Show simple item record

สถานการณ์การกระจายทันตแพทย์ไทย และสถานการณ์กำลังคนในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิ

dc.contributor.authorสุณี วงศ์คงคาเทพen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-11-03T03:39:28Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:23:34Z
dc.date.available2008-11-03T03:39:28Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:23:34Z
dc.date.issued2549-07en_US
dc.identifier.otherhs1402en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/632en_US
dc.description.abstractการพัฒนาระบบบริการและกำลังคนด้านทันตสุขภาพสู่อนาคต จำเป็นต้องทบทวนสถานการณ์ระบบบริการและระบบกำลังคนสุขภาพช่องปาก ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาประเด็นส่วนขาดและช่องว่างของข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์ มาตการ และการวางแผนการพัฒนากำลังคนด้านทันตบุคลากรในอนาคต วัตถุประสงค์การทบทวนวรรณกรรมคือ 1) การจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิส่วนภูมิภาคและสถานการณ์กำลังคนด้านทันตบุคลากร ภายใต้นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 2) จำนวนที่ต้องการและปัญหาความขาดแคลนทันตบุคลากรไทยในทุกระดับพื้นที่รวมชนบทห่างไกล เพื่อจัดทำประเด็นข้อเสนอการทำวิจัยที่เป็นส่วนขาดต่อไปในอนาคต ผลการทบทวนวรณกรรม 1. ปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญแบ่งได้ 2 ปัญหาคือ ปัญหาโรคฟันผุ ซึ่งพบปัญหาสูงในกลุ่มเด็กและปัญหาโรคปริทันต์ที่พบปัญสูงในกลุ่มผู้ใหญ่และสูงอายุ ทั้งขนาดและความรุนแรงของปัญหาสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยมีปัญหาสูง แต่ประชาชนเข้าบริการทันตกรรมและบริการส่งเสริมป้องกันในระดับต่ำ เมื่อนำกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ตามกฎบัตรออตตาวา เป็นกรอบความคิดในการจัดทำ มาตรการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปาก จากกลยุทธ์และกิจกรรมหลักส่งเสริมและป้องกันสุขภาพในช่องปากในทุกกลุ่มวัย ส่วนใหญ่เป็นบริการที่ต้องดำเนินการในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งต้องให้บริการทั้งในสถานบริการ ในชุมชน และทำงานเชิงรุกด้วยการออกเยี่ยมบ้าน เพื่อส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากมีการดำเนินการอย่างทั่วถึง ที่ต้องประสานความร่วมมือจากผู้เกียวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และองค์การท้องถิ่น 2. อัตราการมีหลักประกันสุขภาพของประชาชนไทย หลังประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพบ ร้อยละ 95.5 ในปี 2546 แต่มีผู้ได้รับบริการทันตกรรมในรอบปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 10.6 มีค่าเฉลี่ยการรับบริการทันตกรรม 1.6 ครั้ง/คน/ปี กลุ่มอายุที่มีผู้ใช้บริการทันตกรรมต่ำคือกลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 4 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ปัจจุบันยังขาดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาในการเตรียมระบบบริการและกำลังคนสุขภาพช่องปาก ในการทำงานบูรณาการผสมผสานเชิงรุกกับการดูแลสุขภาพทั่วไปในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 3. อัตราการผลิตทันตแพทย์ปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการทันตแทพย์ในอนาคต คาดประมาณการณ์ได้ว่า ปี 2563 (อีก 15 ปี) จะมีทันตแพทย์จำนวน 19,564 คน คิดเป็นสัดส่วนประชากรต่อทันตแพทย์ 1 คนเท่ากับ 3,167 คน ซึ่งเป็นจำนวนกำลังทันตแทพย์ที่เพียงพอในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในอนาคต ขณะที่ความต้องการทันตาภิบาลในระบบบริการ โดยคำนวณตามจำนวนสถานีอนามัยที่พัฒนาเป็นศสช. ที่ได้กำหนดให้มีทันตาภิบาลอยู่ประจอย่างน้อยสถานีอนามัยละ 1 คน จำเป็นต้องมีทันตาภิบาลในสถานีอนามัย 98,000 คน จำนวนความต้องการทันตาภิบาลเพื่อปฎิบัติงานในการผลิตปี 29 ปี ในอนาคตอาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มผลิตทันตาภิบาลเพื่อตอนสนองความต้องการของระบบบริการ ควบคู่กับการเพิ่มสัดส่วนในเรื่องบทบาทด้านส่งเสิรมสุขภาพและปรับลดขอบเขตการรักษาพยาบาลอย่างง่ายของทันตาภิบาลลง 4. จากการทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศ พบว่ามาตรการแรงจูงใจด้านค่าตอบแทนแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มคือ (1) การตั้งอัตราค่าบริการขึ้นกับระดับความทุรกันดารของพื้นที่ (2) การให้เบี้ยเลี้ยงที่ไม่ต้องเสียภาษีแก่ผู้ที่ทำงานในเขตชนบทที่ทุรกันดารเป็นเวลา 4 ปี จำนวนเงินขั้นกับระดับความขาดแคลนแพทย์ทั่วไป/ทันตแพทย์ (3) การให้เงินทุนแก่นักศึกษาแพทย์ที่จะเข้าทำงานในเขตชนบทที่ทุรกันดาร (4) การให้เงินช่วยค่าศึกษาแก่แพทย์ทั่วไปที่ทำงานในเชตชนบทที่ทุรกันดาร (5) การให้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มพิเศษแก่ผู้ที่ทำงานในเขตที่ทุรกันการระดับสูงสุด โดยอัตราค่าตอบแทนขึ้นกับสถานที่ทำงานและจำนวนผู้ที่แพทย์ทันตแพทย์ ที่ต้องอุปถัมภ์ และ (6) เงินค่าเดินทางขนย้ายในการเข้าทำงานในเขตทุรกันดาร สำหรับประเทศไทยพบว่า แรงจูงใจด้านค่าตอบแทนไม่สามารถสร้างผลกระทบต่อการกระจายทันตแพทย์ ระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทได้ในระยะยาว แรงจูงใจโดยเบี้ยเลี้ยงพิเศษมีผลต่อทันตแพทย์จบใหม่เข้าทำงานในเชตชุมชนในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นมาตรการที่ผ่ามมาส่วนใหญ่เน้นในเพื่อจูงให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์เป็นเพียงการชะลอการลาออกของทันตแพทย์ในพื้นที่ชนบทได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนามาตรการแก้ไขปัญหาการกระจายทันตแพทย์และมาตรการการจูงใจให้ทันตแพทย์ปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบท ถือเป็นประเด็นสำคัญและเร่งด่วนในการดำเนินการen_US
dc.description.sponsorshipมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectทันตแพทย์en_US
dc.subjectอนามัยช่องปากen_US
dc.subjectHealth Manpoweren_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectDentistsen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสถานการณ์การกระจายทันตแพทย์ไทย และสถานการณ์กำลังคนในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWU77 ส764ส 2549en_US
dc.identifier.contactno50ข010en_US
dc.subject.keywordทันตแพทย์ไทยen_US
dc.subject.keywordกำลังคนด้านทันตสุขภาพen_US
.custom.citationสุณี วงศ์คงคาเทพ. "สถานการณ์การกระจายทันตแพทย์ไทย และสถานการณ์กำลังคนในการจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิ." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/632">http://hdl.handle.net/11228/632</a>.
.custom.total_download411
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year20
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1402.pdf
Size: 954.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record