บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาความชุกของปัญหาจิตเวชที่พบบ่อยและมีภาระโรคสูงในชุมชน เช่น โรคซึมเศร้า ประสบการณ์อาการโรคจิต ความผิดปกติพฤติกรรมการดื่มสุราและสารเสพติด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิต 3) เพื่อศึกษาสัดส่วนและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ไม่เข้าถึงบริการ
วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ mixed method ประกอบด้วยการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional community survey design) และการศึกษาเชิงคุณภาพ การศึกษาแบบตัดขวางเป็นการสำรวจในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยในครัวเรือนในเขตเทศบาลคูคตและเทศบาลลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยไม่มีการสุ่มทดแทน สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวโดยพนักงานที่ผ่านการอบรมด้วยแบบสอบถาม World Mental Health - Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0) ฉบับภาษาไทย ที่ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือแบบสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยโรคจิตเวชตามเกณฑ์ DSM-IV ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ประวัติการใช้บริการสุขภาพจิตในช่วงชีวิตและในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สิทธิในการรักษารวมทั้งประกันสุขภาพต่างๆ รายได้ การศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรด้านสุขภาพจิตเกี่ยวกับอุปสรรคต่างๆ ในการเข้าถึงบริการและแนวทางแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาจากตัวอย่างครัวเรือนในเขตเทศบาลจำนวน 5,698 คน มีผู้ยินยอมสัมภาษณ์ 3,940 คน (ร้อยละ 69.1) มีแบบสัมภาษณ์สมบูรณ์ที่นำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 3,877 ชุด พบความชุกในช่วงหนึ่งปีของปัญหาสุขภาพจิตทั่วไปร้อยละ 6.5 อาการทางจิตร้อยละ 0.8 ปัญหาการดื่มสุราร้อยละ 0.9 ปัญหาการใช้สารเสพติดจนเป็นอันตรายร้อยละ 0.3 ระดับเศรษฐานะ (วัดโดยดัชนีวัดสิ่งอำนวยความสะดวกในครัวเรือน) ไม่สัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต ผู้ที่มีประวัติป่วยสุขภาพจิตในรอบ 1 ปี รายงานว่าเข้ารับการปรึกษาหรือรักษาทางสุขภาพจิตเพียง 4.1 % ในรอบปีที่ผ่านมา การป่วยทางสุขภาพจิตในรอบ 1 ปีมีความสัมพันธ์กับการไม่มีรายได้หรือรายได้ที่ลดลงในรอบ 1 ปี ประวัติการเคยเจ็บป่วยทางจิตเวช (แต่ปัจจุบันไม่มีอาการ) ไม่สัมพันธ์กับการไม่มีรายได้หรือรายได้ที่ลดลง สรุป ความชุกโรคจิตเวชในเขตเทศบาลต่างๆ ของจังหวัดปทุมธานีนั้นใกล้เคียงกับความชุกที่รายงานไว้ในการสำรวจสุขภาพจิตก่อนหน้าในเขตกรุงเทพ แต่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบเมืองใหญ่ในประเทศอื่น การได้รับการรักษาทางจิตเวชน่าจะช่วยลดภาระทางเศรษฐศาสตร์ลงได้ (เช่น ทำให้มีรายได้ หรือทำให้มีรายได้กลับมาใกล้เคียงบุคคลทั่วไป) มาตรการอย่างเช่น การเพิ่ม mental healthy literacy และการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยที่เป็นทางเลือกอื่นๆ มีความจำเป็นในการลดช่องว่างในการเข้าถึงการบริการจิตเวช
บทคัดย่อ
Objectives: To 1) examine the prevalence of common and high-burden mental illnesses in the community, including depressive disorders, psychotic symptoms and alcohol and substance use disorders; 2) investigate social factors associated with mental disorders; and 3) describe what proportions of mentally ill individuals had limited or no access to services and associated barriers. Methods: Mixed method, including cross-sectional community survey and qualitative designs, was employed. The cross-sectional survey sampled without replacement residents aged 18 or over living in households within the Municipalities of Kukot and Lumsamkaew of Prathumthni Province. Face-to-face interviews were conducted by trained interviewers using the World Mental Health – Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0) – Thai version, divided into 2 parts. The first part elicited diagnoses based on DSM-IV criteria. The second consisted of questions on sociodemographic background, history of service use, health coverage and earnings. The qualitative component consisted of in-depth interviews with mental health professionals about barriers to care and proposed solutions. Results: A total of 5,698 households in the selected municipalities were approached. The response rate was 69.1% (N=3,940). There were 3,877 interviews completed for analysis. Psychological distress had a one-year prevalence of 6.5%, psychotic symptoms 0.8%, alcohol use disorders 0.9% and substance use disorders 0.3%. Socio-economic status (measured by the Household Asset Index) was not associated with mental illness. Only 4.1% of those who reported having had mental illness in the past year had sought advice or treatment in the same period. Having mental problems in the past year was significantly associated with reduced or no earnings. A history of mental illness, with no current or recent active symptoms, was not significantly associated with reduced or no earnings. Conclusions: The prevalence rates of mental illnesses in Prathumthani Province were similar to those reported in the recent mental health survey in Bangkok. The figures were also comparable to those reported in many East Asian countries, but relatively low compared with those found in Western countries. Reducing treatment gap in mental health care is likely to substantially ease economic burden because, if well-treated, mentally ill people can get back to work and earn incomes. Certain measures such as improving mental health literacy and developing alternative care models may help narrow the gap in accessing mental health care.