แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย

dc.contributor.authorศุภกร ศรีแผ้วth_TH
dc.contributor.authorSupakorn Sripeawth_TH
dc.contributor.authorภูมิใจ สรเสณีth_TH
dc.contributor.authorPhoomjai Sornseneeth_TH
dc.contributor.authorพลเทพ วิจิตรคุณากรth_TH
dc.contributor.authorPolathep Vichitkunakornth_TH
dc.contributor.authorเสาวภา ศรีใสth_TH
dc.contributor.authorSaowapa Srisaith_TH
dc.contributor.authorคณิน ล่องเซ่งth_TH
dc.contributor.authorKanin Longsength_TH
dc.contributor.authorหทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุลth_TH
dc.contributor.authorHathaitip Tumviriyakulth_TH
dc.contributor.authorอรพรรณ ฟูมณีโชติth_TH
dc.contributor.authorOrapan Fumaneeshoatth_TH
dc.contributor.authorสาวิตรี อัษณางค์กรชัยth_TH
dc.contributor.authorSawitri Assanangkornchaith_TH
dc.date.accessioned2024-10-21T03:19:30Z
dc.date.available2024-10-21T03:19:30Z
dc.date.issued2567-09
dc.identifier.otherhs3190
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6176
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อ 1) อธิบายรูปแบบพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสร้างแบบสอบถามเพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคต่อความร่วมมือในการรักษาและพฤติกรรมสุขภาพ และ 2) คาดประมาณความชุกของรูปแบบพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในด้านต่าง ๆ ตามกลุ่มปัจจัยทางประชากรศาสตร์และเศรษฐสังคม ปัจจัยทางคลินิกและมุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชา ระเบียบวิธีวิจัย โครงการนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (sequential-exploratory mixed methods) ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจภาคตัดขวาง (exposure-based crosssectional survey) ผู้วิจัยเลือกคลินิกโรคเรื้อรังประจำโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลขนาดกลาง โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอย่างละ 1 แห่ง เป็นสถานที่ศึกษา โดยมีบุคลากรประจำสถานพยาบาลเป็นผู้ประสานงานเมื่อคัดกรองพบผู้ป่วยที่ระบุว่าใช้กัญชาในช่วง 3 เดือน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่ไม่ใช้กัญชาที่มีลักษณะทางคลินิกคือ โรคประจำตัวและแพทย์ตรงกันในอัตรา 1:1 เพื่อวิเคราะห์หาอิทธิผลของการใช้กัญชาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบมีเงื่อนไขตามรหัสการจับคู่ ผลการศึกษา การสำรวจมีอาสาสมัคร 280 คน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ใช้กัญชาและผู้ป่วยที่ไม่ใช้กัญชากลุ่มละ 140 คน อาสาสมัครส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สมรส จบประถมศึกษาและมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ผู้ป่วยที่ใช้กัญชามักเป็นเพศชาย (ร้อยละ 58) ลักษณะทางคลินิกพบโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานร้อยละ 90.7 และร้อยละ 62.1 ตามลำดับ โรคร่วมที่พบบ่อยในผู้ที่ใช้กัญชาคือโรคหลอดเลือดสมองและมะเร็ง ผู้ป่วยใช้กัญชาเฉลี่ย 2.1 ปี ใช้กัญชาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ร้อยละ 62.1 ใช้ด้วยวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวร้อยละ 40.0 เพื่อการสันทนาการเพียงอย่างเดียวร้อยละ 16.4 และทั้งสองด้านร้อยละ 43.6 ส่วนมากใช้กัญชาในรูปแบบน้ำต้ม (ร้อยละ 81.7) มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 1.4 ที่ได้รับกัญชาจากสถานพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยที่ใช้กัญชามีการขาดการติดตามการรักษาจากแพทย์บ่อยครั้งกว่า ผู้ใช้กัญชามักมีความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของกัญชาด้านการบรรเทาอาการ หากแต่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รักษาโรคและมาตรการควบคุมกัญชา ผู้ป่วยทั้งผู้ใช้และไม่ใช้กัญชาส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการใช้กัญชาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังการใช้กัญชามีความสัมพันธ์กับความร่วมมือการรักษาที่ไม่เพียงพอ (อัตราส่วนออดส์ปรับแล้ว 7.42 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95% 1.21 - 45.48) อภิปรายและสรุปผล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เข้าถึงกัญชาหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 และมีการค้นหาผลิตภัณฑ์และเรียนรู้การใช้งานด้วยตนเองเป็นหลัก การใช้กัญชาส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษา การศึกษาเชิงสำรวจประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงบริบทและเกิดขึ้นในจังหวัดสงขลา