แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ทบทวนการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542-2550

dc.contributor.authorปรีดา แต้อารักษ์en_US
dc.contributor.authorPreeda Taearraken_US
dc.contributor.authorนิภาพรรณ สุขศิริen_US
dc.contributor.authorNiphapan Suksirien_US
dc.contributor.authorรำไพ แก้ววิเชียรen_US
dc.contributor.authorRamphai Kaewwichianen_US
dc.contributor.authorกิรณา แต้อารักษ์en_US
dc.contributor.authorKirana Tae-arruken_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-09-19T08:33:10Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:22:53Z
dc.date.available2008-09-19T08:33:10Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:22:53Z
dc.date.issued2551-04en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2551) : 179-194en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/97en_US
dc.description.abstractการทบทวนเรื่องนี้เพื่อศึกษาความเป็นมา สถานการณ์และบริบทต่างๆ ของการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข รวมทั้งเสนอแนะการดำเนินการก่อนการทดลองถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทบทวนจากเอกสารการดำเนินงาน ข่าวสาร งานวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย้อนหลังไปจนถึง พ.ศ. 2542 และสัมภาษณ์ผู้บริหาร/ผู้แทนกลุ่ม/องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงาน ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม 2550 พบว่าการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขนั้น การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจล่าช้า ขาดการเตรียมความพร้อมให้แก่อปท. ทั้งด้าน โครงสร้างการบริหารงานสาธารณสุข และศักยภาพทางวิชาการ ในขณะที่อปท. มีจุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ สนใจการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากขึ้น งบประมาณมีมากขึ้น รู้ปัญหาของประชาชน บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโอนย้ายเข้าอปท.มากขึ้น องค์กรไม่ซับซ้อนมีความคล่องตัว และจัดระบบการตรวจสอบได้ง่าย จุดอ่อน คือ มีข้อสงสัยเรื่องความไม่โปร่งใส. บุคลากรที่มีอยู่ยังขาดทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ส่วนใหญ่ยังไม่มีโครงสร้างงานสาธารณสุข. สำหรับโอกาสคือการเปลี่ยนแปลงระบบหลักประกันสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การปฏิรูประบบสุขภาพ เกื้อหนุนต่อการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับพื้นที่ การตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่นโดยองค์กรอื่นหรือภาคประชาชนทำได้ง่ายกว่าการบริหารโดยส่วนกลาง ส่วนอุปสรรคคือ รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง ผู้ว่าเบ็ดเสร็จ (CEO) เป็นโครงสร้างการปกครองที่อาจขัดแย้งกับการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัดได้ ขาคความร่วมมือจากข้าราชการประจำในระดับต่างๆ บุคลากรด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ ข้อเสนอ ต้องมีกรอบแนวคิดชัดเจน: 1) การให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ท้องถิ่น 2) ประสิทธิภาพและเอกภาพเชิงระบบ 3) ความเป็นธรรมทางสุขภาพ 4) ธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ 5) การมีส่วนร่วมและการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน 5) การจัดความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับรัฐบาล การกำหนดบทบาทองค์กรต่างๆ ให้ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้กำกับดูแล สนับสนุนและบริการทางวิชาการแก่อปท. ให้อปท. เป็นผู้จัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่โดยตรงอย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การถ่ายโอนไปตามความพร้อมและประเมินผลควบคู่ไปด้วย ต้องพัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมแก่อปท. พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้สามารถสนับสนุนอปท. ได้เป็นอย่างดี ปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้เหมาะสม ถ่ายโอนสถานบริการพร้อมประเมินผลควบคู่ไปด้วย ในการกำกับติดตามและประเมินผล ต้องยึดเอาวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจ เรื่องความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ มีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนมีความพึงพอใจth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleทบทวนการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542-2550en_US
dc.title.alternativeReview of Decentralization in Public Health, 1999-2007en_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis is a report of a review of the situation of decentralization in health and to recommendations for further steps that need to be taken. Documents, news and information from 1999 to 2007 were reviewed. Key persons from the organization concerned were interviewed. The study revealed that the decentralization process was operated slowly and that the infrastructure among the local administrative organizations to support decentralization was not well prepared and well established. The analysis showed that decentralization still has strengths and advantages because of the higher local administrators’ capability, the increase in budget and a transfer of some public health personnel to the local level. Moreover, monitoring and external audits could be easily conducted since the local authorities’ structures and functions are less complex compared with that of the government structure. On the contrary, there are some weaknesses in decentralization. These weaknesses include questions of transparency and lack of skill in public health affairs among the existing staff. Also, the public health division has not yet been structured in most sub-district administrative organizations. To consider opportunities, a health security system and health promotion system from the Thai Health Promotion Foundation, as well as a health-care reform system that could be possibly established, all would increase the opportunities of the public to participate in health-care initiation at local levels. An internal audit of the system by the community and the general public was also counted as an opportunity. Nevertheless, there can also be some obstacles. Currently, the Thai government does not pay much attention to decentralization and does not really focus on decentralization management. Therefore, it is possible that the “CEO Governor” system could be a system that hinders and interferes with the local administration system. Moreover, there is a lack of cooperation among government officers, and currently many public health personnel still have no confidence in decentralization. A clear conceptual framework is therefore needed. Recommendations are: (1) Decision-making should be done by the local administrative organizations; (2) the system needs to be efficient and autonomous; (4) equity in health is needed; (4) good governance, transparency and accountability are very important; (5) Public participation and responses to community needs should be focused; and (6) the relationship between local authorities and the government need to be well established. Additionally, it is recommened that the Ministry of Public Health be changed into a “standardization authority” with the roles and responsibilities of monitoring, advising, and providing technical support to local administrative organizations. At the same time, the local administrative organizations should be authorized with clear roles and responsibilities to provide suitable public health services directly and specifically for the population in their own areas. In addition, it is necessary to strengthen capacity-building among local administrative organizations and capability development of public health personnel to support a good public health system at the community level. Revision of laws and regulations also needs to be focused and carried out together with the decentralization process among well-prepared local organizations. For monitoring the outcomes, the ultimate goal of “health-care services with equity, good governance, efficiency, good quality, and satisfactory standards” should be used as indicators for the evaluation.en_EN
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจen_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordDecentralizationen_US
dc.subject.keywordPublic Healthen_US
dc.subject.keywordHealth Center Transferen_US
.custom.citationปรีดา แต้อารักษ์, Preeda Taearrak, นิภาพรรณ สุขศิริ, Niphapan Suksiri, รำไพ แก้ววิเชียร, Ramphai Kaewwichian, กิรณา แต้อารักษ์ and Kirana Tae-arruk. "ทบทวนการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542-2550." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/97">http://hdl.handle.net/11228/97</a>.
.custom.total_download893
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month18
.custom.downloaded_this_year221
.custom.downloaded_fiscal_year31

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n2 ...
ขนาด: 246.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย