dc.contributor.author | มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Mantana Vongsirinavarat | th_TH |
dc.contributor.author | ระพีพัฒน์ จิตมาลย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeepat Jitmal | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-06-30T08:00:45Z | |
dc.date.available | 2025-06-30T08:00:45Z | |
dc.date.issued | 2568-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 19,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2568) : 147-161 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6278 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุไทยเคยหกล้ม ส่งผลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การรักษาที่ให้แก่ผู้สูงอายุหลังล้มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการลดปัญหานี้ ดังนั้นรายงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษานำร่อง การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางคลินิกและความเป็นไปได้ในการพัฒนาการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ โดยศูนย์กายภาพบำบัดและคลินิกกายภาพบำบัด ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รูปแบบการศึกษาเป็นวิธีวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของผลลัพธ์ทางคลินิกจากโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ โดยสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ปีงบประมาณ 2567 และการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการ 313 คน (กลุ่มเสี่ยงล้มต่ำ 266 คน และเสี่ยงล้มสูง 47 คน) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพของรยางค์ขา กำลังกล้ามเนื้อของแขนและขา รวมทั้งเพิ่มระดับการรู้คิด และลดความกลัวการล้มของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงล้มต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มเสี่ยงล้มสูงนั้น ภายหลังการฝึก ทำให้ผู้สูงอายุมีการเพิ่มสมรรถภาพของรยางค์ขา กำลังกล้ามเนื้อขา และลดความกลัวการล้มได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มเติมจากนี้ในด้านการจัดบริการหน่วยบริการกายภาพบำบัด พบว่า มีความพร้อมในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ แต่ยังต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะ การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุโดยหน่วยงานกายภาพบำบัด สามารถช่วยให้ประชาชนมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม นักกายภาพบำบัดและหน่วยงานมีความพร้อม แต่เพื่อให้เกิดการบริการได้อย่างยั่งยืน ยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานในภาครัฐในแง่การเข้าถึงข้อมูลและการส่งเสริมการเข้าถึงบริการของประชาชนให้มากขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Falls (Accidents)--Prevention | th_TH |
dc.subject | การหกล้มในผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุ--ในผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | การล้ม (อุบัติเหตุ)--ในวัยชรา | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุ--ในวัยชรา | th_TH |
dc.subject | Accidental Falls--in Old Age | th_TH |
dc.subject | กายภาพบำบัด | th_TH |
dc.subject | Physical Therapy | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลและความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness and Feasibility Study of Movement Health Promotion and Fall Prevention Program in Elderly in Bangkok Area | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Currently, Thailand has more than 20% of its population aged 60 years and above. One in three
elderly people in Thailand experiences falls, leading to physical and psychological consequences. The
treatment after falls incurs considerable economic losses for the country. Therefore, fall prevention in
the elderly is an important strategy for addressing this issue. This pilot study aimed to analyze the
clinical outcomes and feasibility of health promotion services focusing on mobility and fall prevention
for the elderly, operated by the physical therapy centers or clinics in Bangkok area. The study used a
mixed method, combining quantitative and qualitative approaches. Secondary data on clinical outcomes
from the health promotion project on fall prevention for the elderly, by the Physical Therapy Association
of Thailand in the fiscal year 2024, and in-depth interviews with relevant stakeholders, were used. The
data from 313 participants (266 low-fall risk and 47 high-fall risk) were analyzed. The results showed
significant improvements in lower limb performance, arm strength, leg strength, as well as an increase
in cognitive ability and a reduction in fear of falling in low-fall risk group. For the high-fall risk group,
there were significant improvements in lower limb performance, leg strength, and a reduction in fear of
falling. Additionally, the physical therapy service units were ready to provide fall prevention and health
promotion services for the elderly, but involvement from government agencies or health policy-related
entities was needed. The suggestions were that physical therapy health promotion services can help the
elderly to improve physical performance and reduce the risk of falls. While physical therapists and
clinics were ready for sustainable service delivery, greater involvement from government agencies in
terms of data sharing and service accessibility of clients was essential. | th_TH |
.custom.citation | มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์, Mantana Vongsirinavarat, ระพีพัฒน์ จิตมาลย์ and Rapeepat Jitmal. "ประสิทธิผลและความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6278">http://hdl.handle.net/11228/6278</a>. | |
.custom.total_download | 14 | |
.custom.downloaded_today | 5 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 14 | |