แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การบริหารจัดการและการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

dc.contributor.authorดวงใจ เล็กสมบูรณ์en_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-11-05T02:19:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:36Z
dc.date.available2008-11-05T02:19:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:36Z
dc.date.issued2550-09en_US
dc.identifier.otherhs1400en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/638en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในเขตชนบทเป็นปัญหาประการสำคัญของการใช้ทรัพยากรบุคคลทางการแพทย์ที่มีอยู่ในประเทศไทย การจัดสรรบุคลากรเข้าสู่เขตชนบทประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ แต่บุคลากรส่วนใหญ่เหล่านั้นก็ย้ายออกภายในระยะเวลาไม่กี่ปี นอกจากมีบุคลากรที่พอเพียงแล้ว ผลิตภาพของบุคลากรก็เป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนชนบทด้วย การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับมาตรการและวิธีการต่างๆ เพื่อลดการลาออกและเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน ที่เคยนำใช้มาแล้วในอดีตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ายังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่ามาตรการใดสามารถนำมาใช้ในประเทศได้เลย ทั้งนี้วรรณกรรมต่างประเทศเป็นการศึกษาในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างจากประเทศไทยในหลายประการ ส่วนมาตรการที่ใช้ในประเทศไทยก็ยังไม่พบวรรณกรรมแสดงการศึกษาผลของมาตรการต่อการคงอยู่และผลิตภาพ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมที่พบชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่สามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายเพิ่มการคงอยู่ได้หลายประการคือ ควรคัดเลือกนักศึกษาที่มีความต้องการทำงานในเขตขาดแคลน และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาเหล่านั้นให้ออกไปทำงานตามที่ตั้งใจได้ ต้องจัดให้มีค่าตอบแทนด้านการเงินในระดับที่เทียบเคียงได้กับการทำงานในส่วนอื่น มาตรการต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองต่อความหลากหลายของบุคลากรในแต่ละสถานการณ์ และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานแก่บุคลากร มีความสำคัญต่อความพอใจงานและการคงอยู่ วรรณกรรมที่พบไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า การบริหารบุคลากรและองค์กรแนวใหม่ อันได้แก่ การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารผลิตภาพ การใช้ระบบการให้รางวัลแบบ PRP และการสนับสนุนการฝึกอบรมสามารถเพิ่มการคงอยู่ในเขตชนบทหรือเขตขาดแคลน และผลิตภาพของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะยังขาดการปฏิบัติที่เหมาะสม แนวทางการศึกษาเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการใช้บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้แก่ การประเมินมาตรการที่เคยใช้มาแล้วในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นประเด็นผลกระทบต่อการคงอยู่และผลิตภาพเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข หรือคัดเลือกและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของมาตรการต่างๆ ที่ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศเหล่านี้สำหรับสถานการณ์ในอนาคต แล้วนำมาศึกษานำร่องแบบ Action researchen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขen_US
dc.format.extent309344 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์--ไทยen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการบริหารจัดการและการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW76 ด164ก 2550en_US
dc.identifier.contactno50ข010-1en_US
dc.subject.keywordการบริหารบุคลากรทางการแพทย์en_US
dc.subject.keywordการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์en_US
dc.subject.keywordการบริหารบุคคลากรen_US
.custom.citationดวงใจ เล็กสมบูรณ์. "การบริหารจัดการและการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/638">http://hdl.handle.net/11228/638</a>.
.custom.total_download316
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1400.pdf
ขนาด: 329.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย