บทคัดย่อ
การประเมินสถานการณ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศยังไม่เคยถูกรายงาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564–2567 และใช้สถิติเชิงพรรณนา แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล 2) การดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามแนวทางของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (แนวทาง PLEASE: pharmacy and therapeutic committee, labeling, essential tools, awareness, special populations, ethics in prescription) และ 3) คำถามปลายเปิดเฉพาะปี พ.ศ. 2567 ขอความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลเอกชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้นทุกปีจากร้อยละ 27.8 เป็น 38.1, 39.1 และ 49.3 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนตามแนวทางของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (แนวทาง PLEASE) ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 65.7, 68.8, 71.6 และ 74.2 ตามลำดับ หัวข้อที่โรงพยาบาลสามารถดำเนินการได้มากที่สุด คือ การจัดทำฉลากยา ฉลากยาเสริมและข้อมูลยาสู่ประชาชน (ร้อยละ 83.0-93.7) ทั้งนี้อาจเนื่องจากการจัดทำฉลากยาถูกบังคับด้วยกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ในขณะที่การจัดทำหรือจัดหาเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 57.9-68.4) และการสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 65.1-70.2) เป็นสองหัวข้อที่โรงพยาบาลเอกชนดำเนินงานได้น้อยที่สุด ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ นโยบาย บทบาทและการสนับสนุนของผู้บริหารโรงพยาบาล เทคโนโลยีที่สนับสนุนงานบริการในโรงพยาบาล ทัศนคติของผู้รับบริการ ตลอดจนนโยบายและการควบคุมกำกับจากหน่วยงานส่วนกลางเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เพื่อยกระดับโรงพยาบาลเอกชนให้มีมาตรฐานด้านระบบยา ส่งผลให้ประชาชนผู้รับบริการมีความปลอดภัยจากการใช้ยาและลดค่าใช้จ่ายด้านยาโดยไม่จำเป็น
บทคัดย่อ
The assessment of the rational drug use (RDU) in private hospitals throughout Thailand has never been reported. Therefore, this research aimed to study the situation of rational drug use in private
hospitals and analyze the factors affecting its implementation. Data from the 2021 to 2024 questionnaire
surveys were analyzed. The questionnaire contained 3 parts: 1) general information of the hospital,
2) the rational drug use implementation according to the PLEASE (pharmacy and therapeutic committee,
labeling, essential tools, awareness, special populations, ethics in prescription) guidelines, and 3) open-ended
questions (only in 2024) asking for opinions on factors affecting the rational drug use implementation in
private hospitals. More and more private hospitals voluntarily returned the questionnaires from 27.8%
to 38.1%, 39.1%, and 49.3% consecutively. In addition, the average PLEASE scores also became higher
from 65.7% to 68.8%, 71.6%, and 74.2% on RDU implementation. Drug labeling, including extended
content labels, and patient information leaflets achieved the highest score (83.0-93.7%), because of
the 2022 drug labeling circular. On the other hand, the provision of the essential tools to facilitate
rational drug prescribing (57.9-68.4 %) and the RDU awareness creation to medical personnel and
patients (65.1-70.2%) were the two least achieved topics. Cooperation and teamwork of medical
personnel, policies, roles and support of hospital administrators, information technology supporting
hospital services, attitudes of patients, and policies and supervision from regulatory agencies were
revealed as important factors affecting the RDU implementation in private hospitals. These findings
can be used for upscaling the nationwide private hospital RDU to have drug system standards, patient
safety and reduce unnecessary drug costs.