บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยใช้รูปแบบความสอดคล้องคู่ขนาน (convergent parallel design) วัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลการจัดระบบบริการสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง ระดับปฐมภูมิ ภายหลังถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานไปพร้อมกัน ระหว่าง เดือนมีนาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยการลงพื้นที่ภาคสนามในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) และสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 9 จังหวัดของเขตสุขภาพที่ 2 เขตสุขภาพที่ 3 เขตสุขภาพที่ 4 เขตสุขภาพที่ 5 เขตสุขภาพที่ 6 และเขตสุขภาพที่ 12 กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงที่ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนน และผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง จำนวน 576 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารในระดับนโยบาย ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และผู้จัดการในการดูแลผู้สูงอายุ (Care manger) โดยกำหนดสัดส่วนตามโควตา (Quota sampling) จำนวน 153 คน เก็บได้จริง 125 คน เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ร้อยละ 5.2 เครื่องมือในการวิจัย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นในการจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงของผู้บริหารและบุคลากรสาธารณสุข โดยตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยทดลองใช้กับบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ รพ.สต ถ่ายโอนปี พ.ศ. 2567 จำนวน 30 ราย และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า ได้ค่าความเที่ยง = .951 2) แบบสอบถามความพึงพอใจการบริการสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง และผู้ดูแลในครอบครัว โดยตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยนำไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงและผู้ดูแล ในพื้นที่ รพ.สต ถ่ายโอนปี พ.ศ. 2567 จำนวน 30 ราย และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า ได้ค่าความเที่ยง = .957 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง เป็นเครื่องมือขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Thai Brief Thai จำนวน 26 ข้อ) ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มบุคลากรสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุของ รพ.สต. ทั้งที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. จำนวน 12 แห่ง แห่งละ 12 คน รวม 124 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงที่มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) น้อยกว่า หรือเท่ากับ 11 คะแนน กำหนดโควตาตำบลละ 2 คน จำนวน 36 แห่ง รวม 72 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ดูแลในครอบครัว กำหนดโควตาตำบลละ 2 คน จำนวน 36 แห่ง รวม 72 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงและผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 288 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงและผู้ดูแล และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระหว่าง รพ.สต. ที่ถ่ายโอนและยังไม่ถ่ายโอนไป อบจ. โดยใช้สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อหาประเด็นสำคัญ (thematic analysis) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุข และผู้จัดการในการดูแลผู้สูงอายุต่อการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง พบว่า กลุ่มจังหวัดที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. 100% กลุ่มถ่ายโอน 50-99% และกลุ่มถ่ายโอนน้อยกว่า 50% มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.90, 4.15, 4.10; SD = .67, .66, .56 ตามลำดับ) ทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ ในระดับมาก (Mean = 4.20, 4.40; 4.39; SD = .64, .50, .43 ตามลำดับ) โดยสูงสุดในรายด้านความรู้สึกมีคุณค่าที่ได้ทำงานในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง (Mean = 4.41, 4.59, 4.60; SD = .73, .70, .53 ตามลำดับ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ในการจัดระบบการเงินการคลังและการแบ่งปันทรัพยากรของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง กลุ่มถ่ายโอน 100% มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.21, SD = .95) กลุ่มถ่ายโอน 50-99% และถ่ายโอนน้อยกว่า 50% ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.66, 3.61; SD = .81, .79 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง พบว่า ความคิดเห็นในภาพรวม ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสารด้านสุขภาพ และด้านการจัดระบบการเงินการคลังและการแบ่งปันทรัพยากร พบว่า กลุ่มถ่ายโอน <50% มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มถ่ายโอน 100% และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มถ่ายโอน 50-99% ค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มถ่ายโอน 100% และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีการแพทย์ที่จำเป็น และการจัดระบบบริการสุขภาพ พบว่า กลุ่มถ่ายโอน 50-99% มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มถ่ายโอน 100% และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ระหว่างกลุ่มถ่ายโอน <50% และกลุ่มถ่ายโอน 50-99% รวมทั้ง ระหว่างกลุ่มถ่ายโอน <50% และกลุ่มถ่ายโอน 100% มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจของผู้ดูแลในครอบครัวและผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง พบว่า ในกลุ่ม รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนไปยัง อบจ. พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.19, SD = .86; Mean = 4.20, SD = .89 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ดูแลในครอบครัวและผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงระหว่าง รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวม และความพอใจกับสุขภาพโดยรวม ในกลุ่ม รพ.สต. ถ่ายโอนไปยัง อบจ. และไม่ถ่ายโอน อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.26, 3.03; SD = .79, .84; Mean = 3.44, 3.11; SD = .86, 1.04 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิงระหว่าง รพ.สต. โอน และกลุ่ม รพ.สต. ที่ยังไม่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในคุณภาพชีวิตโดยรวม และความพอใจกับสุขภาพโดยรวม แต่รายด้าน แต่มีความแตกต่างกัน ด้านความจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลเพื่อที่จะทำงานหรือมีชีวิตอยู่ไปได้ในแต่ละวัน และ การมีสมาธิในการทำงาน ซึ่งผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง กลุ่ม รพ.สต. ถ่ายโอนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 2.25, 2.38; p =.03, .02 ตามลำดับ) ในขณะที่ความพอใจกับการช่วยเหลือที่เคยได้รับจากเพื่อน พบว่า กลุ่ม รพ.สต. ถ่ายโอนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.34, p = .02) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการจัดระบบบริการสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงและพึ่งพิง ระดับปฐมภูมิ ภายหลังถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. พบว่า 1) ด้านกำลังคนด้านสุขภาพ (Health workforce) ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงระบบ แต่บทบาทและการทำหน้าที่ยังเหมือนเดิม ถ่ายโอนไปเฉพาะระบบแต่คนไม่ได้ถ่ายโอนตาม บทบาทสาธารณสุขอำเภอที่เป็นฟันเฟืองระดับอำเภอขาดหายไป และภาระงานของบุคลากรล้นมือ 2) ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health information system) ขาดระบบการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน 3) การเข้าถึงยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็น (Access to essential medicines and health technology) ผู้สูงอายุมีความยากลำบากในการไปรับบริการ ต้องหาข้อตกลงร่วมกันในการจัดสรรการซื้อยาและเวชภัณฑ์ 4) การจัดการระบบการเงินการคลังและการแบ่งปันทรัพยากร (Financing system) หาข้อตกลงร่วมกันในการแบ่งปันทรัพยากร การดำเนินงานต่าง ๆ อิงตามระเบียบและกฎหมายในการบริหารจัดการงบประมาณ 5) ภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ (Leadership and governance) การสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน สานต่อสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเพื่อร่วมกันทำงานเหมือนเดิม 6. ระบบสุขภาพชุมชน (Community health system) มีต้นทุนเดิมที่เป็นเป้าหมายเดียวกันในการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงและพึ่งพิง 7) การจัดระบบบริการผู้สูงอายุ (Service delivery) พบว่า มีอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าถึงระบบบริการ Long term care ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นซึ่งขาดบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) รวมถึงระบบ Long term care ที่มีรอยต่อที่ต้องรอเวลาในการคัดกรองตามวงรอบเพื่อขึ้นทะเบียนในระบบ Long term care และสัดส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้สูงอายุติดเตียงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละพื้นที่
บทคัดย่อ
This mixed- methods study with a convergent parallel design examined the
primary healthcare service system for bedridden and dependent older adults after
transferring sub-district health-promoting hospitals (HPHs) to Provincial Administrative
Organizations ( PAOs) . A mixed- method approach was deployed in parallel with
quantitative and qualitative methods running from March to December 2024 to collect
data. Data were collected quantitatively through field surveys and qualitatively through
in-depth interviews and focus group discussions. The data were collected across nine
provinces in Health Regions 2, 3, 4, 5, 6, and 12.
The quantitative sample included bedridden and dependent older adults based
on the Activities of Daily Living (ADL) score of ≤11 and their family caregivers. A total of
576 participants were included in the sample. Using quota sampling, 125 policy-level
administrators and care managers were recruited from the 153 who were expected to
participate, and after the removal of those with incomplete data (5.2% attrition), they
were eligible.
We used the following study instruments: 1) A questionnaire to evaluate views
and standards of the older adults care system from administrators and health care staff,
with a content validity index of 5 experts and a level of reliability Cronbach's alpha
coefficient was 0.95. 2) It is a satisfaction survey of bedridden and dependent older adults
and their caregivers, validated by experts with a reliability coefficient of 0.95. 3) WHOQOLBREF: a quality-of-life assessment tool for older adult individuals (Thai version).
To collect qualitative data, 4 focus group discussions with healthcare personnel
and caregivers from 12 HPHs (transferred and non-transferred) with 12 participants (total
n=124) were initiated. Bed-ridden and dependent older adult persons (n=72) and family
caregivers (n=72) in 36 sub-districts (2 participants per sub-district) were recruited for indepth interviews. Descriptive statistics, paired t-tests, and comparative satisfaction and
quality-of-life outcomes analyses were performed for transferred and non-transferred
HPHs. The qualitative data were analyzed thematically to extract key findings.
Results: The Older adults Care System was rated as good by the administrator
and health personnel in groups with different sequences of HPH transfer (averaged 3.90,4.15, and 4.10; SD = 0.67, 0.66, 0.56, respectively). The final area rated the highest was
leadership and governance (mean scores of 4.20, 4.40, and 4.39; SD = 0.64, 0.50, 0.43,
respectively) in terms of its value (mean scores of 4.41, 4.59, and 4.60; SD = 0.73, 0.70,
0.53, respectively) per perceptions in older adults care work. Financial (mean = 1.00, SD
= 0.00) and resource-sharing (mean = 3.21, SD = 0.95) systems were rated the lowest,
with moderate levels reported in the 100% transfer group. Most notably, health
information and financial/resource-sharing systems < 50 transfer scored higher than the
100% transfer group (p < 0.05).
Older adults satisfaction was high for both transferred and non-transferred HPHs
(mean = 4.19, SD = 0.86; mean = 4.20, SD = 0.89). No other significant differences
between the groups. Quality-of-life scores were overall medium, with transferred HPHs
slightly high for daily healthcare needs and focus during activities (p < 0.05). In contrast,
supportive tactics from friends also scored lower in transferred HPHs (p = 0.02).
Qualitative Findings: Thematic analysis identified seven critical areas impacting
the older adults care system:
1) Health Workforce: Standing roles concerning personnel remained constant but
led to gaps in resource allocation and workload imbalance.
2) Health Information Systems: The absence of consolidated databases made it
difficult to coordinate services.
3) Access to Medicines and Technology — Resources and coverage Inaccessibility
necessitated allocation decisions.
4) Financial Systems: The mechanisms for sharing resources were limited by
administrative regulations.
5) Leadership and Governance Efforts toward morale-building and maintaining
cooperative relationships.
6) Community Health Systems: Current community resources facilitate continuity
of care for older adults.
7) Service Delivery: Barriers included a lack of care managers, delay in long-term
care (LTC) registration, and mismatched caregiver-to-patient ratios.