บทคัดย่อ
ดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงสถานะทางสุขภาพและโภชนาการ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของเด็กไทยอายุ 6-18 ปี โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่องการติดตามการตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเด็กอายุ 6-18 ปี ในประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลจากเด็กไทยโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสองขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แอปพลิเคชันชื่อ Qualtrics Offline Survey ด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงลำดับ (ordinal logistic regression) เพื่อระบุปัจจัยหรือตัวแปรอิสระ คือ ลักษณะทางสังคมประชากรของเด็ก ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิภาคที่อยู่อาศัย เขตที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกเด็กในครัวเรือน เงินค่าขนมและเครื่องดื่มต่อวัน และดัชนีมวลกาย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมสูง ซึ่งจำแนกออกเป็น 8 ประเภท (ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่มที่มีรสหวาน, อาหารกึ่งสำเร็จรูป, ขนมหวานและไอศกรีม, ขนมอบ/เบเกอรี่, นมช็อกโกแลต โยเกิร์ต, อาหารจานด่วน/อาหารแช่แข็ง และลูกอมและหมากฝรั่ง) ที่สัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย จากผลการศึกษา พบว่า เพศชาย อายุ 10-18 ปี ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา เงินค่าขนมและเครื่องดื่มต่อวันมากกว่า 50 บาทขึ้นไป และการบริโภคขนมหวานและไอศกรีมมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ซึ่งควรได้รับการพิจารณาในการกำหนดนโยบาย เพื่อลดดัชนีมวลกายของเด็กไทย เช่น การยกระดับมาตรการควบคุมการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพในโรงเรียนให้เป็นกฎหมาย
บทคัดย่อ
Body mass index (BMI) is a critical indicator that reflects health and nutritional status and was
influenced by many factors. The objective of this study was to examine the factors associated with BMI
among Thai children aged 6–18 years. The data were obtained from the research project “Monitoring on
Food and Beverage Marketing to Children in Thailand” which employed a stratified two-stage sampling
method to select Thai children aged 6–18 years. Data collection was conducted through face-to-face
interviews using the Qualtrics Offline Survey application. Ordinal logistic regression was applied to
identify significant independent variables associated with overweight and obesity. The independent
variables were socio-demographic characteristics of children that consisted of sex, age, education level,
region, place of residence, number of children and daily pocket money for snacks and beverages, and
BMI and their consumption of high fat, sodium, and sugar (HFSS) foods and beverages (categorized into
8 groups: snacks, beverages, semi-processed foods, desserts and ice-cream, bakeries, chocolate milk
and yogurt, main dish, candies and gums). The results found that male, aged 10-18 years, secondary
education level, daily pocket money of higher than 50 Thai Baht (THB), and consumption of sweets and
ice cream were significantly associated with BMI. These results emphasize the importance of considering
these factors in policy formulation and implementation to reduce BMI among Thai children. For instance,
school code of controlling sales of unhealthy foods and beverages should be escalated into the law.