แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาประสิทธิภาพของการเสริมธาตุเหล็กทุกวันและสัปดาห์ละครั้งต่อความชุกภาวะโลหิตจางในเด็กทารกไทยอายุ 6-12 เดือน

dc.contributor.authorทิพวัลย์ พงษ์เจริญth_TH
dc.contributor.authorTippawan Pongcharoenth_TH
dc.contributor.authorพรพรรณ สุขบุญth_TH
dc.contributor.authorPornpan Sukboonth_TH
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ รูปปัทม์th_TH
dc.contributor.authorYaowalak Rooppatth_TH
dc.contributor.authorปุณยนุช จงเจริญใจth_TH
dc.contributor.authorPoonyanuch Chongjaroenjaith_TH
dc.contributor.authorณิชารีย์ มุ่งกลางth_TH
dc.contributor.authorNicharee Mungklangth_TH
dc.contributor.authorฐิติมา ระย้าเพ็ชรth_TH
dc.contributor.authorThitima Rayaphetth_TH
dc.contributor.authorธีรภัทร อัตวินิจตระการth_TH
dc.contributor.authorTeeraphat Attavinijtrakarnth_TH
dc.contributor.authorวรินดา ดาอ่ำth_TH
dc.contributor.authorWarinda Da-Amth_TH
dc.date.accessioned2024-09-17T07:00:16Z
dc.date.available2024-09-17T07:00:16Z
dc.date.issued2567-08
dc.identifier.otherhs3173
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6148
dc.description.abstractบทนำ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ยังคงพบในประเทศไทย อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนมาตรการการเสริมธาตุเหล็กในเด็กทารกจากการเสริมแบบสัปดาห์ละครั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการเสริมวันละครั้งตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกควรมีการศึกษาในเด็กไทย เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยสำหรับประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของมาตรการเสริมธาตุเหล็กในทารกต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเสริมธาตุเหล็กทุกวันกับการเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้ง ในทารกอายุ 6-12 เดือนต่อความชุกภาวะโลหิตจาง ระดับฮีโมโกลบิน และระดับซีรั่มเฟอร์ริติน วิธีวิจัย ดำเนินการศึกษาทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมและปกปิด 2 ทาง (Double-blinded randomized controlled trial) ในเด็กทารกสุขภาพดีอายุ 6-12 เดือน จำนวน 287 คน เพื่อเปรียบเทียบการเสริมธาตุเหล็ก 2 รูปแบบ โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มทุกวัน) ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในปริมาณ 12.5 มิลลิกรัม วันละครั้งทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน (อายุ 6 – 9 เดือน) หลังจากนั้นเสริมธาตุเหล็กในปริมาณ 12.5 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้งไปจนถึง 12 เดือน และกลุ่มที่ 2 (กลุ่มทุกสัปดาห์) ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในปริมาณ 12.5 มิลลิกรัม สัปดาห์ละครั้ง ตั้งแต่อายุ 6 – 12 เดือน มีการตรวจระดับค่าฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริตซี ซีรั่มเฟอร์ริติน และซีรั่มทรานสเฟอร์รินรีเซปเตอร์ เมื่อเริ่มการศึกษา (ทารกอายุ 6 เดือน) และติดตามหลังการศึกษาเมื่อทารกอายุ 9 เดือนและอายุ 12 เดือน ผลการศึกษา เมื่อเริ่มการศึกษากลุ่มทารกที่ได้รับการเสริมธาตุเหล็กทุกวันและทุกสัปดาห์ไม่มีความแตกต่างกันในค่าฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต และซีรั่มเฟอร์ริติน ยกเว้นระดับซีรั่มทรานสเฟอร์รินรีเซปเตอร์ ทั้งนี้เมื่อติดตามที่อายุ 9 เดือน พบว่าระดับซีรั่มเฟอร์ริตินในกลุ่มทารกที่ได้รับการเสริมธาตุเหล็กทุกวันมีค่าสูงกว่ากลุ่มทารกที่ได้รับการเสริมธาตุเหล็กทุกสัปดาห์ ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มในส่วนของค่าฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต และซีรั่มทรานสเฟอร์รินรีเซปเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มว่าการเสริมธาตุเหล็กทุกวันเริ่มตั้งแต่อายุ 6 เดือน และให้เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยให้ภาวะธาตุเหล็กของทารกดีขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อทารกทุกคนกลับไปได้รับการเสริมธาตุเหล็กแบบสัปดาห์ละครั้งในช่วงอายุ 9 เดือนถึง 12 เดือน ก็ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มอีกต่อไป นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มในสัดส่วนของภาวะโลหิตจางและภาวะขาดธาตุเหล็กทั้งในช่วงอายุ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน การที่เห็นแนวโน้มว่าระดับธาตุเหล็กของกลุ่มที่ได้รับวันละครั้งดีกว่ากลุ่มสัปดาห์ละครั้งที่อายุ 9 เดือน แต่ไม่พบความแตกต่างที่อายุ 12 เดือน อาจเนื่องมาจากการให้ธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้งใช้เวลานานกว่าในการเห็นผลเมื่อเทียบกับการให้ทุกวัน ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของการให้ธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้งต่ำกว่าในช่วงระยะแรก ดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านงบประมาณที่อาจเพิ่มขึ้น การปรับเปลี่ยนนโยบายมาให้ธาตุเหล็กวันละครั้งอาจยังไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAnemiath_TH
