แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับเขตสุขภาพที่ 8 (กรณีศึกษานำร่องจังหวัดหนองคาย และนครพนม)

dc.contributor.authorสุทัศน์ โชตนะพันธ์th_TH
dc.contributor.authorSuthat Chottanapundth_TH
dc.contributor.authorเกวลี สุนทรมนth_TH
dc.contributor.authorKaewalee Soontornmonth_TH
dc.contributor.authorภัสราภรณ์ นาสาth_TH
dc.contributor.authorPatsaraporn Nasath_TH
dc.contributor.authorธัชริทธิ์ ใจผูกth_TH
dc.contributor.authorThachcharit Jaiphookth_TH
dc.contributor.authorจริยา ดำรงศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorChariya Damrongsakth_TH
dc.contributor.authorจันจิรา ชินศรีth_TH
dc.contributor.authorChanjira Chinsrith_TH
dc.contributor.authorพรรณวรท ภูเวียงth_TH
dc.contributor.authorPhanwarot Phoweangth_TH
dc.contributor.authorแสนสุข เจริญกุลth_TH
dc.contributor.authorSansuk Charoenkunth_TH
dc.date.accessioned2024-12-02T06:57:57Z
dc.date.available2024-12-02T06:57:57Z
dc.date.issued2567-11
dc.identifier.otherhs3211
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6201
dc.description.abstractประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจาก PM2.5 ที่เกินมาตรฐานทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตสุขภาพที่ 8 (จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย) ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดหนองคาย ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนานโยบายและแนวทางการดำเนินงาน และเป็นกรณีศึกษาสำหรับเขตสุขภาพที่ 8 การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง และทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ใน 2 จังหวัด ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ระบบเฝ้าระวังมีการยอมรับสูง เนื่องจากความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ระบบมีความง่ายและยืดหยุ่นที่เหมาะสม แต่เกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และความถูกต้องของข้อมูล ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า จังหวัดนครพนมจากเวชระเบียน 485 ฉบับ ที่เข้าเกณฑ์ ICD-10 มี 442 ฉบับตรงตามนิยามการรายงาน และ 355 ฉบับ ตรงตามนิยามโรค ระบบมีความครอบคลุมสูง (90.70%) แต่ค่าพยากรณ์บวกปานกลาง (76.30%) และไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับ PM2.5 กับจำนวนผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจ และจังหวัดหนองคายจากการทบทวนเวชระเบียนจำนวน 345 ฉบับ ตรงตามนิยามจำนวน 181 เวชระเบียน มีค่าความไว ร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 53.08 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติ มีความครบถ้วนของข้อมูล ร้อยละ 100 แต่ข้อมูลรหัสโรค ICD-10 มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 98.84 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติ และข้อมูลรหัสโรค (ICD-10) มีความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 97.97, 92.46, 98.26 และ 94.78 ตามลำดับ และข้อมูลอายุ เพศ และวันที่เข้ารับบริการมีความเป็นตัวแทน สรุปได้ว่า ระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ใน 2 จังหวัด มีประสิทธิภาพในระดับที่น่าพอใจ ด้วยความครอบคลุมสูงและความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเกี่ยวข้องกับ PM2.5 การปรับปรุงเหล่านี้สามารถเพิ่มศักยภาพของระบบและนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectฝุ่นละอองth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับเขตสุขภาพที่ 8 (กรณีศึกษานำร่องจังหวัดหนองคาย และนครพนม)th_TH
dc.title.alternativeSurveillance System Evaluation for PM2.5 Related Diseases in 8th Health Province of Thailand (Pilot Study in Nongkai and Nakorn Pranom Provinces)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThailand is facing air pollution problems from PM2.5 exceeding standard levels every year in Health Region 8 (particularly in Nakhon Phanom and Nongkai provinces), which has been significantly affected. This study aimed to evaluate the PM2 . 5 surveillance system in Nakhon Phanom and Nongkai provinces both qualitatively and quantitatively to develop policies and operational guidelines and to serve as a case study for Health Region 8. This research employed a mixed-method approach by conducting in-depth interviews with public health officials and stakeholders and reviewing medical records of patients suspected of PM2.5 -related diseases at 2 provinces between October 1, 2020, and March 31, 2023. The qualitative results found that the surveillance system has high acceptance due to public concern over air pollution. The system is appropriately simple and flexible, but unclear diagnostic criteria for PM2.5 - related diseases affect data analysis and accuracy. Nakhon Phanom province, the quantitative results showed that out of 485 medical records meeting the ICD-10 criteria, 4 4 2 matched the reporting definitions, and 3 5 5 matched the disease definitions. The system has high coverage (90.70%) but a moderate positive predictive value (76.30 % ) . No clear correlation was found between PM2.5 levels and the number of patients, possibly due to other factors affecting respiratory diseases. Nongkai province, a review of 345 medical records was conducted, with 182 records meeting the definition of a patient. The sensitivity was 100%, and the positive predictive value (PPV) was 53.08%. The data completeness for age, gender, and nationality was 100%, while ICD-10 code completeness was 98.84%. The accuracy of the data for age, gender, nationality, and ICD-10 codes was 97.97%, 92.46%, 98.26%, and 94.78%, respectively. Additionally, the data for age, gender, and service date were representative. In conclusion, the PM2.5 surveillance system in both provinces operate at a satisfactory level with high coverage and data accuracy. However, the diagnostic criteria related to PM2.5 should be improved. These enhancements can increase the system's potential and improve public health outcomes.th_TH
dc.identifier.contactno67-002
dc.subject.keywordPM2.5th_TH
.custom.citationสุทัศน์ โชตนะพันธ์, Suthat Chottanapund, เกวลี สุนทรมน, Kaewalee Soontornmon, ภัสราภรณ์ นาสา, Patsaraporn Nasa, ธัชริทธิ์ ใจผูก, Thachcharit Jaiphook, จริยา ดำรงศักดิ์, Chariya Damrongsak, จันจิรา ชินศรี, Chanjira Chinsri, พรรณวรท ภูเวียง, Phanwarot Phoweang, แสนสุข เจริญกุล and Sansuk Charoenkun. "การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับเขตสุขภาพที่ 8 (กรณีศึกษานำร่องจังหวัดหนองคาย และนครพนม)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6201">http://hdl.handle.net/11228/6201</a>.
.custom.total_download6
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year6

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3211.pdf
ขนาด: 794.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย