• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์การกระจายทันตแพทย์ไทย และสถานการณ์กำลังคนในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิ

สุณี วงศ์คงคาเทพ;
วันที่: 2549-07
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบบริการและกำลังคนด้านทันตสุขภาพสู่อนาคต จำเป็นต้องทบทวนสถานการณ์ระบบบริการและระบบกำลังคนสุขภาพช่องปาก ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาประเด็นส่วนขาดและช่องว่างของข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์ มาตการ และการวางแผนการพัฒนากำลังคนด้านทันตบุคลากรในอนาคต วัตถุประสงค์การทบทวนวรรณกรรมคือ 1) การจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิส่วนภูมิภาคและสถานการณ์กำลังคนด้านทันตบุคลากร ภายใต้นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 2) จำนวนที่ต้องการและปัญหาความขาดแคลนทันตบุคลากรไทยในทุกระดับพื้นที่รวมชนบทห่างไกล เพื่อจัดทำประเด็นข้อเสนอการทำวิจัยที่เป็นส่วนขาดต่อไปในอนาคต ผลการทบทวนวรณกรรม 1. ปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญแบ่งได้ 2 ปัญหาคือ ปัญหาโรคฟันผุ ซึ่งพบปัญหาสูงในกลุ่มเด็กและปัญหาโรคปริทันต์ที่พบปัญสูงในกลุ่มผู้ใหญ่และสูงอายุ ทั้งขนาดและความรุนแรงของปัญหาสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยมีปัญหาสูง แต่ประชาชนเข้าบริการทันตกรรมและบริการส่งเสริมป้องกันในระดับต่ำ เมื่อนำกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ตามกฎบัตรออตตาวา เป็นกรอบความคิดในการจัดทำ มาตรการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปาก จากกลยุทธ์และกิจกรรมหลักส่งเสริมและป้องกันสุขภาพในช่องปากในทุกกลุ่มวัย ส่วนใหญ่เป็นบริการที่ต้องดำเนินการในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งต้องให้บริการทั้งในสถานบริการ ในชุมชน และทำงานเชิงรุกด้วยการออกเยี่ยมบ้าน เพื่อส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากมีการดำเนินการอย่างทั่วถึง ที่ต้องประสานความร่วมมือจากผู้เกียวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และองค์การท้องถิ่น 2. อัตราการมีหลักประกันสุขภาพของประชาชนไทย หลังประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพบ ร้อยละ 95.5 ในปี 2546 แต่มีผู้ได้รับบริการทันตกรรมในรอบปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 10.6 มีค่าเฉลี่ยการรับบริการทันตกรรม 1.6 ครั้ง/คน/ปี กลุ่มอายุที่มีผู้ใช้บริการทันตกรรมต่ำคือกลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 4 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ปัจจุบันยังขาดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาในการเตรียมระบบบริการและกำลังคนสุขภาพช่องปาก ในการทำงานบูรณาการผสมผสานเชิงรุกกับการดูแลสุขภาพทั่วไปในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 3. อัตราการผลิตทันตแพทย์ปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการทันตแทพย์ในอนาคต คาดประมาณการณ์ได้ว่า ปี 2563 (อีก 15 ปี) จะมีทันตแพทย์จำนวน 19,564 คน คิดเป็นสัดส่วนประชากรต่อทันตแพทย์ 1 คนเท่ากับ 3,167 คน ซึ่งเป็นจำนวนกำลังทันตแทพย์ที่เพียงพอในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในอนาคต ขณะที่ความต้องการทันตาภิบาลในระบบบริการ โดยคำนวณตามจำนวนสถานีอนามัยที่พัฒนาเป็นศสช. ที่ได้กำหนดให้มีทันตาภิบาลอยู่ประจอย่างน้อยสถานีอนามัยละ 1 คน จำเป็นต้องมีทันตาภิบาลในสถานีอนามัย 98,000 คน จำนวนความต้องการทันตาภิบาลเพื่อปฎิบัติงานในการผลิตปี 29 ปี ในอนาคตอาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มผลิตทันตาภิบาลเพื่อตอนสนองความต้องการของระบบบริการ ควบคู่กับการเพิ่มสัดส่วนในเรื่องบทบาทด้านส่งเสิรมสุขภาพและปรับลดขอบเขตการรักษาพยาบาลอย่างง่ายของทันตาภิบาลลง 4. จากการทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศ พบว่ามาตรการแรงจูงใจด้านค่าตอบแทนแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มคือ (1) การตั้งอัตราค่าบริการขึ้นกับระดับความทุรกันดารของพื้นที่ (2) การให้เบี้ยเลี้ยงที่ไม่ต้องเสียภาษีแก่ผู้ที่ทำงานในเขตชนบทที่ทุรกันดารเป็นเวลา 4 ปี จำนวนเงินขั้นกับระดับความขาดแคลนแพทย์ทั่วไป/ทันตแพทย์ (3) การให้เงินทุนแก่นักศึกษาแพทย์ที่จะเข้าทำงานในเขตชนบทที่ทุรกันดาร (4) การให้เงินช่วยค่าศึกษาแก่แพทย์ทั่วไปที่ทำงานในเชตชนบทที่ทุรกันดาร (5) การให้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มพิเศษแก่ผู้ที่ทำงานในเขตที่ทุรกันการระดับสูงสุด โดยอัตราค่าตอบแทนขึ้นกับสถานที่ทำงานและจำนวนผู้ที่แพทย์ทันตแพทย์ ที่ต้องอุปถัมภ์ และ (6) เงินค่าเดินทางขนย้ายในการเข้าทำงานในเขตทุรกันดาร สำหรับประเทศไทยพบว่า แรงจูงใจด้านค่าตอบแทนไม่สามารถสร้างผลกระทบต่อการกระจายทันตแพทย์ ระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทได้ในระยะยาว แรงจูงใจโดยเบี้ยเลี้ยงพิเศษมีผลต่อทันตแพทย์จบใหม่เข้าทำงานในเชตชุมชนในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นมาตรการที่ผ่ามมาส่วนใหญ่เน้นในเพื่อจูงให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์เป็นเพียงการชะลอการลาออกของทันตแพทย์ในพื้นที่ชนบทได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนามาตรการแก้ไขปัญหาการกระจายทันตแพทย์และมาตรการการจูงใจให้ทันตแพทย์ปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบท ถือเป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนในการดำเนินการ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1402.pdf
ขนาด: 954.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 415
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV