dc.contributor.author | ดาราวรรณ รองเมือง | th_TH |
dc.contributor.author | Daravan Rongmuang | th_TH |
dc.contributor.author | อินทิรา สุขรุ่งเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Intira Sukrungreung | th_TH |
dc.contributor.author | จีราพร ทองดี | th_TH |
dc.contributor.author | Jeraporn Thongdee | th_TH |
dc.contributor.author | ลลิตา เดชาวุธ | th_TH |
dc.contributor.author | Lalita Dechavoot | th_TH |
dc.contributor.author | กฤษณี สุวรรณรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kritsanee Suwannarat | th_TH |
dc.contributor.author | อติญาณ์ ศรเกษตริน | th_TH |
dc.contributor.author | Atiya Sarakshetrin | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Patpong Udompat | th_TH |
dc.contributor.author | จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jirachart Reungwatcharin | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-09-30T04:07:10Z | |
dc.date.available | 2024-09-30T04:07:10Z | |
dc.date.issued | 2567-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 18,3 (ก.ค. - ก.ย. 2567) : 331-350 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6157 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานและความพร้อมในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ประสงค์จะถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ร่วมกับการสำรวจเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบาย (n = 6) ผู้แทนจากภาคสาธารณสุข (n = 28) ผู้แทนจากภาค อปท. (n = 16) และผู้แทนจากภาคประชาชน (n = 24) และการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือตัวแทน (n = 430) เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ตามขนาด อบจ. เล็ก กลางและใหญ่ เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเชิงปริมาณคือแบบประเมินความพร้อมและความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา: 1. รพ.สต. มีความพร้อมทางด้านโครงสร้าง อยู่ในระดับพอดี หรือมาก แต่ความพร้อมของบุคลากรสายวิชาชีพ โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และทันตแพทย์ รวมทั้งสายสนับสนุนด้านการเงินและบัญชี ยังอยู่ในระดับน้อย 2. รพ.สต. ส่วนใหญ่คิดว่ามีความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิภายหลังการถ่ายโอนภารกิจเท่าเดิมและมากขึ้น มีเพียงบริการทันตกรรม ที่คิดว่าสามารถให้บริการได้ลดลง 3. ข้อเสนอแนะจาก รพ.สต. เพื่อให้การบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะการให้บริการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และทันตกรรม ควรเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายแบบเดิมไปก่อน ข้อยุติ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ สรรหาบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุน รวมถึงลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนบริการในรูปแบบเดิมในช่วงเปลี่ยนผ่าน และเตรียมความพร้อมในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และควรมีการดำเนินงานขับเคลื่อนภาคประชาชนด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title | มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิและความพร้อมให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ประสงค์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | Primary Care Service Standards and Readiness of Sub-District Health Promoting Hospitals Transferring to the Provincial Administration Organizations | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and Rationale: The Decentralization Act B.E. 2542 mandates the transfer of health
responsibilities to local government organizations (LGOs). This research aimed to investigate the standards
and readiness for service provision of sub-district health promoting hospitals (SHPHs) that wanted to be
transferred to the provincial administrative organizations (PAOs).
Methodology: This mixed-methods qualitative research included in-depth interviews and focus
group discussions with policymakers (n = 6), public health representatives (n = 28), PAO representatives
(n = 16), and public sector representatives (n = 24) selected purposively. For the quantitative research,
the sample consisted of SHPH directors or representatives (n=430), selected through random sampling
and by size of PAOs. Research instruments included a semi-structured interview guide and a questionnaire
on primary care capacity standards and readiness. Content analysis was used for qualitative data, while
descriptive statistics and chi-squared test were used for quantitative data.
Results: 1. SHPHs reported adequate or high structural service readiness; however, staffing levels
particularly health professionals and supporting finance/account personnel were inadequate. 2. Most
SHPHs anticipated maintaining or even increasing service quantity post-transfer to the PAOs, except in dental care where reductions were expected. 3. Recommendations from SHPHs to enhance the transfer
of health responsibilities included ensuring that health services to the public maintaining the pre-transfer
level, especially the provision of chronic disease treatments such as diabetes, hypertension, and dental
care, should continue status-quo health service networks.
Conclusion: PAOs and the provincial health offices should develop local health plans, recruit
both health professionals and supporting personnel, and sign agreements to maintain existing service
models during the transition period. They should also prepare to promote, support, oversee, and evaluate operations according to professional standards and facilitate community-driven initiatives. | th_TH |
.custom.citation | ดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, อินทิรา สุขรุ่งเรือง, Intira Sukrungreung, จีราพร ทองดี, Jeraporn Thongdee, ลลิตา เดชาวุธ, Lalita Dechavoot, กฤษณี สุวรรณรัตน์, Kritsanee Suwannarat, อติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์, Patpong Udompat, จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ and Jirachart Reungwatcharin. "มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิและความพร้อมให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ประสงค์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6157">http://hdl.handle.net/11228/6157</a>. | |
.custom.total_download | 83 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 33 | |
.custom.downloaded_this_year | 83 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 81 | |