บทคัดย่อ
การยุติการตั้งครรภ์ หรือการทำแท้งในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2563 มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยสำคัญของการยุติการตั้งครรภ์ คือ สภาพเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้มีการพัฒนาระบบและกลไกในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เช่น การปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อให้รองรับการยุติการตั้งครรภ์ช่วงอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ และมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการยุติการตั้งครรภ์ผ่านสิทธิประโยชน์ทั้งประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังคงมีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงสถานพยาบาลที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากการให้บริการเป็นไปตามความสมัครใจของบุคลากรทางการแพทย์และสถานพยาบาล สายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) โดยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดให้บริการปรึกษาปัญหาท้องไม่พร้อมและส่งต่อผู้เข้ารับบริการไปยังสถานพยาบาลเครือข่ายตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับบริการแต่ละราย เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่ไม่ต่อเนื่องและเพียงพอ ทำให้สายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) ต้องปรับลดจำนวนคู่สายการให้บริการจาก 10 คู่สาย เหลือเพียง 5 คู่สาย จึงไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับจำนวนผู้เข้ารับบริการ ส่งผลต่อจำนวนสายที่โทรเข้าและไม่ได้รับบริการ หรือ missed call มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินการและเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการมากขึ้น คณะผู้วิจัยจึงดำเนินการศึกษาวิจัย “การประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ผ่านสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้บริการให้คำปรึกษาสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) 2) เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) 3) เพื่อศึกษาความคุ้มค่าการให้บริการสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) และ 4) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการให้บริการปัจจุบัน และความเป็นไปได้ในการขยายบริการให้คำปรึกษาสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) การศึกษานี้มีรูปแบบการศึกษาเป็นแบบผสมวิธี (mixed methods) ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative methods) และเชิงคุณภาพ (qualitative methods) ของแต่ละวัตถุประสงค์ และวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการเข้ารับบริการของสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) ระหว่าง พ.ศ. 2559-2565 และรายงานงบประมาณประจำปีของสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) ซึ่งวิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ โดยคำนวณต้นทุนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการให้บริการ 1 ครั้ง 2) การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (cost-benefit analysis หรือ CBA) ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างต้นทุน (cost) และผลลัพธ์ (benefit) ของการให้บริการ และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (group interview) ในมุมมองบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีต่อการให้บริการของสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) และมุมมองของเจ้าหน้าที่สายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) ผลการศึกษาพบว่า 1) จำนวนผู้โทรเข้ามารับบริการให้คำปรึกษาในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 12,144 คนใน พ.ศ. 2558 เป็น 43,997 คนใน พ.ศ. 2565 ส่วนจำนวนสายที่ได้รับบริการมีแนวโน้มลดลงตามจำนวนคู่สายที่ปรับลดจาก 7 คู่สายเหลือ 5 คู่สาย ซึ่งความสามารถในการรองรับผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาจะยังไม่เพียงพอกับความต้องการของจำนวนผู้โทรเข้ารับบริการในแต่ละปี และสถานพยาบาลเครือข่ายในปัจจุบันเพียงพอต่อจำนวนผู้ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี 2) ต้นทุนเฉลี่ยของการให้บริการที่ 153 บาทต่อครั้ง โดยมีภาระงบประมาณของการให้บริการในช่วง 4 ปี คือ 50.8 ล้านบาท 3) บริการสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) มีความคุ้มค่าในการบริการ เนื่องจากสามารถช่วยลดจำนวนการเสียชีวิตและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และ 4) รูปแบบการให้บริการในปัจจุบันของสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) มีความเหมาะสม สามารถให้บริการปรึกษา การส่งต่อผู้รับบริการไปยังสถานพยาบาลเครือข่ายทั่วประเทศ ทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีความเป็นไปได้ในการขยายการให้บริการในอนาคต เนื่องจากสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) และสถานพยาบาลเครือข่ายมีความพร้อมในการรองรับผู้รับบริการที่เพิ่มมากขึ้น ข้อจำกัดของการศึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิผลของการให้บริการ เนื่องจากไม่มีระบบการติดตามผลของผู้เข้ารับบริการที่ส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ ระหว่างสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) กับสถานพยาบาลเครือข่าย ดังนั้นประสิทธิผลของการให้บริการจึงเน้นที่ผลลัพธ์ของการส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) 1) ควรพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น 2) ควรบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสถานพยาบาลเครือข่ายเพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผลการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการ 3) ควรเพิ่มช่องทางในการรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อสร้างความยั่งยืนและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้กำหนดนโยบาย คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรพิจารณาให้ทุนสนับสนุนสายด่วนการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (1663) โดยจัดสรรงบประมาณปีละ 10.5 ล้านบาท โดยให้บริการ 70,000 ครั้งต่อปี และให้มีการติดตามประเมินผลภายใน 5 ปี
บทคัดย่อ
Between 2011 and 2020, Thailand experienced a notable increase in abortion rates,
which influenced by economic, social, and maternal health factors. In response, the Thai
government introduced measures to ensure the provision of safe abortion services, including
legal amendments permitting abortions over 12 weeks but within 20 weeks of gestation.
