Show simple item record

The Development of Universal Hearing Screening Databases for Enhancing the Accessibility of Early Diagnosis and Early Intervention in Newborns

dc.contributor.authorพนิดา ธนาวิรัตนานิจth_TH
dc.contributor.authorPanida Thanawirattananitth_TH
dc.contributor.authorขวัญชนก ยิ้มแต้th_TH
dc.contributor.authorKwanchanok Yimtaeth_TH
dc.contributor.authorนิชธิมา ฉายะโอภาสth_TH
dc.contributor.authorNichtima Chayaopasth_TH
dc.contributor.authorพรเทพ เกษมศิริth_TH
dc.contributor.authorPornthep Kasemsirith_TH
dc.contributor.authorภาธร ภิรมย์ไชยth_TH
dc.contributor.authorPatorn Piromchaith_TH
dc.contributor.authorวันดี ไข่มุกด์th_TH
dc.contributor.authorWandee Khaimookth_TH
dc.contributor.authorรมิดา ดินดำรงกุลth_TH
dc.contributor.authorRamida Dindamrongkulth_TH
dc.contributor.authorสุวิชา แก้วศิริth_TH
dc.contributor.authorSuwicha Kaewsirith_TH
dc.contributor.authorศณัฐธร เชาวน์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorSanathorn Chowsilpath_TH
dc.contributor.authorวิชัย ฉัตรทินวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorWichai Chattinnawatth_TH
dc.contributor.authorชินวัตร อิศราดิสัยกุลth_TH
dc.contributor.authorChinawat Isradisaikulth_TH
dc.contributor.authorนันณะภา อาจหาญth_TH
dc.contributor.authorNunnapa Arthanth_TH
dc.contributor.authorอรพิชญ์ อินทรัตน์th_TH
dc.contributor.authorOrapit Intaratth_TH
dc.contributor.authorวลีรัตน์ ทาทะวงค์th_TH
dc.contributor.authorWaleerat Thathawongth_TH
dc.date.accessioned2024-12-03T02:40:01Z
dc.date.available2024-12-03T02:40:01Z
dc.date.issued2567-11
dc.identifier.otherhs3213
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6202
dc.description.abstractประเทศไทยได้มีนโยบายในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทุกราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อมุ่งหวังในการค้นหาเด็กที่มีความพิการทางการได้ยินตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งปัญหาของการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด พัฒนาการทางด้านอารมณ์และการเรียนรู้ หากเด็กได้รับการตรวจพบความผิดปกติได้โดยเร็วจะทำให้เพิ่มโอกาสในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะพัฒนาภาษาและการพูดได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าเด็กปกติ แต่เนื่องจากในปัจจุบันการคัดกรองการได้ยินยังไม่สามารถดำเนินการได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง จึงจำเป็นต้องมีการส่งต่อเด็กไปรับการตรวจคัดกรองยังโรงพยาบาลใกล้เคียงหรือโรงพยาบาลในเครือข่าย หรือหากโรงพยาบาลนั้น ๆ มีการตรวจคัดกรองการได้ยินได้ แต่หากพบว่าผลตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน จะต้องมีการส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยยังโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพนั้น ๆ โดยการส่งต่อไปรับการตรวจยังโรงพยาบาลปลายทาง พบว่าเด็กเหล่านั้นอาจไม่สามารถเข้าถึงการบริการในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการตรวจวินิจฉัย ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดระบบการนัดหมายที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาหลายครั้งถึงจะได้รับการตรวจ การขาดการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายทั้งที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน หรือนอกสังกัด ทำให้เด็กที่มีเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้า และเป็นภาระของผู้ปกครองที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหลายครั้ง จึงไม่สามารถนำไปสู่การติดตามดัชนีคุณภาพของระบบตรวจคัดกรองการได้ยินที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุมที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับการใช้งาน โดยระบบสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการทุติยภูมิหรือตติยภูมิที่มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมถึงระบบการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อการตรวจวินิจฉัยของโรงพยาบาลในเครือข่าย น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนเด็กที่เข้าถึงบริการ ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่ม โดยระบบที่พัฒนาและโดดเด่นคือ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย และการนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยยังโรงพยาบาลแม่ข่ายทั้งในสังกัดและนอกสังกัด ระบบการส่งต่อจะมีการแจ้งและติดตามสถานะ ผู้ป่วยใกล้วันนัดหมาย และเลยกำหนดนัดหมาย โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งจากโรงพยาบาลต้นทางที่ส่ง และโรงพยาบาลปลายทางที่รับ หากผู้ป่วยไม่มาตามนัดหมาย โรงพยาบาลปลายทางสามารถติดต่อไปยังโรงพยาบาลต้นทางหรือที่ส่ง เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เดียวกับผู้ป่วยช่วยติดตามผู้ป่วยได้ ในขณะที่ระบบการนัดหมายการตรวจ มีการจัดการตารางนัดหมายเพื่อส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลเครือข่าย โดยสามารถมองเห็นจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถนัดได้ในวันและเวลาที่โรงพยาบาลเครือข่ายสามารถให้บริการได้อย่างเป็นปัจจุบัน และกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตารางนัดหมายที่โรงพยาบาลปลายทาง สามารถแจ้งกลับโรงพยาบาลต้นทาง เพื่อติดต่อประสานงานกับผู้ป่วยล่วงหน้า ทำให้ลดภาระของผู้ป่วยและไม่เสียเวลาในการเดินทางเพื่อมารับบริการ จากระบบฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบและพัฒนาปรับปรุงทำให้ทารกแรกเกิดในโครงการนี้ ได้รับการตรวจวินิจฉัยเฉลี่ยอายุ 4.71 เดือน จากจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่ได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทั้งสิ้น 22,692 ราย และจากจำนวนเด็กที่พบความผิดปกติชนิดการสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสีย (bilateral sensorineural hearing loss) ที่ไม่สามารถรักษาให้การได้ยินดีขึ้นเป็นปกติได้ จำนวน 9 ราย ได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินแล้ว จำนวน 2 ราย 2 รายอยู่ระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนสิทธิเป็นบัตรทองผู้พิการ ท 74 ที่เหลือ 5 รายอยู่ระหว่างคิวนัดประเมินเครื่องช่วยฟัง ดังนั้น หากมีการนำระบบฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยิน ไปใช้ในการบันทึกผลการตรวจคัดกรองการได้ยินในทุกเขตสุขภาพ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันยังไม่มีการบันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองที่มีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่ดี มีเพียงการบันทึกใน google form หรือ google sheet ที่ไม่มีรายละเอียดของการตรวจนอกจากจำนวนเด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองและจำนวนเด็กที่ตรวจคัดกรองได้ผลไม่ผ่านเท่านั้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการได้ยินผิดปกติth_TH
dc.subjectการได้ยินth_TH
dc.subjectHearing Lossth_TH
dc.subjectภาวะการสูญเสียการได้ยินth_TH
dc.subjectRehabilitationth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectความบกพร่องทางการได้ยิน--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectการได้ยิน, การทดสอบth_TH
dc.subjectHearing Teststh_TH
dc.subjectHearing disorders in children--Diagnosisth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยินเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่มในทารกแรกเกิดth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Universal Hearing Screening Databases for Enhancing the Accessibility of Early Diagnosis and Early Intervention in Newbornsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn 2022, Thai government added Newborn hearing screening to the national healthcare benefit package for early detection and rehabilitation in child with congenital hearing problems. Hearing loss has a great impact on a child's and parent’s quality of life if it’s not been detected and rehabilitated since the early years. Currently, the main challenges are the insufficiency of equipment and human resources in every public hospital. The newborns in some hospitals needed to be transferred for hearing screening at the node hospital in the same health district and if the tests were referred then they will be appointed for hearing diagnostic tests in the center hospitals. Missing patients occur along the process due to the variety of the appointment systems for each hospital and the unlink of data between hospitals. Therefore, the efficiency of newborn hearing screening program in Thailand is difficult to evaluate. The UNHS system that has been developed in this project was designed to be the universal platform for hospitals to share the same data set and appointment function made to be the connector between hospitals. The system also can show the status of patients for healthcare providers and users to track the individual’s hearing test process. There are 22,692 newborns registered in this system with the average age for hearing diagnosis at 4.71 months old. There are 9 cases of bilateral sensorineural hearing loss and 2 of them received hearing aids for aural rehabilitation and 2 of them are on process for disabled person ID card registration and the rest are on process for hearing aid fitting. With the proper and user-friendly registration system, the universal newborn hearing screening in Thailand could be more effective and practical especially with the use of online forms, data should be more complete and up to date in the universal system for all hospitals.th_TH
dc.identifier.contactno65-132
dc.subject.keywordฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยินth_TH
.custom.citationพนิดา ธนาวิรัตนานิจ, Panida Thanawirattananit, ขวัญชนก ยิ้มแต้, Kwanchanok Yimtae, นิชธิมา ฉายะโอภาส, Nichtima Chayaopas, พรเทพ เกษมศิริ, Pornthep Kasemsiri, ภาธร ภิรมย์ไชย, Patorn Piromchai, วันดี ไข่มุกด์, Wandee Khaimook, รมิดา ดินดำรงกุล, Ramida Dindamrongkul, สุวิชา แก้วศิริ, Suwicha Kaewsiri, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์, Sanathorn Chowsilpa, วิชัย ฉัตรทินวัฒน์, Wichai Chattinnawat, ชินวัตร อิศราดิสัยกุล, Chinawat Isradisaikul, นันณะภา อาจหาญ, Nunnapa Arthan, อรพิชญ์ อินทรัตน์, Orapit Intarat, วลีรัตน์ ทาทะวงค์ and Waleerat Thathawong. "การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยินเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่มในทารกแรกเกิด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6202">http://hdl.handle.net/11228/6202</a>.
.custom.total_download3
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs3213.pdf
Size: 3.508Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record