บทคัดย่อ
ประเด็นกัญชาเสรีเป็นเรื่องใหม่และอยู่ในกระแสความสนใจสำหรับคนไทย การทำความเข้าใจความคิดเห็นและท่าทีที่มีต่อกัญชาผ่านวาทกรรมทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องแสวงหาความจริงเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นและวาทกรรมทางสังคมเกี่ยวกับกัญชาในสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) วิเคราะห์ข่าวอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ซึ่งทั้งสองวัตถุประสงค์จะเปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้กัญชาก่อนและหลังการออกนโยบายกัญชาโดยเปรียบเทียบ 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนออกนโยบายกัญชา (1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565) และหลังออกนโยบายกัญชา (9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566) ในแต่ละวัตถุประสงค์การวิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยและข้อค้นพบสำคัญ ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อแรกเพื่อสำรวจความคิดเห็นและวาทกรรมทางสังคมเกี่ยวกับกัญชาในสื่อสังคมออนไลน์ก่อนและหลังการออกนโยบายกัญชา ผู้วิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทไวซ์ไซด์ (WISESIGHT) ที่ให้บริการเครื่องมือรับฟังเสียงสังคม ZOCIAL EYE เก็บข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกัญชาในสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) ยูทูบ (YouTube) กลุ่มตัวอย่างเป็นข้อความที่โพสต์จากผู้ใช้สื่อที่มีอิทธิพล (Top User) 10 อันดับแรกซึ่งพิจารณาจากจำนวนการโพสต์ จำนวนยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) และจำนวนผู้ติดตาม จากการสำรวจข้อความที่โพสต์จากผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลในช่วงหนึ่งปีครึ่งก่อนและหลังการ “ปลดล็อกกัญชา” พบว่า มีข้อความที่กล่าวถึงกัญชาในช่วงก่อนและหลังออกนโยบายกัญชาจำนวน 78,175 และ 301,646 ข้อความ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบความคิดเห็นสาธารณะที่ประกอบสร้างเป็นวาทกรรมทางสังคมเกี่ยวกับกัญชาในสื่อสังคมออนไลน์ก่อนและหลังออกนโยบายกัญชาจำแนกได้ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ การใช้กัญชา นโยบายกัญชา การเข้าถึงกัญชา อาชญากรรมกับกัญชา ผลกระทบจากการใช้กัญชา และประโยชน์และโทษของกัญชา เมื่อเปรียบเทียบวาทกรรมทางสังคมเกี่ยวกับกัญชาในช่วงก่อนและหลังออกนโยบายกัญชา พบว่า หลังออกนโยบายกัญชา วาทกรรมทางสังคมต่อกัญชามีแนวโน้มเป็นทิศทางลบมากขึ้น โดยคนในสื่อสังคมออนไลน์มองว่า “กัญชาถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด” “ไม่เอากัญชาเสรี” “นโยบายกัญชาของไทยเสรีแบบไร้ทิศทาง” “สถานศึกษาควรเป็นพื้นที่ปลอดกัญชา” และ “กัญชาเป็นต้นเหตุของอาชญากรรม” อย่างไรก็ตามมีผู้ที่มองกัญชาในทิศทางบวก ดังเช่น “กัญชาเป็นยาทางเลือกเพื่อการรักษา” “กัญชาไม่ใช่พืชยาเสพติด อย่าคิดขัดขวาง” และ “เลิกอคติกับกัญชา” สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่สองเป็นการวิเคราะห์ข่าวอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ผู้วิจัยใช้ฐานข้อมูลกฤตภาคข่าวออนไลน์ iQNewsClip เป็นแหล่งข้อมูลของการวิจัย และมีกฤตภาคข่าวเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย กฤตภาคข่าวเลือกจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ ข่าวสด ผู้จัดการ และเดลินิวส์ ในช่วงหนึ่งปีครึ่งก่อนและหลังการ “ปลดล็อกกัญชา” พบข่าวอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในหน้าหนังสือพิมพ์ออนไลน์รวมทั้งหมด 117 ข่าว แบ่งเป็นข่าวในช่วงก่อนออกนโยบายกัญชา จำนวน 22 ข่าว และข่าวในช่วงหลังออกนโยบายกัญชา จำนวน 95 ข่าว โดยในช่วงก่อนออกนโยบายฯ พบว่า ในแต่ละเดือนมีจำนวนข่าวอยู่ระหว่าง 0-3 ข่าว ในขณะที่หลังออกนโยบายกัญชา มีจำนวนข่าวอยู่ระหว่าง 1-9 ข่าว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบประเด็นข่าวการกระทำผิดภายหลังการใช้กัญชาเป็นข่าวที่รายงานว่า ผู้ใช้กัญชากระทำความรุนแรงต่อชีวิตร่างกายของผู้อื่นเป็นสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 29.9) รองลงมาคือ แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (เช่น อาละวาด พูดจาเสียงดัง ไม่สุภาพ) (ร้อยละ 4.5) และกระทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน (ร้อยละ 12.8) โดยผู้เกี่ยวข้องในข่าวนอกจากจะใช้กัญชาแล้วยังใช้สารเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะน้ำกระท่อม/ใบกระท่อมมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 11.1) รองลงมาคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาบ้า และใช้สารเสพติดหลายชนิดร่วมกัน (ร้อยละ 10.3 ร้อยละ 10.3 ร้อยละ 9.4 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังออกนโยบายกัญชาพบว่า หลังออกนโยบายกัญชามีสัดส่วนของข่าวที่รายงานเรื่องการกระทำผิดภายหลังการใช้กัญชาทั้งต่อชีวิตร่างกายของผู้อื่น แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากก่อนออกนโยบายกัญชา เมื่อพิจารณาผลกระทบจากการใช้กัญชาพบข่าวที่รายงานถึงผลกระทบต่อผู้ใช้กัญชา และผลกระทบต่อผู้เสียหาย ดังนี้ ผลกระทบต่อผู้ใช้กัญชา มีข่าวที่รายงานว่าผู้ใช้กัญชามีอาการก้าวร้าวรุนแรงมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 44.4) รองลงมา คือ เสียชีวิต (ร้อยละ 9.4) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังออกนโยบายกัญชาพบว่า หลังออกนโยบายกัญชามีสัดส่วนของข่าวที่รายงานถึงผลกระทบต่อผู้ใช้กัญชาเพิ่มขึ้นจากก่อนออกนโยบายกัญชา ได้แก่ ก้าวร้าวรุนแรง แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม บาดเจ็บ และเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม มีข่าวที่รายงานว่าเมื่อใช้กัญชาแล้ว ผู้ใช้กัญชาหลับได้นาน รู้สึกผ่อนคลาย และเจริญอาหารทำให้ร่างกายสมบูรณ์ ส่วนผลกระทบต่อผู้เสียหาย กัญชาส่งผลกระทบต่อผู้เสียหายทั้งในด้านความรู้สึก บาดเจ็บ และรุนแรงถึงชีวิต โดยข่าวที่รายงานว่าผู้เสียหายได้รับผลกระทบด้านบาดเจ็บมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 19.7) รองลงมาคือ ผลกระทบด้านความรู้สึก (ร้อยละ 17.1) และเสียชีวิต (ร้อยละ 15.4) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังออกนโยบายกัญชาพบว่า หลังออกนโยบายกัญชามีสัดส่วนของข่าวที่รายงานถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากก่อนออกนโยบายกัญชา ได้แก่ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บและรุนแรงถึงเสียชีวิต ได้รับผลกระทบต่อความรู้สึก และทรัพย์สินเสียหาย รวมทั้งถูกชักชวนให้กระทำผิด จากข้อค้นพบดังกล่าวมีข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานระดับนโยบาย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณา ดังนี้ 1) นำเสียงสะท้อนจากสื่อสาธารณะมาใช้กำหนดทิศทางการออกนโยบายกัญชาและมาตรการควบคุมกัญชาให้เข้มงวดโดยคำนึงถึงคุณและโทษของกัญชาไปพร้อม ๆ กัน หรือพิจารณาลดผลกระทบที่เป็นอันตรายและเพิ่มประโยชน์จากการใช้กัญชาให้มากที่สุด รวมทั้งใช้มุมมองด้านการแพทย์และสาธารณสุขวางแผนการดำเนินนโยบายกัญชาอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป 2) กำหนดนโยบาย มาตรการควบคุม และมีระบบเฝ้าระวังป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดและภัยอันตรายจากการใช้กัญชาในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ 3) ควรร่วมกันสร้างและจัดทำระบบสารสนเทศเรื่องกัญชาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันกัญชาและลดความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับประโยชน์และโทษจากกัญชา รวมทั้งวางแผนป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาการโฆษณากัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาจากธุรกิจค้าขายกัญชาทั้งทางออนไลน์และออนไซต์
บทคัดย่อ
The emergence of the marijuana legalization debate in Thailand has sparked considerable
interest among the public. Examining public sentiment and perspectives on marijuana via
online social media platforms is crucial for elucidating truths and establishing a foundational
understanding to inform policy decisions. This study seeks to achieve two primary objectives:
1) Investigate the discourse and attitudes surrounding marijuana on social media platforms, and
2) Analyze crime-related news pertaining to marijuana in online newspapers. Both objectives
aim to evaluate the impact of marijuana usage before and after the implementation of marijuana
policies, comparing two distinct time frames: pre-policy implementation (January 1, 2021, to
June 8, 2021) and post-policy implementation (June 9, 2021, to December 31, 2022). Each
research objective entails specific methodologies and yields notable findings.