ข้อมูลบางส่วนควรถูกแปลผลอย่างระมัดระวังหากนำไปใช้ในประชากรที่แตกต่างออกไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectกัญชา--แง่การแพทย์th_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectกัญชา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectพืชเป็นยาth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.subjectNon-communicable Diseaseth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleรูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา ประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativePatterns of Cannabis Product use Among Non-communicable Disease Patients in Songkhla Province, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: This project aimed to: 1) gather information on patterns of cannabis use and their impacts on the health of chronic disease patients, and develop a questionnaire; 2) describe the distribution of cannabis use quantitatively, per sociodemographics, clinical information, and understandings regarding cannabis, and examine the associations between cannabis use and medication adherence in non - communicable disease (NCD) patients. Methods: We employed sequential-exploratory mixed methods, including indepth interviews and an exposure-based cross-sectional survey. Four NCD clinics were purposively selected from four levels of Thai healthcare centers: a community hospital, a general hospital, a referral hospital, and a medical school hospital. We coordinated with clinic staff to recruit study participants. When a cannabis user was identified during routine care, investigators matched them with a non-cannabis-user patient with the same medical conditions and being treated by the same physician, in a 1:1 ratio. We analyzed the association between cannabis use and medication adherence using conditional logistic regression. Results: Two hundred and eighty patients participated in the survey, with 140 patients each reporting using and not using cannabis in the past three months. Most participants were Buddhists, married, had primary school education, and a family monthly income of less than 30,000 Thai Baht. Most cannabis users were male (58%). Among the participants, 90.7% had hypertension and 62.1% had diabetes. Cerebrovascular diseases and cancer were common comorbidities among cannabis users. On average, cannabis users had used cannabis for 2.1 years, with 62.1% starting since June 2022. Usage for medical purposes, recreational purposes, and both purposes were 40.0%, 16.4%, and 43.6%, respectively. The most common preparation was cannabis tea (81.7%). Only 1.4% of participants received cannabis products from government health centers. Cannabis users had a higher rate of loss to follow-up than non-users and were more likely to understand cannabis's symptom-relieving effects correctly. However, these users had limited understanding of scientifically proven therapeutic effects and cannabis regulations in Thailand. Both cannabis users and non-users generally agreed that cannabis use should be under a physician’s supervision. Cannabis use was significantl y associated with low medication adherence in NCD patients (adjusted odds ratio 7.42, 95% confidence interval 1.21 – 45.48). Summary: NCD patients commonly gained access to cannabis products after June 2022, primarily through self-research, and were able to access various cannabis products. Cannabis use was associated with low medication adherence. However, this investigation was conducted only in Songkhla province, so caution should be taken when generalizing certain parts of the study results to different settings.th_TH
dc.identifier.callnoQV77.7 ศ291ร 2567
dc.identifier.contactno66-031
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
.custom.citationศุภกร ศรีแผ้ว, Supakorn Sripeaw, ภูมิใจ สรเสณี, Phoomjai Sornsenee, พลเทพ วิจิตรคุณากร, Polathep Vichitkunakorn, เสาวภา ศรีใส, Saowapa Srisai, คณิน ล่องเซ่ง, Kanin Longseng, หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล, Hathaitip Tumviriyakul, อรพรรณ ฟูมณีโชติ, Orapan Fumaneeshoat, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย and Sawitri Assanangkornchai. "รูปแบบการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6176">http://hdl.handle.net/11228/6176</a>.
.custom.total_download7
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3190.pdf
ขนาด: 1.268Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย