Show simple item record

Evaluating Pre-hospital Emergency Care Services in the Context of Decentralization Policy

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawatsth_TH
dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorPaiboon Suriyawongpaisarnth_TH
dc.contributor.authorพงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPongsakorn Atiksawedparitth_TH
dc.contributor.authorภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัยth_TH
dc.contributor.authorPhanuwich Kaewkamjonchaith_TH
dc.contributor.authorพีรสิชฌ์ สิทธิรัตน์th_TH
dc.contributor.authorPeerasit Sitthiratth_TH
dc.contributor.authorปวินท์ ศรีวิเชียรth_TH
dc.contributor.authorPawin Sriwichianth_TH
dc.contributor.authorมนสิชา หวังพิพัฒน์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorMonsicha Wangpipatwongth_TH
dc.contributor.authorพิวัฒน์ ศุภวิทยาth_TH
dc.contributor.authorPiwat Suppawittayath_TH
dc.contributor.authorพีรภาส สุขกระสานติth_TH
dc.contributor.authorPeerapass Sukkrasantith_TH
dc.contributor.authorจิณณ์ รัชโนth_TH
dc.contributor.authorJin Rushchanoth_TH
dc.contributor.authorแคเรน เอ็ม ทัมth_TH
dc.contributor.authorKaren M Tamth_TH
dc.date.accessioned2024-10-15T07:20:56Z
dc.date.available2024-10-15T07:20:56Z
dc.date.issued2567-09
dc.identifier.isbn9786166168471
dc.identifier.otherhs3184
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6171
dc.description.abstractตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 วิวัฒนาการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของไทยเกิดการริเริ่มในทิศทางที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอีกขั้นหนึ่ง ด้วยการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น จนถึงปัจจุบันมี 15 จังหวัด ที่มีการถ่ายโอนศูนย์สั่งการฯ สำเร็จ การศึกษาชิ้นนี้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานแบบเกิดพร้อมกันเพื่อประเมินผลกระทบจากการดำเนินนโยบายกระจายอำนาจในลักษณะดังกล่าว สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical Systems: ITEMS) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับประเทศ และการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ป่วย เพื่อประเมินการเข้าถึงและคุณภาพบริการ สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้กำหนดนโยบายส่วนกลาง และผู้ปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดที่มีการถ่ายโอนและจังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอน เพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการนโยบายและปัญหาอุปสรรคในบริบทที่แตกต่างกัน ผลการค้นพบหลัก 1. การเปรียบเทียบสมรรถนะ 1.1 จังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์สั่งการฯ มีสมรรถนะด้อยกว่าในหลายประเด็น คือ ความแม่นยำในการคัดกรองผู้ป่วยทางโทรศัพท์ต่ำกว่า, สัดส่วนการใช้หน่วยปฏิบัติการระดับสูงในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตต่ำกว่า, มีระยะเวลาตอบสนอง (response time) นานกว่า อย่างไรก็ดี ไม่พบว่าการเสียชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มจังหวัดดังกล่าว 1.2 การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในจังหวัดที่มีการถ่ายโอนเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของจังหวัดที่มีการถ่ายโอนต่ำกว่าของจังหวัดที่ไม่ถ่ายโอน แต่ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ความรวดเร็วในการต่อสายด่วน 1669 ของจังหวัดที่มีการถ่ายโอนต่ำกว่า ตลอดจนความเชื่อมั่นในระบบบริการต่ำกว่า สำหรับเหตุผลหลักที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไม่เรียกใช้บริการ 1669 คือ คิดว่าเดินทางมาโรงพยาบาลเองสะดวกกว่า 2. วิวัฒนาการเชิงระบบ 2.1 การขยายความครอบคลุมของระบบการแพทย์ฉุกเฉินของไทยทำได้จำกัด เนื่องจากยังเป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดให้มีระบบดังกล่าว ยังไม่มีแผนการกระจายอำนาจในการถ่ายโอนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.2 การยกระดับคุณภาพมาตรฐานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมามีช่องว่างหลายประการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มุ่งเน้นการกำหนดมาตรฐานบุคลากรและหน่วยปฏิบัติการประเภทต่าง ๆ กำหนดมาตรฐานหลักสูตรและองค์กรฝึกอบรม กำหนดตัวชี้วัดและระบบข้อมูลในการกำกับติดตามประเมินสมรรถนะของระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด และระบบประเมินและรับรองคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี ขาดระบบสนับสนุนที่เพียงพอแก่พื้นที่ในการดำเนินการพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ และการฝึกอบรม 2.3ระบบข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล การนำระบบ D1669 มาใช้ในจังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์สั่งการฯ ไปยัง อบจ. มีช่องว่างสำคัญคือ ขาดการประเมินความพร้อมของพื้นที่ก่อนนำระบบไปติดตั้ง รวมถึงขาดระบบสนับสนุนที่เพียงพอ ขณะเดียวกันระบบ ITEM54.0 ที่นำมาใช้ทดแทนระบบ ITEMS3.0 ที่หมดสภาพไป พื้นที่ไม่สามารถดึงข้อมูลตามตัวชี้วัดมาใช้ในการกำกับติดตามประเมินระบบเหมือนของเดิมได้ ทำได้แค่การบันทึกข้อมูลเพื่อเบิกค่าออกปฏิบัติงาน นอกจากนั้น พบว่า ความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลในระบบ ITEMS ถดถอยลงเมื่อเปลี่ยนจาก ITEMS3.0 เป็น ITEMS4.0 2.4 งบประมาณและการชดเชย งบประมาณ สพฉ. ที่สนับสนุนการบริหารจัดการและพัฒนาระบบแก่จังหวัดถดถอยลงเป็นลำดับ แหล่งงบประมาณจาก อบจ. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ รวมถึงการบูรณาการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นในจังหวัดและการระดมทุนในพื้นที่ในรูปแบบมูลนิธิ อัตราการจ่ายชดเชยค่าบริการแก่หน่วยปฏิบัติการแพทย์ไม่ได้รับการปรับให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดบริการ ปรากฏการณ์ที่หน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูงของโรงพยาบาลต้องนำค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ให้กับผู้ป่วยระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลไปเบิกในระบบประกันสุขภาพ สะท้อนให้เห็นถึงการที่โรงพยาบาลต้องดิ้นรนเพื่อลดภาระการขาดทุนของโรงพยาบาล 2.5 การบริหารจัดการกำลังคนระบบการแพทย์ฉุกเฉินในรูปแบบการจ้างเหมาหรือลูกจ้างโครงการ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการดำรงรักษากำลังคนที่มีศักยภาพไว้ในระบบ 2.6 ศักยภาพด้านวิทยาการระบบสุขภาพ (health system science) ของบุคลากรโดยเฉพาะผู้บริหารมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการทำงานในลักษณะเครือข่าย เช่น ภาวะการนำของผู้บริหาร, การคิดเป็นระบบ, ทักษะการทำงานเป็นทีม, ทักษะการสื่อสารและการประสานงาน, การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารจัดการโดยเฉพาะองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกำกับ 3. ช่องว่างการแพทย์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร 3.1 ช่องว่างหลักของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร คือปัญหาการจัดหาโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งแตกต่างจากในต่างจังหวัดที่เป็นประเด็นด้านความครอบคลุมและคุณภาพมาตรฐานของหน่วยปฏิบัติการแพทย์th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการเวชศาสตร์ฉุกเฉินth_TH
dc.subjectEmergency Medicineth_TH
dc.subjectEmergenciesth_TH
dc.subjectEmergency Medical Servicesth_TH
dc.subjectภาวะฉุกเฉินth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.titleการวิจัยประเมินคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ในบริบทการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeEvaluating Pre-hospital Emergency Care Services in the Context of Decentralization Policyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeSince 2016, Thailand has initiated the decentralization of its emergency medical services (EMS) system, transferring emergency medical dispatch centers from hospitals to provincial administrative organizations (PAOs) to better serve local populations. Currently, 15 provinces have successfully transferred these centers. This study uses a concurrent mixed-methods research design, combining quantitative analysis of secondary data from the Information Technology for Emergency Medical Systems (ITEMS) database and patient surveys, with qualitative studies involving in-depth interviews and focus group discussions with central policymakers and local practitioners. Key findings 1. Performance Comparison: 1.1 Provinces with transferred dispatch centers show lower performance in telephone triage accuracy, use of high-level emergency response units, and response times. However, there is no difference in out-of-hospital cardiac arrest mortality between transferred and non-transferred provinces. 1.2 Access to EMS has increased in transferred provinces, but the usage rate of the 1669 emergency hotline is lower in these provinces compared to non-transferred ones, though still higher than the national average. Critical emergency patients prefer going to hospitals directly due to convenience. 2. Systemic Evolution: 2.1 Coverage Expansion: Limited due to local readiness and willingness, with no plan for decentralizing EMS to local organizations. 2.2 Quality Standards: NIEMS focuses on setting standards, but lacks sufficient support for local areas, particularly in budget and training. 2.3 Digital Information System: Significant gaps in implementing D1669, including lack of readiness assessments and insufficient support. The new ITEMS4.0 system has reduced data integrity compared to ITEMS3.0. 2.4 Budget and Compensation: Decreased budgets for NIEMS, inadequate compensation rates for emergency services, and financial strain on hospitals. 2.5 Human Resource Management: Contractual employment hinders capacity building and retention. 2.6 Health System Science: Crucial for networked operations, including leadership, systemic thinking, and change management. 3. Bangkok's EMS Gap: 3.1 The main issue in Bangkok is finding hospitals to receive critical emergency patients, differing from other provinces where coverage and quality standards are the primary concerns.th_TH
dc.identifier.callnoWX215 ส618ก 2567
dc.identifier.contactno67-001
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Samrit Srithamrongsawats, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paiboon Suriyawongpaisarn, พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์, Pongsakorn Atiksawedparit, ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย, Phanuwich Kaewkamjonchai, พีรสิชฌ์ สิทธิรัตน์, Peerasit Sitthirat, ปวินท์ ศรีวิเชียร, Pawin Sriwichian, มนสิชา หวังพิพัฒน์วงศ์, Monsicha Wangpipatwong, พิวัฒน์ ศุภวิทยา, Piwat Suppawittaya, พีรภาส สุขกระสานติ, Peerapass Sukkrasanti, จิณณ์ รัชโน, Jin Rushchano, แคเรน เอ็ม ทัม and Karen M Tam. "การวิจัยประเมินคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ในบริบทการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6171">http://hdl.handle.net/11228/6171</a>.
.custom.total_download21
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year21
.custom.downloaded_fiscal_year21

Fulltext
Icon
Name: hs3184.pdf
Size: 21.78Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record