The primary objective of this study is to explore public opinion and social discourse regarding
marijuana on online platforms before and after marijuana policy implementation. Utilizing data
from WISESIGHT, a renowned provider of social listening tools, specifically ZOCIAL EYE,
the researchers collected public sentiments on marijuana from prominent social media
platforms such as Facebook, Twitter, and YouTube. The sample consisted of the top 10
influential users identified based on their posting frequency, engagement levels, and follower
counts. Analysis of posts generated by these influential social media users during the six-month
periods before and after the implementation of marijuana policy changes revealed a total of
78,175 and 301,646 posts, respectively. Through content analysis, six primary themes shaping
the public discourse on marijuana in online social media were identified both pre- and post-policy changes. A comparative analysis of social discourse on marijuana
before and after the policy changes indicated a noteworthy increase in negative sentiment
towards marijuana post-policy implementation. Online social media users expressed
apprehensions such as concerns over the harmful usage of marijuana, opposition to marijuana
legalization, critiques of Thailand's liberal marijuana policies, calls for educational institutions
to maintain marijuana-free environments, and associations of marijuana with criminal
activities. Nevertheless, there were also individuals advocating for the positive attributes of
marijuana, asserting its potential as an alternative medicine and challenging perceptions of it as
an addictive substance, advocating against its prohibition, and urging an end to stigmatization
against marijuana use.
For the second objective, focusing on the analysis of crime-related news associated with
marijuana in online newspapers, the researchers employed the iQNewsClip database as the
primary data source for the study. The sample encompassed articles from four prominent online
publications, namely Thai Rath, Khao Sod, Manager, and Daily News. Over an eighteen-month
period spanning both pre and post-marijuana policy alteration, a total of 117 news articles
pertaining to marijuana-related criminal activities were identified and analyzed. These articles
were stratified into two categories: those disseminated prior to the policy amendment (22
articles) and those following the regulatory adjustment (95 articles). Prior to the policy revision,
the monthly frequency of news articles on marijuana-related crimes ranged from 0 to 3.
Conversely, subsequent to the policy revision, there was a notable surge in the number of
articles, with each month witnessing between 1 to 9 reports on this subject.
The findings from the content analysis revealed that following the implementation of the
marijuana policy, the predominant theme in news reports concerning post-marijuana use
misconduct was instances of violent behavior towards others, representing 29.9% of the total
reports. Subsequently, instances of inappropriate conduct such as vandalism, loud behavior,
and rudeness accounted for 4.5% of the reports, while incidents of property damage comprised
12.8%. Notably, individuals implicated in these incidents were found to have not only
consumed marijuana but also other substances, with kratom water/leaves being the most
prevalent at 11.1%, followed by alcohol, methamphetamine, and the concurrent use of multiple
drugs at 10.3%, 10.3%, and 9.4%, respectively. When comparing the periods before and after
marijuana policy implementation, there was a discernible uptick in the proportion of news
reports detailing misconduct post-policy implementation, particularly concerning violence
against others, inappropriate behavior, and property damage.
News reports on marijuana use indicate significant impacts on both users and victims. Among
users, aggressive behavior was most frequently reported (44.4%), followed by cases of fatalities
(9.4%). Post-policy implementation, there was an increase in reports on various impacts,
including aggressive and inappropriate behavior, injuries, and fatalities. However, positive
effects such as improved sleep, relaxation, increased appetite, and enhanced physical wellbeing were also noted. Regarding victims, the highest proportion of reports documented injuries
(19.7%), followed by impacts on emotional well-being (17.1%) and fatalities (15.4%).
Similarly, there was an increase in reports on victim impacts post-policy implementation.
Based on the aforementioned findings, the following recommendations are proposed for
policymaking agencies, including the Ministry of Public Health and related entities, the
Ministry of Education, the Office of Narcotics Control Board, the Royal Thai Police, the
Department of Health, the Food and Drug Administration, and relevant networks:
Incorporate Public Opinion: Utilize feedback from the public to guide marijuana
policy development and control measures, considering both the benefits and risks associated
with marijuana. Strive to minimize harmful impacts and maximize benefits from marijuana use.
Additionally, adopt a medical and public health perspective to develop comprehensive
marijuana policies that benefit patient groups and safeguard public health.
Implement Policies and Control Measures: Develop and implement policies, control
measures, and surveillance systems to prevent illicit marijuana use and mitigate risks associated
with marijuana use among students, scholars, and the general population.
Information System Development: Collaborate to create and establish an information
system on marijuana to promote public awareness, enhance understanding of marijuana's
benefits and risks, and counter misinformation. Develop plans for prevention, control, and
addressing issues related to marijuana advertising and the sale of marijuana products, both
online and offline.