แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี พ.ศ. 2566)

dc.contributor.authorฑัณฑริรา พรทวีทัศน์th_TH
dc.contributor.authorThantrira Porntaveetusth_TH
dc.contributor.authorนรินทร์ อินทรักษ์th_TH
dc.contributor.authorNarin Intarakth_TH
dc.contributor.authorธนากร ธีรภานนท์th_TH
dc.contributor.authorThanakorn Theerapanonth_TH
dc.contributor.authorเสริมพร ทวีทรัพย์พิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorSermporn Thaweesapphithakth_TH
dc.contributor.authorทิตยา ไชยบุญญารักษ์th_TH
dc.contributor.authorThitaya Chaiboonyarakth_TH
dc.date.accessioned2024-12-04T08:19:53Z
dc.date.available2024-12-04T08:19:53Z
dc.date.issued2567-11
dc.identifier.otherhs3210
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6204
dc.description.abstractปัญหาทางปากมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (Inborn Error of Immunity, IEI) ซึ่งทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเสื่อมลง โครงการนี้มุ่งเน้นการสำรวจลักษณะในช่องปากและฟัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อันรวมถึงการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรม สมดุลจุลชีพช่องปาก และโปรตีโอมน้ำลายของผู้ป่วย โดยโครงการรวบรวมผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วย IEI 10 ราย ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ 10 ราย และบุคคลที่มีสุขภาพดี 10 ราย ผ่านการวิเคราะห์ต่าง ๆ ทั้งการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมจีโนมิกส์ เมตาจีโนมิกส์ และโปรติโอมิกส์ ตรวจพบตัวแปรพันธุกรรมในยีน เช่น ELANE, STAT3, และ BTK ที่เกี่ยวข้องกับโรค อาทิ severe congenital/cyclic neutropenia, hyper IgE syndrome และ X-linked agammaglobulinemia จากการวิเคราะห์ทางเมตาจีโนมิกส์เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของจุลินทรีย์ในปากของผู้ป่วย XLA โดยมีชนิดจุลินทรีย์ 23 ชนิด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม XLA เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะเดียวกันเชื้อ Granulicatella adiacens ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ทางโปรติโอมิกส์แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของโปรตีน เช่น S100A9, LCP1, และ UBA1 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปริทันต์พร้อมกับการลดลงของโปรตีน LENG9 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อีกทั้ง การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม IEI และกลุ่มควบคุม พบว่ามีโปรตีน 10 ชนิด เช่น S100A9, CAMP, และ DEFA1 ที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วย IEI ในขณะที่ CST1, IGHA1, และ IGHA2 ลดลง จากการวิเคราะห์ทางโลจิสติกรีเกซชันทั้งแบบเดี่ยวและหลายตัวแปร แสดงให้เห็นถึงโรคฟันผุ โรคเหงือก โรคปริทันต์อักเสบ การสะสมหินปูน และแผลเยื่อเมือกช่องปาก ที่เพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วย IEI ในทุก ๆ ปี ที่ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นยังค้นพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคฟันผุในผู้ป่วย IEI ถึง 5 เท่า การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินเพิ่มโอกาสเกิดโรคปริทันต์สูงถึง 27 เท่า และเด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำจะมีการสะสมหินปูนมากกว่าคนทั่วไปถึง 9 เท่า ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโครงการวิจัยนี้เปิดเผยข้อมูลทางสุขภาวะช่องปากและฟัน รหัสพันธุกรรม สมดุลจุลชีพโปรตีโอมน้ำลาย รวมไปถึงปัจจัยการได้รับยา การรักษาภูมิคุ้มกันบำบัด สถานภาพทางครอบครัว และการละเลยทางทันตสาธารณสุข นอกจากโครงการสร้างประโยชน์ด้านการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์แม่นยำแล้ว ยังเน้นถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ และการขาดนโยบายทางทันตสาธารณสุขที่เหมาะสมในการปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม เสริมสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการและป้องกันโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงเหล่านี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอนามัยช่องปากth_TH
dc.subjectOral Healthth_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectPeriodontal Diseasesth_TH
dc.subjectโรคปริทันต์th_TH
dc.subjectGeneth_TH
dc.subjectยีนth_TH
dc.subjectGeneticsth_TH
dc.subjectพันธุกรรมth_TH
dc.subjectพันธุศาสตร์มนุษย์th_TH
dc.subjectฟันผุth_TH
dc.subjectProteometh_TH
dc.subjectทันตสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี พ.ศ. 2566)th_TH
dc.title.alternativeCharacterization of Bacteria and Saliva Proteome Specific to Periodontal Disease in Patients with Rare Genetic Immune Diseases (2023)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeOral problems significantly affect individuals with inborn errors of immunity (IEI), compromising their quality of life. Our study aimed to explore the genetic, microbiological, and proteomic aspects of IEI patients' oral health. We recruited 30 participants, including 10 IEI patients, 10 with periodontitis, and 10 healthy individuals. Through various analyses, we identified genetic variants in genes like ELANE, STAT3, and BTK, associated with conditions such as severe congenital/cyclic neutropenia, hyper IgE syndrome, and X-linked agammaglobulinemia. Metagenomic analysis revealed altered oral microbe composition in XLA patients, with 23 microbial species significantly increased in the XLA group compared to controls, while Granulicatella adiacens was significantly decreased. Proteomic analysis showed upregulated proteins such as S100A9, LCP1, and UBA1 in the periodontitis group, with LENG9 downregulated compared to controls. Furthermore, comparison between IEI and control groups identified 10 proteins, including S100A9, CAMP, and DEFA1, that were upregulated in IEI patients, while CST1, IGHA1, and IGHA2 were downregulated. Univariate and multivariate logistic regression analysis highlighted gingivitis, calculus, caries, and mucosal ulcers as the most common oral findings in IEI patients. Furthermore, antibiotics were found to elevate the risk of caries by 5 times, daily Granulocyte-Colony Stimulating Factor increased periodontal destruction by 27 times, and lowincome children showed a 9-fold increase in calculus accumulation. This project highlights the intricate relationship between genetics, the oral microbiome, and proteomics in IEI and periodontitis patients, aiding diagnosis and treatment. It underscores the need for greater awareness of dental healthcare among these patients and the lack of tailored national policies. Thus, we propose implementing policies to improve access to dental services, enhance awareness, and support effective management and prevention of oral diseases in these high-risk groups.th_TH
dc.identifier.contactno66-101
dc.subject.keywordพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายากth_TH
dc.subject.keywordInborn Error of Immunityth_TH
dc.subject.keywordการแพทย์แม่นยำth_TH
dc.subject.keywordการรักษาอย่างแม่นยำth_TH
dc.subject.keywordการรักษาแบบแม่นยำth_TH
dc.subject.keywordIEIth_TH
.custom.citationฑัณฑริรา พรทวีทัศน์, Thantrira Porntaveetus, นรินทร์ อินทรักษ์, Narin Intarak, ธนากร ธีรภานนท์, Thanakorn Theerapanon, เสริมพร ทวีทรัพย์พิทักษ์, Sermporn Thaweesapphithak, ทิตยา ไชยบุญญารักษ์ and Thitaya Chaiboonyarak. "การศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี พ.ศ. 2566)." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6204">http://hdl.handle.net/11228/6204</a>.
.custom.total_download3
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3210.pdf
ขนาด: 4.141Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย