แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือโรคระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

dc.contributor.authorกุลวดี อภิชาติบุตรth_TH
dc.contributor.authorKulwadee Abhicharttibutrath_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำth_TH
dc.contributor.authorOrn-Anong Wichaikhumth_TH
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorApiradee Nantsupawatth_TH
dc.contributor.authorเกศราภรณ์ อุดกันทาth_TH
dc.contributor.authorKedsaraporn Udkuntath_TH
dc.date.accessioned2025-06-30T08:53:13Z
dc.date.available2025-06-30T08:53:13Z
dc.date.issued2568-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 19,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2568) : 162-179th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6281
dc.description.abstractการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อการบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารกำลังคน และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคน ของหน่วยบริการปฐมภูมิที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อรับมือกับโรคระบาดใหญ่ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขรวม 64 คน และรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากประชาชนผู้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 410 คน โดยใช้แบบสอบถามด้านข้อมูลส่วนบุคคลและด้านความพึงพอใจในการรับบริการระหว่างการระบาดใหญ่ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการศึกษา ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับผู้อำนวยการกองสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ 1) กำหนดให้มีกำลังคนด้านสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญด้านการระบาดและมีปริมาณเพียงพอ เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ 2) กำหนดบทบาทหน้าที่กำลังคนด้านสุขภาพเมื่อมีการระบาดใหญ่อย่างชัดเจน 3) พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการระบาดแก่กำลังคนด้านสุขภาพในกองสาธารณสุขและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งอย่างทั่วถึง 4) สนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะห้องแยกโรค ยาและเวชภัณฑ์ 5) จัดระบบการดูแลและจัดสวัสดิการแก่กำลังคนด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่ และ 6) กำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกำลังคนด้านสุขภาพในระหว่างการระบาดใหญ่ และข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ 1) ระดมกำลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอสำหรับการระบาดใหญ่ 2) จัดการภารกิจเมื่อมีการระบาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) จัดเตรียมสถานที่และคลังอุปกรณ์ฉุกเฉินให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของกำลังคนด้านสุขภาพเมื่อมีการระบาดใหญ่ และ 4) ดูแลกำลังคนด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Promoting Hospitalsth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือโรคระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativePolicy Recommendations for Health Workforce Management in Response to Pandemic for Primary Care Units Under the Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe transfer of sub-district health promoting hospitals to provincial administrative organizations is a form of decentralization that affects health services for people in the area. This mixed methods study aimed to analyze situations of health workforce management and to develop policy recommendations for health workforce management at primary care units under provincial administrative organizations in response to pandemic. Qualitative data was collected from 64 people who are directors of the public health division, provincial administrative organizations and medical and public health staffs of health promoting hospitals by using interview guidelines. Quantitative data was collected among 410 service users of the sub-district health promoting hospitals using validated questionnaire asking demographic data and service satisfaction during the COVID-19 pandemic (Cronbach’s alpha 0.92). Demographic and service satisfaction data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Qualitative data from interviews were analyzed using content analysis and then policy recommendations were developed. The results revealed that policy recommendations for directors of public health, provincial administrative organizations include 1) establish a workforce with expertise and a sufficient number to cope with the pandemic, 2) define clear roles of the workforce during an epidemic, 3) develop expertise in epidemiological investigations for health workforce in the public health division, and health promotion hospitals, 4) support health promotion hospitals with adequate facilities, isolation rooms, medicines and medical supplies to ensure operational safety, 5) organize a care system and provide welfare for health workforce working during the pandemic, and 6) establish measures and guidelines to support the operation of health workforce during an epidemic. Policy recommendations for directors of health promoting hospitals include 1) mobilize a sufficient health workforce for the pandemic, 2) manage missions in the epidemic effectively, 3) prepare facilities and emergency equipment storage to be ready for use in the event of an epidemic, and 4) organize the care and supply of health workforce during an epidemic.th_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
.custom.citationกุลวดี อภิชาติบุตร, Kulwadee Abhicharttibutra, อรอนงค์ วิชัยคำ, Orn-Anong Wichaikhum, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, Apiradee Nantsupawat, เกศราภรณ์ อุดกันทา and Kedsaraporn Udkunta. "ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือโรคระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6281">http://hdl.handle.net/11228/6281</a>.
.custom.total_download10
.custom.downloaded_today6
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v19n ...
ขนาด: 291.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1372]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย