Show simple item record

Evaluation of the PM2.5 Health Risk Surveillance System in Nong Khai Province, Thailand: A Pilot in Health Region 8

dc.contributor.authorจันจิรา ชินศรีth_TH
dc.contributor.authorChanjira Chinsrith_TH
dc.contributor.authorสุทัศน์ โชตนะพันธ์th_TH
dc.contributor.authorSuthat Chottanapundth_TH
dc.contributor.authorธัชริทธิ์ ใจผูกth_TH
dc.contributor.authorThachcharit Jaiphookth_TH
dc.contributor.authorพรรณวรท ภูเวียงth_TH
dc.contributor.authorPhanwarot Phoweangth_TH
dc.date.accessioned2025-06-30T08:59:34Z
dc.date.available2025-06-30T08:59:34Z
dc.date.issued2568-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 19,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2568) : 194-220th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6283
dc.description.abstractผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาระดับโลก ในประเทศไทยพบว่าจังหวัดหนองคายซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตสุขภาพที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานไปจนถึงอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่น PM2.5 เกิดจากการเผาในที่โล่ง และหมอกควันข้ามแดน ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดหนองคายที่เป็นพื้นที่นำร่อง โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการในปี 2567 การศึกษาเชิงปริมาณฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวัง และการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการในพื้นที่ ทั้งระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติงาน ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 28 มิถุนายน 2567 การศึกษาเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ ให้ความสำคัญกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ โดยมีความเห็นว่า ระบบสามารถรายงานได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้ โดยมีผลต่อการดำเนินงานน้อย มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำมาตรการ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค แต่ยังมีความล่าช้าของการรายงาน และแนวทางการลงรหัสการวินิจฉัยโรคยังมีความไม่ชัดเจน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ จากการทบทวนเวชระเบียน จำนวน 345 ราย เข้านิยามการรายงานจำนวน 181 เวชระเบียน มีค่าความไวร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 53.1 ข้อมูลอายุ เพศ และสัญชาติ มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 100 แต่ข้อมูลรหัสโรค ICD-10 มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 98.8 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติและข้อมูลรหัสโรค (ICD-10) มีความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 98.0, 92.5, 98.3 และ 94.8 ตามลำดับ และข้อมูลอายุ เพศและวันที่เข้ารับบริการมีความเป็นตัวแทนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ การศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นลักษณะที่ปรับเปลี่ยนได้ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีความพร้อมในการปรับการทำงาน หากมีการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับดีในเรื่องความไวของการรายงาน และระดับต่ำในเรื่องค่าพยากรณ์บวก ทั้งนี้ ควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคให้เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถรายงานข้อมูลได้ทันทีที่มีการวินิจฉัยโรค ส่งข้อมูลจากระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้โดยตรง ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และลดความผิดพลาดในการรายงานข้อมูล และผลักดันให้มีการลงรหัสโรคร่วมเพื่อแสดงถึงการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 (Z58.1) สามารถใช้เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectฝุ่นละอองth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.titleการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5: กรณีพื้นที่นำร่องในจังหวัดหนองคาย เขตสุขภาพที่ 8th_TH
dc.title.alternativeEvaluation of the PM2.5 Health Risk Surveillance System in Nong Khai Province, Thailand: A Pilot in Health Region 8th_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeFine particulate matter (PM2.5) pollution poses a global public health concern. In Thailand, Nong Khai Province, located in the 8th Regional Health, has frequently recorded 24-hour average PM2.5 levels exceeding national standards, often reaching levels that adversely affect health. Major sources of PM2.5 include open burning and transboundary haze, impacting a large segment of the population. This study aimed to evaluate the disease surveillance system for PM2.5 exposure-related diseases in Nong Khai province as a pilot area. A mixed-method research, using quantitative and qualitative approaches, was conducted in 2024, assessing both quantity and quality attributes of the disease surveillance system. The qualitative component included interviews with both executive and operational officers from relevant government agencies in the area between 21 February and 28 June 2024, capturing insights from both leadership and frontline personnel. The quantitative component utilized stratified sampling to collect data from patient medical records, which were then analyzed using descriptive statistics, including frequencies and percentages. Findings from the qualitative study revealed that all 13 interviewed officials (100%) acknowledged the importance of the surveillance system. They found it easy to report and noted its usefulness in disease prevention and control. However, issues such as reporting delays and ambiguities in disease coding guidelines were identified. The system was adaptable, with minimal disruption to routine operations. In the quantitative assessment, 345 medical records were reviewed, with 181 cases matched case definitions. The surveillance system demonstrated 100% sensitivity and a positive predictive value (PPV) of 53.1%. Completeness of data for age, gender, and nationality was 100%, and for ICD-10 codes was 98.8%. Accuracy levels for age, gender, nationality, and ICD-10 coding were 98.0%, 92.5%, 98.3%, and 94.8%, respectively. Data on age, gender, and date of service were considered to be representative. In conclusion, the study highlighted that the disease surveillance system demonstrated strong qualitative adaptability and high sensitivity in quantitative measures, but identified gaps in data accuracy and coding clarity. It is recommended that the system be enhanced with automated, real-time reporting capabilities, directly integrating with hospital HIS systems to reduce errors and improve efficiency. Additionally, the adoption of comprehensive disease coding, including codes like Z58.1 for PM2.5 exposure, is encouraged to strengthen surveillance, prevention, and control efforts.th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 8th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 8th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
.custom.citationจันจิรา ชินศรี, Chanjira Chinsri, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, Suthat Chottanapund, ธัชริทธิ์ ใจผูก, Thachcharit Jaiphook, พรรณวรท ภูเวียง and Phanwarot Phoweang. "การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5: กรณีพื้นที่นำร่องในจังหวัดหนองคาย เขตสุขภาพที่ 8." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6283">http://hdl.handle.net/11228/6283</a>.
.custom.total_download122
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month121
.custom.downloaded_this_year122
.custom.downloaded_fiscal_year122

Fulltext
Thumbnail
Name: hsri-journal-v19n ...
Size: 1.925Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1372]
    บทความวิชาการ

Show simple item record