Show simple item record

A Developmental Evaluation to Improve Access and Quality of Intermediate Care under the Primary Care Reform in Bangkok

dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorVijj Kasemsupth_TH
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายth_TH
dc.contributor.authorPhusit Prakongsaith_TH
dc.contributor.authorปวินท์ ศรีวิเชียรth_TH
dc.contributor.authorPawin Sriwichianth_TH
dc.contributor.authorธนพร จันทโรหิตth_TH
dc.contributor.authorTanaporn Chandharohitth_TH
dc.contributor.authorมธุริน จันทร์ทองศรีth_TH
dc.contributor.authorMaturin Juntongsreeth_TH
dc.date.accessioned2025-03-28T06:20:08Z
dc.date.available2025-03-28T06:20:08Z
dc.date.issued2568-02
dc.identifier.otherhs3251
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6249
dc.description.abstractการดูแลระยะกลาง หรือ intermediate care (IMC) คือการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะเฉียบพลัน (acute phase) และมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความบกพร่องทางร่างกายบางส่วนที่จำกัดการทำกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมในสังคม เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการการฟื้นฟูสภาพร่างกายเพิ่มเติมหลังจากออกจากโรงพยาบาล งานวิจัยนี้มุ่งเป้าที่จะพัฒนาบริการ IMC ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลาง (Bangkok Health Zone 5) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปบริการปฐมภูมิของกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งส่งเสริมให้มีการให้บริการระยะกลางที่บ้าน (IMC home rehabilitation) เพราะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้ารับบริการทั้งแบบ IMC ward และ IMC OPD ได้ โดยมีงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 450 บาท/ครั้ง เป็นเวลา 20 ครั้ง พร้อมมีนโยบายอุดหนุนค่าเดินทางอีก 200 บาทต่อครั้ง 20 ครั้ง โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้คลินิกกายภาพบำบัดเอกชนเข้าร่วมให้บริการเพื่อแบ่งเบาภาระงานของภาครัฐ การศึกษานี้เก็บข้อมูลการรับบริการ IMC รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง IMC ward, IMC OPD, IMC home rehabilitation และผู้ป่วยทำกายภาพเองที่บ้าน (self-home-based rehabilitation) จำนวนกว่าร้อยคน เพื่อผลลัพธ์ทั้งด้านการฟื้นตัวด้วย barthel index (BI) คุณภาพชีวิต ด้วยแบบสอบถาม EQ5D5L และแบบสอบถาม WHO5 เพื่อดูสุขภาวะที่อาจจะเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า พบว่าทุกกลุ่มมีพัฒนาการของ BI, EQ5D5L, และ WHO5 ในเชิงบวกและมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ามีการเบิกงบประมาณในด้าน IMC home rehabilitation ไม่มากในเขต Bangkok Hospital Zone 5 อาจจะเป็นข้อจำกัดเพราะค่าใช้จ่ายที่เบิกได้จาก สปสช. ต่ำกว่าราคาตลาดที่มากกว่า 1,000 บาท พอสมควร แต่พบว่ามีคลินิกกายภาพที่มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนจากการมีเครือข่ายกับบริการตติยภูมิ 2 โรงพยาบาล ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพียงพอที่จะจัดบริการให้กับผู้ป่วย IMC home rehabilitation ด้วยอัตราที่ สปสช.กำหนดให้ และพบว่าผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคมไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการทำ IMC home rehabilitation เช่นกัน จึงนำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. เสนอให้เพิ่มบริการ IMC home rehabilitation เข้าไปไว้ในชุดสิทธิประโยชน์สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคม 2. ให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบบูรณาการ ส่งผู้ป่วยที่ต้องการใช้บริการ IMC home rehabilitation ระหว่างโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และทุติยภูมิ รวมถึงเครือข่ายปฐมภูมิ 3. เพิ่มอัตราค่าบริการ IMC home rehabilitation มากกว่า 800 บาทต่อครั้ง 4. ควรมีการจ้างนักกายภาพบำบัดอิสระเพื่อเสริมบริการ IMC home rehabilitation ให้กับผู้ป่วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectStroke--Rehabilitationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการประเมินเชิงพัฒนาการเข้าถึงและคุณภาพบริการดูแลระยะกลาง การปฏิรูประบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeA Developmental Evaluation to Improve Access and Quality of Intermediate Care under the Primary Care Reform in Bangkokth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntermediate care (IMC) is a type of subacute care that intends to provide intensive rehabilitation for post-stroke patients who need this care to prevent complication and disabilities. This research intended to develop the IMC system for stroke patients in Bangkok Zone 5 in accordance with the primary care reform policy of the Bangkok Metropolitan Administration. IMC home rehabilitation is an IMC care to post-stroke patients during the 6 months golden period that National Health Security Office (NHSO), Thailand, has enpanded their benefit beyond IMC ward and IMC OPD. The expansion to cover IMC home rehabilitation also come with a fee schedule remuneration of 450 baht/session for 20 sessions and additional 200 baht/session for 20 sessions for transportation to patient’s home. However IMC home rehabilitation haven’t been covered by both the Civil Servants Medical Benefits Scheme (CSMBS) and the Social Security Scheme (SSS). This study collected data on the Bathel Index (BI), EQ_5D_5L, and WHO5 to compare the physical capability, quality of life and well-being of four difference ( different) types of services, including IMC ward, IMC OPD, IMC home rehabilitation, and a self-home-based rehabilitation. The result showed that there is no significant difference among scores of the BI, EQ5D5L, and WHO5 of the four groups of services. Moreover, there had been progressions in all groups after 3-6 months follow-up. As reimbursement for IMC home rehabilitation from NHSO is much lower than the rate of private physiotherapist session of 1,000 baht. In this study, there is only one private clinic, Kanok clinic, that accepted to provide IMC home rehabilitation to patients as the Kanok clinic could control the cost of providing IMC home rehabilitation. This was because the Kanok clinic recieved enough cases sent from two major tertiary care hospitals (three hundred of patients). Policy recommendations are as follow: 1) two major public health insurances, the Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) and the Social Security Scheme (SSS), should cover the benefit of the IMC home rehabilitation; 2) Strengthen the collaboration among tertiary, secondary, and primary care to facilitate the flow of patients from tertiary care hospitals to primary care; 3) Raise reimbursement of IMC home rehabilitation to be more than 800 baht/session; 4) Design new option to hire self-employed physical therapist to increase opportunity to receive IMC home rehabilitation for patient.th_TH
dc.identifier.contactno67-028
dc.subject.keywordการดูแลระยะกลางth_TH
dc.subject.keywordIntermediate Careth_TH
dc.subject.keywordIMCth_TH
.custom.citationวิชช์ เกษมทรัพย์, Vijj Kasemsup, ภูษิต ประคองสาย, Phusit Prakongsai, ปวินท์ ศรีวิเชียร, Pawin Sriwichian, ธนพร จันทโรหิต, Tanaporn Chandharohit, มธุริน จันทร์ทองศรี and Maturin Juntongsree. "การประเมินเชิงพัฒนาการเข้าถึงและคุณภาพบริการดูแลระยะกลาง การปฏิรูประบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6249">http://hdl.handle.net/11228/6249</a>.
.custom.total_download9
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Thumbnail
Name: hs3251.pdf
Size: 2.885Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record