dc.contributor.author | ธนพล เพ็ญรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Tanapon Phenrat | th_TH |
dc.contributor.author | วิน ไตรวิทยานุรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Win Trivitayanurak | th_TH |
dc.contributor.author | มนุพัศ โลหิตนาวี | th_TH |
dc.contributor.author | Manupat Lohitnavy | th_TH |
dc.contributor.author | ศรัณย์พร เกิดเกาะ | th_TH |
dc.contributor.author | Saranporn Kirdkoh | th_TH |
dc.contributor.author | พิชชาภา วงศ์คำลือ | th_TH |
dc.contributor.author | Phichapa Wongkumlue | th_TH |
dc.contributor.author | วรากร มณีชูเกตุ | th_TH |
dc.contributor.author | Warakorn Maneechuket | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-07-02T08:53:53Z | |
dc.date.available | 2025-07-02T08:53:53Z | |
dc.date.issued | 2568-05 | |
dc.identifier.other | hs3274 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6285 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ศึกษาการใช้ระบบวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนเพื่อเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงจากการตกสะสมของก๊าซกรดและปรอทข้ามพรมแดนในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยเน้นการเปลี่ยนจาก "การสาธิต" สู่ "ระบบแก้ปัญหา" ที่เป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่าเครือข่ายนักวิจัยพี่เลี้ยงภาคประชาชน 28 คน ในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน สามารถเก็บข้อมูลได้ 1,210 รายการ ซึ่งนำไปวิเคราะห์ด้วยระบบการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ข้อมูล C-Site ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผลการตรวจวัดพบว่าดินในชั้นผิวหน้า (0-5 เซนติเมตร) มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ในเกือบทุกพื้นที่ศึกษา โดยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดโรคพืช (p < 0.01) การวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเมื่อค่า pH ลดลง (ดินเป็นกรดมากขึ้น) มีแนวโน้มพบการเกิดโรคพืชสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคเมล็ดด่าง (r = -0.67) และโรคใบไหม้ในข้าวและข้าวโพด (r = -0.62) นอกจากนี้ยังพบการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีในปลาในช่วง 0.01-0.49 mg/kg โดยปลาครีบขนนกจากแม่น้ำน่านบริเวณอำเภอทุ่งช้างมีค่าเกินมาตรฐาน (0.49 mg/kg) ส่วนในข้าวพบการสะสมในช่วง Not Detected ถึง 0.03 mg/kg ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย (0.1 mg/kg) การศึกษาพบรูปแบบการเพิ่มขึ้นของการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีในปลาตามแนวการไหลของแม่น้ำน่าน จากต้นน้ำไปท้ายน้ำ โดยปลากินเนื้อ (carnivorous fish) มีการสะสมสูงกว่าปลากินพืช (0.09 vs. 0.04 mg/kg, p< 0.001) และปลาในแหล่งน้ำไหลมีการสะสมสูงกว่าปลาในแหล่งน้ำนิ่ง (0.09 vs. 0.05 mg/kg, p < 0.01) สำหรับข้าว พบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีสีเข้ม เช่น ข้าวคอลายดาและข้าวเข็ม มีการสะสมปรอทสูงกว่าข้าวทั่วไป และข้าวที่ปลูกในพื้นที่นาลุ่มมีการสะสมสูงกว่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่ไร่ (p < 0.05) ผลการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการตกสะสมของปรอทจากแบบจำลอง AERMOD กับการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีทั้งในปลา (r = 0.64, p < 0.01) และข้าว (r = 0.58, p < 0.05) โดยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตกสะสมของปรอทตามแผนที่มีการตรวจพบการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีสูงกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างการตกสะสมของมลพิษข้ามพรมแดนกับการสะสมในห่วงโซ่อาหาร การวิเคราะห์สาเหตุของความเป็นกรดในดินพบปัจจัยร่วมระหว่างฝนกรดและการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย โดยในพื้นที่ใกล้ชายแดนได้รับอิทธิพลจากฝนกรดมากกว่าพื้นที่อื่น โครงการได้พัฒนากลไกการส่งต่อข้อมูลสู่หน่วยงานภาครัฐ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิจัยพี่เลี้ยงภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ 7 แห่ง โดยข้อมูลได้ถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบงานประจำ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและจัดการมลพิษข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงได้จำกัด และสามารถใช้เป็นต้นแบบสำหรับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อื่นต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | มลพิษ--แง่สุขภาพและอนามัย | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.subject | มลพิษทางอากาศ | th_TH |
dc.subject | โรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม | th_TH |
dc.title | การสาธิตการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการภาคประชาชนเพื่อจัดการความเสี่ยงของประชาชนกลุ่มเปราะบางจังหวัดน่าน จากการตกสะสมของก๊าซกรดและปรอทข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ใน สปป.ลาว | th_TH |
dc.title.alternative | Demonstrative Application of Information System Equipped with Operative Community Citizen Science for Risk Management of Vulnerable Populations in Nan Province from Transboundary Acid and Mercury Deposition by Hongsa Coal-fired Power Plant in Lao PDR | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research investigated the implementation of a citizen science system for monitoring
and managing risks from transboundary acid gas and mercury deposition in Nan Province,
Thailand. The study aimed to transform from a "demonstration" to an "operational problemsolving system." A network of 28 citizen science trainers across seven villages collected 1,210
data entries, which were analyzed through the C-Site monitoring system integrated with artificial
intelligence (AI) technology.
Soil analyses revealed topsoil (0-5 cm) pH values below 5.5 in nearly all study areas,
exhibiting significant negative correlations with plant disease occurrence (p < 0.01). Statistical
analyses demonstrated that decreasing pH values strongly correlated with increased incidence
of grain discoloration (r = -0.67) and leaf blight in rice and corn (r = -0.62). Methylmercury
bioaccumulation in fish ranged from 0.01-0.49 mg/kg, with fin-feather fish from the Nan River in
Thung Chang District exceeding safety standards (0.49 mg/kg). Rice samples showed
methylmercury accumulation ranging from non-detectable to 0.03 mg/kg, below safety
standards (0.1 mg/kg).
The research identified distinct bioaccumulation patterns along the Nan River, with
increasing methylmercury concentration from upstream to downstream. Carnivorous fish
exhibited significantly higher accumulation than herbivorous fish (0.09 vs. 0.04 mg/kg, p < 0.001),
and fish in flowing water environments showed greater concentrations than those in still water
(0.09 vs. 0.05 mg/kg, p < 0.01). For rice, dark-colored native varieties (Kho Lai Dam and Khem)
demonstrated higher mercury accumulation than common varieties, and lowland rice contained
significantly more mercury than upland rice (p < 0.05).
Statistical analyses revealed significant positive correlations between mercury deposition
patterns from the AERMOD dispersion model and methylmercury accumulation in both fish (r =
0.64, p < 0.01) and rice (r = 0.58, p < 0.05). Areas with high predicted mercury deposition
consistently showed elevated methylmercury levels in the food chain, demonstrating a clear
link between transboundary pollution and food web contamination. Soil acidity analysis
identified combined factors of acid rain and ammonium fertilizer usage, with border areas more
significantly impacted by acid rain.
The project established effective data transfer mechanisms to government agencies,
creating functional collaborations between citizen science networks and seven government
institutions. This integration enabled the incorporation of citizen science data into routine
operations and targeted interventions. The research demonstrates that citizen science represents
a cost-effective, high-coverage tool for monitoring and managing transboundary pollution,
particularly in remote areas with limited government access. This model offers a replicable
framework for addressing environmental challenges in similar contexts globally. | th_TH |
dc.identifier.contactno | 67-023 | |
dc.subject.keyword | วิทยาศาสตร์ภาคประชาชน | th_TH |
dc.subject.keyword | Citizen Science | th_TH |
.custom.citation | ธนพล เพ็ญรัตน์, Tanapon Phenrat, วิน ไตรวิทยานุรักษ์, Win Trivitayanurak, มนุพัศ โลหิตนาวี, Manupat Lohitnavy, ศรัณย์พร เกิดเกาะ, Saranporn Kirdkoh, พิชชาภา วงศ์คำลือ, Phichapa Wongkumlue, วรากร มณีชูเกตุ and Warakorn Maneechuket. "การสาธิตการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการภาคประชาชนเพื่อจัดการความเสี่ยงของประชาชนกลุ่มเปราะบางจังหวัดน่าน จากการตกสะสมของก๊าซกรดและปรอทข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ใน สปป.ลาว." 2568. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6285">http://hdl.handle.net/11228/6285</a>. | |
.custom.total_download | 1 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |