Show simple item record

National Health Literacy Survey 2017, Thailand (Phase 1)

dc.contributor.authorวิมล โรมาth_TH
dc.contributor.authorชะนวนทอง ธนสุกาญจน์th_TH
dc.contributor.authorมธุรส ทิพยมงคลกุลth_TH
dc.contributor.authorณัฐนารี เอมยงค์th_TH
dc.contributor.authorนรีมาลย์ นีละไพจิตรth_TH
dc.contributor.authorสายชล คล้อยเอี่ยมth_TH
dc.contributor.authorมุกดา สำนวนกลางth_TH
dc.date.accessioned2018-09-04T04:26:04Z
dc.date.available2018-09-04T04:26:04Z
dc.date.issued2561-03
dc.identifier.otherhs2438
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4926
dc.description.abstractความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) คือ ระดับสมรรถนะของบุคคล ในการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และปรับใช้ข้อมูลความรู้ และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมาระบุว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่กำหนดสถานะสุขภาพ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีแบบสำรวจที่ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของประเทศ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เพื่อใช้สะท้อนสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประเทศ และเขตสุขภาพ การศึกษานี้ใช้การสำรวจภาคตัดขวาง โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ชลบุรี กรุงเทพ และนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลกับประชาชน จำนวน 722 คน และสนทนากลุ่ม โดยสร้างข้อคำถามจากกรอบแนวคิดของกรมอนามัยที่ประยุกต์มาจากแนวคิดของ Nutbeam และการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของยุโรป และผ่านการพิจารณาความยากง่ายด้านภาษาจากผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน ก่อนนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดที่กำหนด คุณภาพของแบบสำรวจฯ ถูกยืนยันด้วยความเที่ยงภายในจากค่าสถิติ Cronbach’s alpha และความถูกต้องเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) แบบสำรวจฯ มีจำนวน 87 ข้อ ซึ่งได้รับการทดสอบว่ามีความเที่ยงในระดับดี ในทุกองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Cronbach’s alpha = 0.88 การเข้าถึง, 0.86 การเข้าใจ, 0.90 การทบทวน ซักถาม และ 0.79 การตัดสินใจ) มีความถูกต้องเชิงโครงสร้างระดับดี ดังนั้น แบบสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชากรไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็นเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพระดับดี และสามารถสะท้อนสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับเขตสุขภาพ และประเทศได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Literacyen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeNational Health Literacy Survey 2017, Thailand (Phase 1)en_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeHealth Literacy refers to individual competences to access, understand, appraise and apply health information and services to make appropriate health decisions. Studies show that health literacy has crucial influence on one’s health status. For Thailand, there is no a standard tool to assess health literacy at the regional and national level. The present study aimed to develop and validate a Thai health literacy questionnaire for Thai people aged 15 years and above for assessing health literacy at the regional and national level. A cross sectional design was employed to collect data with a developed questionnaire in six provinces. The provinces were Chiang Mai, Nakornsawan, Nakornratchasima, Bangkok, Chonburi and Nakornsrithammarat. The questionnaire was drafted based on Nutbeam’s and European Health Literacy survey framework. It was pre-tested for plain language with experts and 35 general people. For the validation, the questionnaire was administered through face to face interviews. Focus groups were conducted for qualitative analysis. The internal consistency reliability was confirmed by the Cronbach’s alpha. The construct validity was confirmed by the confirmatory factor analysis. Correlations between health literacy scores and health outcomes were also explored. There were 722 people participating in the study. The Cronbach’s alpha was .88 for access, .86 for understanding, .90 for asking and .79 for deciding. All the Cronbach’s alphas are above .70 which indicates a satisfactory internal consistency reliability for the whole questionnaire. The confirmatory factor analysis also shows a good construct validity. Health literacy scores also correlated significantly with health outcomes which included having a chronic disease and metabolic syndrome. Those health outcomes were more prevalent among people with lower health literacy. The Thai Health Literacy Questionnaire (THL-Q) is thus appropriate to assess health literacy at the regional and national level.en_US
dc.identifier.callnoW84.1 ว663ก 2561
dc.identifier.contactno60-095
dc.subject.keywordความรอบรู้ด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationวิมล โรมา, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, มธุรส ทิพยมงคลกุล, ณัฐนารี เอมยงค์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, สายชล คล้อยเอี่ยม and มุกดา สำนวนกลาง. "การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1)." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4926">http://hdl.handle.net/11228/4926</a>.
.custom.total_download3411
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year37
.custom.downloaded_fiscal_year81

Fulltext
Icon
Name: hs2438.pdf
Size: 3.000Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record