dc.contributor.author | ชลิยา วามะลุน | th_TH |
dc.contributor.author | Chaliya Wamaloon | th_TH |
dc.contributor.author | โสภิต ทับทิมหิน | th_TH |
dc.contributor.author | Sopit Tubtimhin | th_TH |
dc.contributor.author | พงศธร ศุภอรรถกร | th_TH |
dc.contributor.author | Pongsatorn Supaattagorn | th_TH |
dc.contributor.author | บุญหยาด หมั่นอุตส่าห์ | th_TH |
dc.contributor.author | Boonyard Munaudsa | th_TH |
dc.contributor.author | ทิพาพร บุญมานะ | th_TH |
dc.contributor.author | Thiphaphorn Boonmana | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-03T04:56:46Z | |
dc.date.available | 2025-01-03T04:56:46Z | |
dc.date.issued | 2567-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 18,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2567) : 545-566 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6216 | |
dc.description.abstract | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ดำเนินการระหว่าง กุมภาพันธ์ 2565-ธันวาคม 2566 ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะแรกเป็นขั้นตอนการศึกษาสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 7 คน นักเทคนิคการแพทย์ 2 คน และผู้ป่วยมะเร็ง 17 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แพทย์ 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 31 คน และประเมินผลการให้คำปรึกษาฯ ในผู้มารับบริการให้คำปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 88 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 44 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งหรือประชากรที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ (hereditary breast and ovarian cancer syndrome: HBOC) สูง ที่มารับบริการ ณ คลินิกให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวน 44 คน ซึ่งได้รับการให้คำปรึกษาและรักษาพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ ทัศนคติและทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินความวิตกกังวลและความซึมเศร้า และแบบประเมินความกังวลโรคมะเร็งในผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แก่นสาระ และการใช้สถิติทดสอบที ผลการศึกษาสถานการณ์พบว่าการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งยังมีความไม่ชัดเจน บุคลากรทางการแพทย์มีความพร่องในองค์ความรู้ รวมถึงมีความพร่องในสมรรถนะเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ผลการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากรและด้านระบบบริการ สำหรับการประเมินผลการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง พบว่า ความรู้ ทัศนคติและทักษะพยาบาลหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจของบุคลากรในการให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้และทัศนคติในผู้รับบริการหลังให้คำปรึกษาฯ เพิ่มขึ้น และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับความวิตกกังวลและซึมเศร้า วัดด้วย Thai hospital anxiety and depression scale (Thai-HAD) ระดับความกังวลต่อโรคมะเร็งลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบการให้คําปรึกษาฯ ที่พัฒนาขึ้น และตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความพึงพอใจในการรับบริการของผู้มารับคำปรึกษาฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง เป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือครอบครัวมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค สาเหตุและแนวทางการรักษาและการป้องกัน มีทางเลือกในการจัดการกับความเสี่ยงที่เป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด รวมทั้งการปรับตัวของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวให้เข้ากับโรคที่เป็นด้วย ดังนั้น จึงควรนำการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการให้บริการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งแก่หน่วยบริการสุขภาพด้านโรคมะเร็งต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | มะเร็งเต้านม | th_TH |
dc.subject | Breast Cancer | th_TH |
dc.subject | Genetic Counseling | th_TH |
dc.subject | Genetics, Medical | th_TH |
dc.subject | Human Genetics | th_TH |
dc.subject | Medical Genetics | th_TH |
dc.subject | พันธุศาสตร์ | th_TH |
dc.title | สถานการณ์และการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี | th_TH |
dc.title.alternative | Situation and Development of Genetic Counseling for Breast Cancer at Ubonratchathani Cancer Hospital | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research and development aimed to describe the situation, develop and evaluate a cancer
genetic counseling model at Ubonratchathani Cancer Hospital, Thailand. This study was conducted
between February 2022 to December 2023. The research comprised two phases. Phase 1 studied the
situation. The sample consisted of 2 physicians, 7 registered nurses, 2 medical technologists and
17 cancer patients by using questionnaires and semi-structured interviews. Phase 2 was developing a model, conducting an implementation and evaluating the cancer genetic counseling
model. The sample consisted of 5 physicians and 31 registered nurses. In addition, 88 counseling
service recipients selected by a simple random quota sampling method who met the inclusion
criteria also evaluated the counseling model. Divided into an experimental group of 44 people who
were at high risk for hereditary breast and ovarian cancer syndrome (HBOC) received an individual
cancer genetic counseling program in Ubonratchathani Cancer Hospital. Comparison or control group
was 44 people who received treatment as usual. Data were collected using knowledge, attitude,
skills assessment form, satisfaction assessment form, Thai hospital anxiety and depression scale (ThaiHAD), and the cancer worry scale. The gathered data were analyzed using descriptive statistics,
content analysis, thematic analysis, and t-test statistics.
The study revealed that existing cancer genetic counseling service was unclear. Medical personnel
had insufficient knowledge and competence about the cancer genetic counseling. In terms of model
development results, three main operational components were the structure, staff and system. The
nurses’ knowledge, attitude, and skills after the training for setting up the counseling service increased
significantly (p-value < 0.05). Satisfaction with the overall service was at the highest level. The knowledge
and attitude of the service recipients after the consultation increased and were higher than the control
group (p-value < 0.05). As for the Thai-HAD, the level of cancer worry of clients after the model set up was lower than before and was significantly lower than the control group (p-value < 0.05). Overall, the
satisfaction of receiving the counseling service was at the highest level.
In conclusion, genetic counseling was a communication process that helped patients or families
understand the disease, its causes, treatment, and prevention methods, as well as making the most
possible and appropriate risk management options. It also helped the patients and family members to
accommodate the disease. Therefore, this cancer genetic counseling model should be applied to be the
standard of cancer genetic counseling service for the cancer health service unit. | th_TH |
dc.subject.keyword | การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ | th_TH |
.custom.citation | ชลิยา วามะลุน, Chaliya Wamaloon, โสภิต ทับทิมหิน, Sopit Tubtimhin, พงศธร ศุภอรรถกร, Pongsatorn Supaattagorn, บุญหยาด หมั่นอุตส่าห์, Boonyard Munaudsa, ทิพาพร บุญมานะ and Thiphaphorn Boonmana. "สถานการณ์และการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6216">http://hdl.handle.net/11228/6216</a>. | |
.custom.total_download | 17 | |
.custom.downloaded_today | 3 | |
.custom.downloaded_this_month | 17 | |
.custom.downloaded_this_year | 17 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 17 | |