dc.contributor.author | ปิยวัฒน์ ดิลกธรสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Piyawat Dilokthornsakul | th_TH |
dc.contributor.author | นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nantawarn Kitikannakorn | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-09-30T04:18:31Z | |
dc.date.available | 2024-09-30T04:18:31Z | |
dc.date.issued | 2567-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 18,3 (ก.ค. - ก.ย. 2567) : 381-400 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6160 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: รายการยาจำเป็นในภาวะฉุกเฉินต้องการความชัดเจนของหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อกำหนดในการจัดการระบบยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อภิมานและเสวนาหาฉันทมติในการพัฒนาข้อเสนอปรับปรุงบัญชีรายการยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามระดับศักยภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การวิเคราะห์อภิมานด้วยการค้นหาและสกัดข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกันของนักวิจัย 2 คน ใช้คำค้นในระบบ PICO (patient, intervention, comparison, outcome) เพื่อหางานวิจัยฉบับเต็มที่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1990-2021 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, Medline, Embase, Cochrane และเอกสารอ้างอิง ผลการสืบค้นพบงานวิจัย 2,096 ฉบับ เมื่อคัดงานวิจัยที่ซ้ำกันออก 866 ฉบับ และคัดงานวิจัยที่ชื่อเรื่องและบทคัดย่อไม่เกี่ยวข้องออก 1,199 ฉบับ จะเหลืองานวิจัยเพื่อวิเคราะห์อภิมาน 31 ฉบับ นำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงบัญชีรายการยาสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เดี่ยวในความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ 12 คน และกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน 12 คน แล้วหาฉันทมติตัดสินใจหลังจากนำเสนอข้อมูลรวมอีกครั้ง ผลการศึกษาและสรุป: การวิเคราะห์อภิมานของหลักฐานเชิงประจักษ์และระดับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปการพัฒนาข้อเสนอบัญชียาจำเป็นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล สำหรับชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง 3 รายการ คือ dopamine injection, norepinephrine injection, epinephrine injection และการได้รับ epinephrine ภายใน 10 นาทีหลังจากเรียกชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตร่วมกับมีอาการทางคลินิกที่ดี รูปแบบการจัดการด้านยาฉุกเฉินควรจัดเป็นกล่องยาฉุกเฉิน สำรองกล่องไว้ที่หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและที่ห้องยา เมื่อออกเหตุจึงนำกล่องยาฉุกเฉินที่สำรองไปใช้ และนำกล่องที่ใช้แล้วมาแลกกล่องใหม่เพื่อให้เภสัชกรตรวจสอบการใช้ยาและจัดเติมยาให้พร้อมใช้ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | การพยาบาลฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject | Emergency Medicines | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์อภิมานและการเสวนาหาฉันทมติเพื่อพัฒนาบัญชียาจำเป็นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล | th_TH |
dc.title.alternative | A Meta-Analysis and Consensus Conference on Updating a List of Medicines for Out-of-Hospital Cardiac Arrests in the Emergency Care System | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and Rationale: Having a list of essential emergency medicines and management
guidelines requires clear evidence approach. Based on the hospital’s potential, this study intended to
update a list of essential medicines for managing out-of-hospital cardiac arrest (OHCA) patients for appropriate cadres of emergency responders in the emergency care system (ECS) Chiang Mai case study.
Methodology: The study was divided into two parts. The meta-analysis started from literature
search then data extraction by two independent researchers. The PICO (patient, intervention, comparison,
outcome) keyword search for full-text studies published in English between 1990 and 2021 in electronic
databases such as PubMed, Medline, Embase, Cochrane, including references was undertaken. The search
yielded 2,096 papers, 866 duplicate articles were eliminated, as well as 1,199 papers with unrelated
titles and abstracts. Thirty-one papers were good for meta-analysis and reached recommendations on
an essential emergency medicine list for OHCA patients. The second step was a consensus conclusion
based on evidence gathered from in-depth interviews with 12 academic professionals and 12 emergency
medical practitioners.
Results and Conclusion: The list of drugs for OHCA patients was developed through a thorough
analysis and the inputs from experts. Dopamine, norepinephrine, and epinephrine injections are three
items required at the advanced life support (ALS) level. OHCA patients who received epinephrine within
ten minutes of calling the ECS had a high survival rate and clinical prognosis. The emergency and pharmacy
departments should have the emergency medicine kits handy. After the ECS dispatch, pharmacists should
monitor the use of and refill the emergency drugs ensuring preparedness of the kit for next emergency
incident. | th_TH |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน | th_TH |
.custom.citation | ปิยวัฒน์ ดิลกธรสกุล, Piyawat Dilokthornsakul, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ and Nantawarn Kitikannakorn. "การวิเคราะห์อภิมานและการเสวนาหาฉันทมติเพื่อพัฒนาบัญชียาจำเป็นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6160">http://hdl.handle.net/11228/6160</a>. | |
.custom.total_download | 15 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 15 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 11 | |