• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่จากตัวอย่างน้ำในช่องปาก ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ (ปีที่ 2)

ปนิษฎี อวิรุทธ์นันท์; Panisadee Avirutnan;
วันที่: 2568-06
บทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งมีอาการทางคลินิกมากถึง 390 ล้านคนต่อปี โดยทั่วไปคนที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่จะไม่แสดงอาการ แต่มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่จะมีอาการทางคลินิก แบ่งออกเป็น กลุ่มไข้เด็งกี่ที่มีอาการไม่รุนแรง และกลุ่มโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพภาวะที่มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที อาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งอยู่ในกลุ่มของฟลาวิไวรัส มี 4 ซีโรทัยป์ ได้แก่ 1, 2, 3 และ 4 มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ และวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันยังมีประสิทธิผลจำกัด รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงที่ต้องเข้าโรงพยาบาลหากผู้ได้รับวัคซีนที่ไม่เคยติดไวรัสเด็งกี่มาก่อน โดยปกติการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่สามารถทำได้จากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สิ่งส่งตรวจชนิดอื่น ๆ ของผู้ป่วยไข้เลือดออก เช่น น้ำลาย หรือปัสสาวะ ในการตรวจการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ และแอนติบอดีต่อไวรัสเด็งกี่ นอกจากนี้ปัจจุบันมีการใช้ “oral fluid” หรือ น้ำในช่องปาก ในการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อต่าง ๆ เช่น HIV, Hepatitis (HCV, HAV, HBV) ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่าการเก็บตัวอย่างโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำ ดังนั้น จึงได้ศึกษาการเก็บตัวอย่างเลือดควบคู่กับการเก็บตัวอย่างน้ำในช่องปาก จะสามารถทดแทนการใช้ตัวอย่างเลือดได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบในแง่ของความไวและความจำเพาะของการตรวจหาไวรัสเด็งกี่ โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อไวรัสเด็งกี่ พบว่าถึงแม้จะไม่สามารถใช้ตัวอย่างน้ำในช่องปากตรวจหาการติดเชื้อฯ โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือโปรตีน NS1 ของไวรัสได้ แต่ผลการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสได้ ทั้ง IgM และ IgG ซึ่งปริมาณแอนติบอดีที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำในช่องปากและในตัวอย่างเลือดนั้นมีความสัมพันธ์กัน และในเบื้องต้นยังพบว่าการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่ IgM/IgG จากตัวอย่าง oral fluid มีความไวและความจำเพาะสูง (97.9% และ 83.0%) นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิด IgG ในช่วงท้ายของการมีไข้ตลอดจนถึงประมาณ 1 – 2 เดือนหลังมีไข้ได้ถึง 59.0% จากผลการศึกษานี้ทำให้พบว่าการใช้น้ำในช่องปากเป็นตัวอย่างในการตรวจหาแอนติบอดี ทดแทนการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการในช่วงเวลาที่มีการระบาด ตรวจติดตามการแพร่ระบาดในประชากรเด็กกลุ่มใหญ่ หรือคัดกรองผลของการได้รับวัคซีนนั้นสามารถทำได้

บทคัดย่อ
Dengue fever is a major global public health issue, with approximately 390 million cases of dengue virus infection annually. Generally, individuals infected with the dengue virus show no symptoms; however, some develop clinical symptoms, categorized into dengue fever, which is mild, and dengue hemorrhagic fever, characterized by rapid plasma leakage that can be fatal without prompt and appropriate treatment. The cause of dengue fever is infection with the dengue virus, a member of the Flavivirus genus, which has four serotypes: 1, 2, 3, and 4, and is transmitted by Aedes mosquitoes. There is currently no cure or reliable preventive method for dengue fever, and available vaccines offer limited effectiveness while posing risks for individuals who have never been previously infected with the dengue virus. Dengue virus infection diagnosis is typically done using a blood sample, although other specimens such as saliva or urine can be used to detect the virus and antibodies specific to dengue virus. Recently, "oral fluid" or saliva has been used to detect antibodies against various pathogens, including HIV and hepatitis viruses (HCV, HAV, HBV). We have investigated whether it could replace blood sampling. While oral fluid samples were not effective in detecting viral genetic material or NS1 protein, they were able to detect dengue antibodies (IgM and IgG), and the antibody levels in oral fluid were found to correlate with those in blood samples. Our findings show that detecting dengue virus antibodies (IgM/IgG) in oral fluid has high sensitivity and specificity (97.9% and 83.0%, respectively). Additionally, IgG antibodies were detectable up to 1–2 months after fever onset in 59.0% of cases. This study suggests that oral fluid can potentially be used to detect antibodies as an alternative to blood sampling, which may be useful for identifying asymptomatic cases during outbreaks, monitoring large child populations, or screening the effects of vaccination.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3280.pdf
ขนาด: 1.051Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 3
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2487]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [621]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV