บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอัตราการคงอยู่ของศิษย์เก่าแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังการชดใช้ทุน ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นศิษย์เก่าที่จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1-22 การสำรวจรวบรวมข้อมูลรายชื่อศิษย์เก่าได้จากสมาคมศิษย์เก่าและงานบริการการศึกษา การตรวจสอบรายชื่อและสถานปฏิบัติงานได้จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข การค้นหาที่อยู่ศิษย์เก่าที่ไม่ทราบสังกัดเพิ่มเติมโดยนำรายชื่อไปค้นหาเบอร์โทรศัพท์ แล้วจึงสอบถามที่อยู่ศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังได้ค้นเพิ่มเติมจากการสอบถามตัวแทนศิษย์เก่าแต่ละรุ่นและคณาจารย์ที่ไปเยี่ยมศิษย์เก่า ณ สถานที่ปฏิบัติงานได้ช่วยตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม จนได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีศิษย์เก่าคงอยู่ในพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 70 ซึ่ง สูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 10 จากระบบรับตรงเข้าศึกษา ร้อยละ 60 2. แพทย์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 70 รองลงมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 11.65 เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2535 พบว่าอัตราการคงอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 3 ขณะที่จำนวนที่เข้าไปอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.85 3. ศิษย์เก่าไปอยู่ในสังกัดโรงพยาบาลขนาดใหญ่มากกว่าที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน 4. ศิษย์เก่าที่ปฏิบัติงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัดโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 26.88 รองลงมาสังกัดโรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ 25.48 และสังกัดโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 3.46 5. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบททุกรุ่นสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 29.66 และร้อยละ 21.63 6. แนวโน้มการคงอยู่ของศิษย์เก่าในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉลี่ยร้อยละ 70 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 60 มีทั้งหมด 19 รุ่นจากทั้งหมด 22 รุ่น รุ่นที่มีการคงอยู่มากที่สุดคือ รุ่นที่ 20 ร้อยละ 92.45 รองลงมาคือรุ่นที่ 16 ร้อยละ 90 รุ่นที่ 21 ร้อยละ 89.66 ตามลำดับ มีเพียง 3 รุ่นที่มีการคงอยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 60 คือ รุ่นที่ 2 ร้อยละ 54.55 รุ่นที่ 5 ร้อยละ 51.16 และรุ่นที่ 6 ร้อยละ 48.78 จากผลการศึกษาสรุปว่า ศิษย์เก่าแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังคงดำรงชีวิตอยู่ในชนบทเพื่อชาวชนบทได้ตามเจตนารมณ์และปรัชญาของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทั้ง 3 หลักสูตรที่เริ่มเปิดสอนมา การปรับปรุงหลักสูตรทุกหลักสูตรยังคงเน้นการผลิตแพทย์ที่สามารถแก้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชน มีเจตคติที่ดีในการให้บริการและปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุขในชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับปณิธานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ตั้งไว้แต่ต้น และได้ตอบสนองความต้องการของสังคมได้เป็นอย่างดี
บทคัดย่อ
The survey research was aimed at determining the retention rate of medical graduates of Khon Kaen
University in Northeastern Part, after their compulsory three-year bonded period. The population under
study were physicians who graduated from Khon Kaen medical school during the period 1979-2000. The
list of alumni was colleted from the Alumni Association and Medical Education section. The list of alumni
and their workplaces was investigated from Provincial Health Offices and the GIS of the Ministry of
Public Health. The incomplete list of alumni and their workplaces was investigated by searching telephone
numbers and asking questions of the alumni deputy. The list of alumni was verified by teachers
who had to visit the alumni at their workplaces. The data were analyzed using percentages. The research
findings were as follows:
1. The medical graduates remaining in the Northeast (70%) was higher than the quota rate (60%) by
10 percent.
2. The distribution of alumni was as follows: in the Northeast 70 percent and in Bangkok 11.65 percent.
Compared with findings in 1992, the distribution in the Northeast decreased by 3 percent whereas in
Bangkok it increased by 1.85 percent.
3. The alumni were stationed in large hospital (51%) more than community hospitals (49%).
4. The alumni in the Northeast worked at community hospitals 26.88 percent, regional hospitals
25.48 percent and private hospital 3.46 percent.
5. The production of the Collaborative Project to increase the production of rural doctors (CPIRD)
was higher than the target by 29.66 percent for 1999 graduates and by 21.63 percent for 2000 graduates.
6. The retention rate in the Northeast (70%) was higher than the target (60%); 19 years out of 22 years
had higher than quota rate. The three highest retention rates were 1998 graduates (92.45%), 1994 graduates
(92.45%), and 1999 graduates (92.45%) respectively. The three lower rates were 1983 graduates (48.78%),
1982 graduates (51.16%), and 1979 graduates (54.55%) respectively.
Medical graduates from Khon Kaen University were retained in the community. The retention rate
was in line with the intention and philosophy of three medical curricula, which emphasize that medical
doctors should improve the public health of the community, have a positive attitude toward serving and
working with others in the health team. The research findings confirmed the objective of the Faculty of
Medicine, Khon Kaen University.