dc.subjectโลหิตจางth_TH
dc.subjectเลือดจางth_TH
dc.subjectเหล็ก--การบริโภคth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectIronth_TH
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพของการเสริมธาตุเหล็กทุกวันและสัปดาห์ละครั้งต่อความชุกภาวะโลหิตจางในเด็กทารกไทยอายุ 6-12 เดือนth_TH
dc.title.alternativeEfficacy of Daily and Weekly Iron Supplementation on Anemia Prevalence in Thai Infants Aged 6-12 Monthsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Iron deficiency anemia in early childhood continues to be a public health concern in Thailand. However, before modifying the current iron supplementation policy for infants from weekly to daily supplementation, as recommended by the World Health Organization, it is crucial to conduct a study specifically in Thai children. Findings from this research will provide valuable evidence to guide future policy decisions regarding iron supplementation strategies for infants. Objective: To compare the effects of daily iron supplementation with weekly iron supplementation in infants aged 6-12 months on the prevalence of anemia, hemoglobin level and serum ferritin levels. Methods: A double-blinded randomized controlled trial was conducted among 287 healthy infants aged 6-12 months to compare two forms of iron supplementation. Group 1 (Daily group) received a daily iron supplement of 12.5 mg for 3 months (ages 6-9 months), followed by a weekly iron supplement of 12.5 mg until 12 months of age. Group 2 (Weekly group) received a 12.5 mg iron supplement once a week from 6 to 12 months of age. Hemoglobin, hematocrit, serum ferritin, and serum transferrin receptor levels were measured at the start of the study (at 6 months of age) and during follow-up assessments at 9 and 12 months of age. Results: At the beginning of the study, there were no differences in hemoglobin, hematocrit, and serum ferritin between infants receiving daily and weekly iron supplementation, except for serum transferrin receptor levels. However, when followed up at 9 months of age, serum ferritin levels were higher in the infants who received daily iron supplementation compared to those who received weekly supplementation. No differences were observed between the two groups in terms of hemoglobin, hematocrit, or serum transferrin receptor levels. These findings suggest a trend where daily iron supplementation starting at 6 months and continuing for 3 months may enhance the iron status of infants. However, after all infants switched to weekly iron supplementation from 9 to 12 months of age, no further differences were noted between the groups. Additionally, there were no differences in the proportions of anemia or iron deficiency between the two groups at 6, 9, or 12 months of age. The observed trend that iron levels in the group receiving daily supplementation were better than those in the weekly group at 9 months, but showed no difference at 12 months, may be due to the fact that weekly supplementation takes longer to show effects compared to daily supplementation. This may result in lower effects of weekly supplementation during the early stages. Therefore, considering the potential increase in budget, adjusting the policy to provide daily iron supplementation may not yet be necessary for Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoWH155 ท481ก 2567
dc.identifier.contactno65-134
.custom.citationทิพวัลย์ พงษ์เจริญ, Tippawan Pongcharoen, พรพรรณ สุขบุญ, Pornpan Sukboon, เยาวลักษณ์ รูปปัทม์, Yaowalak Rooppat, ปุณยนุช จงเจริญใจ, Poonyanuch Chongjaroenjai, ณิชารีย์ มุ่งกลาง, Nicharee Mungklang, ฐิติมา ระย้าเพ็ชร, Thitima Rayaphet, ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, Teeraphat Attavinijtrakarn, วรินดา ดาอ่ำ and Warinda Da-Am. "การศึกษาประสิทธิภาพของการเสริมธาตุเหล็กทุกวันและสัปดาห์ละครั้งต่อความชุกภาวะโลหิตจางในเด็กทารกไทยอายุ 6-12 เดือน." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6148">http://hdl.handle.net/11228/6148</a>.
.custom.total_download8
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3173.pdf
ขนาด: 1.547Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย