Show simple item record

Lessons Learned from the Management for Public Health Emergencies of Healthcare System during COVID-19 Pandemic in Southern Border Provinces, Thailand

dc.contributor.authorสุทัศน์ เสียมไหมth_TH
dc.contributor.authorSuthat Siammaith_TH
dc.contributor.authorอัญชลี พงศ์เกษตรth_TH
dc.contributor.authorAnchalee Pongkasetth_TH
dc.contributor.authorฟูซียะห์ หะยีth_TH
dc.contributor.authorFusiyah Hayeeth_TH
dc.contributor.authorพยงค์ เทพอักษรth_TH
dc.contributor.authorPhayong Thepaksornth_TH
dc.contributor.authorไพสิฐ บุณยะกวีth_TH
dc.contributor.authorPaisit Boonyakaweeth_TH
dc.contributor.authorพุทธิพงศ์ บุญชูth_TH
dc.contributor.authorPuttipong Boonchuth_TH
dc.contributor.authorชวนากร ศรีปรางค์th_TH
dc.contributor.authorChavanakorn Sriprangth_TH
dc.date.accessioned2024-09-30T04:21:05Z
dc.date.available2024-09-30T04:21:05Z
dc.date.issued2567-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 18,3 (ก.ค. - ก.ย. 2567) : 401-426th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6161
dc.description.abstractการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข การวิจัยคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ถอดบทเรียนผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคในการเตรียมการ การป้องกันและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของโควิด-19 และ 2) ประเมินผลลัพธ์เชิงระบบของการจัดการภาวะฉุกเฉินในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับนโยบาย จำนวน 115 คน และผู้ปฏิบัติ จำนวน 139 คน โดยเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่มและการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผลดำเนินการเตรียมการ การป้องกันและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของโควิด-19 ของระบบบริการสุขภาพ ตติยภูมิ ทุติยภูมิ ปฐมภูมิ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ยังขาดประสิทธิภาพ พบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่ ข้อจำกัดของการจัดตั้งระบบในการเตรียมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และระบบบัญชาการเหตุการณ์ ขาดการซ้อมแผนแนวทางการดำเนินงาน ทีมทำงานไม่เข้าใจบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ตามกล่องภารกิจด้านการประเมินสถานการณ์ การปฏิบัติการ การสื่อสารความเสี่ยง การดูแลรักษาผู้ป่วย การสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุงและด้านกฎหมาย บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอในการจัดการ มีการจัดการศพผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ถูกต้องตามหลักการป้องกันโรค วิถีชีวิตความเป็นอยู่/ความเชื่อตามหลักศาสนาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน การประเมินผลเชิงระบบของการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข พบว่า ทุกจังหวัดยังขาดประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขควรมีการกำหนดนโยบายพร้อมสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นแก่ระบบบริการสุขภาพ ให้มีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุโรคระบาดระดับชาติ ซ้อมแผนศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ ระดับจังหวัด อำเภอ อย่างต่อเนื่อง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพิเศษในพื้นที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัด ผู้นำศาสนาอิสลาม บาบอ โต๊ะครู ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคระบาดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคระบาดth_TH
dc.titleบทเรียนการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeLessons Learned from the Management for Public Health Emergencies of Healthcare System during COVID-19 Pandemic in Southern Border Provinces, Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe COVID-19 pandemic challenged the management of public health emergencies of health systems. This qualitative research aimed: 1) to study the situation, lessons learned, and challenges in preparedness, prevention, and response to the COVID-19 emergency; and 2) to evaluate the outcomes of emergency management systems during the COVID-19 crisis of the southern border provinces. The participants consisted of 115 policy key informants and 139 practitioners purposively selected. Data collection methods included in-depth interviews, focus group discussions, and brainstorming sessions. The transcribed data were analyzed using content analysis. Results revealed that the preparedness, prevention, and responses to the COVID-19 emergency by the tertiary, secondary, and primary healthcare systems in the five southern border provinces were inadequate. Challenges included limitations in establishing emergency operation centers and incident command systems, lack of preparedness drills according to operational guidelines. Team members did not fully understand their roles and responsibilities within the mission framework (situation assessment, operations, risk communication, case management, medical supplies and logistics, and legal aspects). Additionally, insufficient personnel and budget for proper management of COVID-19 patients and the deceased according to scientific protocols and lifestyle/religious beliefs posed obstacles to disease prevention and control efforts. The evaluation of public health emergency management system revealed that all provinces lacked efficiency in preventing and controlling COVID-19. The Ministry of Public Health should establish policies and allocate necessary resources to enable continuous preparedness drills for national epidemic response plans, emergency operation centers, and incident command systems at the provincial and district levels. Collaborations with special agencies such as the Provincial Islamic Committee Office, Islamic religious leaders, and religious teachers should be fostered to address future epidemics.th_TH
.custom.citationสุทัศน์ เสียมไหม, Suthat Siammai, อัญชลี พงศ์เกษตร, Anchalee Pongkaset, ฟูซียะห์ หะยี, Fusiyah Hayee, พยงค์ เทพอักษร, Phayong Thepaksorn, ไพสิฐ บุณยะกวี, Paisit Boonyakawee, พุทธิพงศ์ บุญชู, Puttipong Boonchu, ชวนากร ศรีปรางค์ and Chavanakorn Sriprang. "บทเรียนการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6161">http://hdl.handle.net/11228/6161</a>.
.custom.total_download24
.custom.downloaded_today8
.custom.downloaded_this_month21
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year21

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v18n ...
Size: 390.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record