Financial support for these services is also available through all public health insurance
schemes such as the social security scheme, civil service medical benefit scheme, and
universal health coverage scheme. Nevertheless, challenges persist in accessing healthcare
facilities due to the discretion exercised by medical personnel and facilities.
The 1663 Call Center for unplanned pregnancies, operated by AIDS Access Foundation,
offers counseling and referral services for unplanned pregnancies, ensuring safe abortion based
on individual suitability. However, budget constraints compelled the hotline to reduce service
lines from 10 to 5 lines, resulting in insufficient service capacity to meet service demand.
Consequently, there has been an increase in missed calls recorded each year. To establish
sustainable operations and enhance the efficiency of the service, a research study titled
"Assessment of the Feasibility and Cost-Effectiveness in Health Promotion and Prevention
through the 1663 Call Center for Unplanned Pregnancies under the Universal Health Coverage
Scheme" was conducted.
The study aimed to 1) examine the effectiveness of the 1663 Call Center for Unplanned
Pregnancies counseling service, 2) study the cost per unit of the 1663 Call Center for
Unplanned Pregnancies service, 3) assess the cost-effectiveness of the 1663 Call Center for
Unplanned Pregnancies service, and 4) evaluate the suitability of the current service delivery
model and the potential for expanding the 1663 Call Center for Unplanned Pregnancies
counseling services. This mixed-methods study utilized quantitative and qualitative methods,
drawing insights from the service utilization database of the 1663 Call Center for Unplanned
Pregnancies between 2016 and 2022, as well as the hotline's annual budget reports. The
research methodology included studying the cost per unit for each consultation service, costbenefit analysis (CBA) to comparing costs and benefits, and in-depth interviews with medical
and public health personnel regarding the 1663 Call Center for Unplanned Pregnancies service
provision.
Key findings include: 1) A significant increase in the amount of counseling services from
12,144 people in 2015 to 43,997 people in 2022, despite a reduction in service lines from 7
to 5 lines; 2) an average cost of 153 Thai Baht per consultation, totaling 50.8 million Thai Baht
over next four years; 3) The 1663 Call Center is cost-effective as it contribute to reduced
mortality and complications from unsafe abortions; and 4) the current service model being
deemed appropriate, allowing counseling and proper referral regarding safe abortion to
network hospitals nationwide. Limitations of the study include the absence of a tracking
system for service recipients referred for abortion between the hotline and network hospitals.
Therefore, the effectiveness of the service primarily focuses on the outcomes of referrals for
safe abortion.
Policy recommendations for the 1663 Call Center for Unplanned Pregnancies include
enhancing operational systems for efficiency and safety, integrating with network hospitals for
outcome monitoring and evaluating, and increasing financial support for sustainability.
Policymakers, particularly the National Health Security Office (NHSO), are recommended to
consider financial support by allocating a budget of 10. 5 million Thai Baht per year with the
condition that the hotline need to provide at least 70,000 services per fiscal year, and ensuring
follow-up evaluations within 5 years.