไปยัง 3,262 รพ.สต. และได้รับผลตอบกลับภายหลังบรรณาธิการแล้วจำนวน 450 รพ.สต. ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) หลังการถ่ายโอนสถานะทางการเงินของ รพ.สต. ดีขึ้น เนื่องจากได้รับเงินอุดหนุนมาสมทบมากขึ้น (2) สถานะรายได้ของ รพ.สต. ไม่มั่นคงและเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับความจำเป็นในการใช้จ่าย (3) รพ.สต. ส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนการใช้จ่ายที่ได้มาตรฐาน เช่น ไม่ได้จำแนกแผนการใช้จ่ายทางการเงินออกตามประเภทบริการ ไม่มีมาตรฐานค่าใช้จ่ายต่อหน่วย และยังขาดมาตรฐานทางการบัญชีที่ดี เป็นต้น (4) คณะวิจัยเสนอให้มีการพัฒนาระบบการเงินและบัญชีของ รพ.สต. ให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ระบบนี้เป็นมาตรฐานในการจัดการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

บทคัดย่อ
The objective of this research is to evaluate the financial status of Tambol-PromotionHospitals to Provincial Administration that have been transferred from the Ministry of Public Health to Provincial Administrative Organizations. In the fiscal year 2023, we are interested in studying whether after receiving the transfer How has the financial status of the transferred health care hospitals improved or worsened? What are the good and bad effects? What guidelines should be in place to improve development? In terms of methodology This research has chosen a mixed methods research method. It began with a survey of qualitative data from 3 2 Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration in 8 provinces, 4 regions. The data was analyzed using the ATLAS.ti program. In the second step, quantitative methods were used. By extracting some important issues and expanding them in a broader way. By broadcasting a questionnaire to 3 , 2 6 2 Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration and receiving responses after the editor, 450 Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration were received. The results of the research concluded that (1) after the transfer, the financial status of the Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration improved because received more subsidies. (2) The income status of Tambol-PromotionHospitals to Provincial Administration is not stable and sufficient when compared to their spending needs. (3) Most Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration do not have a standard spending plan, such as financial spending plans are not classified according to service type. There is no standard unit cost. and there is still a lack of good accounting standards, etc. (4) The research team proposes to develop the financial and accounting system of the Tambol-Promotion-Hospitals to Provincial Administration to meet standards. In order to make this system a standard for effective management in the future.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3153.pdf
ขนาด: 2.301Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 33
ปีพุทธศักราชนี้: 19
รวมทั้งหมด: 97
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV