• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพในเด็กและเยาวชน

ศิริพร เค้าภูไทย;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
พฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ได้แก่ การเสพยาเสพติด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เพศสัมพันธ์ และการรวมกลุ่มที่ไม่สร้างสรรค์ ยาเสพติดที่เยาวชนนิยมมากที่สุด คือ เบียร์/ไวน์/สปาย รองลงมาคือ เหล้า และเครื่องดื่มผลไม้ที่ผสมแอลกอฮอล์ ตามลำดับ จากข้อมูลเกี่ยวกับสุรา พบว่า อายุน้อยที่สุดที่เริ่มดื่มสุราคือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ถึงแม้ว่าจะมีไม่มากก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มอายุที่เริ่มดื่มสุรามากที่สุด คือ 20-24 ปี แสดงให้เห็นว่าการดื่มสุราได้ขยายไปสู่กลุ่มเด็กและเยาวชนมากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ ในจำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรังทั้งหมดมีเด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 15 ปีรวมอยู่ด้วย สถานการณ์การสูบบุหรี่ในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วพบว่าอายุที่เริ่มสูบบุหรี่คือ ช่วงอายุที่อยู่ระหว่างอายุ 15-24 ปี นั่นหมายความว่า มีเด็กและเยาวชนใหม่ๆ ที่สูบบุหรี่ทดแทนผู้สูบที่ตายและเลิกสูบเพราะเป็นโรคทดแทนขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เด็กที่สูบบุหรี่เป็นนักเรียนอาชีวะ และเด็กที่อยู่ในเขตชนบท อายุต่ำสุดของชายที่มีเพศสัมพันธ์ คือ 9 ปี ส่วนผู้หญิงอายุต่ำสุดที่มีเพศสัมพันธ์ คือ 10 ปี อายุเฉลี่ยของชายที่มีเพศสัมพันธ์ คือ 15 ปี และอายุเฉลี่ยของหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ คือ 16 ปี การข่มขื่นเกิดจากการกระทำโดยเด็กและเยาวชนสูงถึง 2.6 ราย หรือเฉลี่ยแล้วมากกว่า 2 รายในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เป็นเหยื่อจากการถูกข่มขืนเฉลี่ยวันละ 2 ราย จากการรวบรวมสถิติเพียงแค่ 1 เดือนก็พบว่ามีกลุ่มวัยรุ่นที่ยกพวกตีกันถึง 3,000 ครั้ง และจากสถิติจำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีทำร้ายชีวิต ร่างกายของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2548 ที่มีผู้กระทำผิด 1,493 คน เพิ่มเป็น 1,908 คดี ในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 27.8% นอกจากความรุนแรงที่เกิดจากการยกพวกตีกันแล้วการก่อความรำคาญโดยแก๊งรถซิ่งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ส่งให้เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่กระทำผิด ได้แก่ ความอบอุ่นและการอบรมสั่งสอนของสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อและแม่ นอกจากนี้กลุ่มเพื่อนก็มีส่วนในการชักจูงให้เกิดการกระทำผิด การได้รับข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะทีวี หรือการรับชมภาพยนต์ การฟังดนตรีที่แฝงไปด้วยความรุนแรง เป็นต้น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1403.pdf
ขนาด: 1.123Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 161
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV