• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประสิทธิภาพและความเหมาะสมของการประเมิน LEPTO-SCORE ในการลดความรุนแรงของผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลขอนแก่น : การวิจัยแบบสุ่มขั้นภูมิและมีกลุ่มเปรียบเทียบในจังหวัดขอนแก่น

ธนชัย พนาพุฒิ; Thanachai Panaput; วรรณา ปิยะเศวตกุล; ปริศนา วงศ์ศิริขันธ์; บัณฑิต ถิ่นคำรพ; โรงพยาบาลขอนแก่น; Khon Kaen hospital;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
ประสิทธิภาพและความเหมาะสมของการประเมิน LEPTO-SCORE ในการลดความรุนแรงของผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลขอนแก่น: การวิจัยแบบสุ่มขั้นภูมิและมีกลุ่มเปรียบเทียบในจังหวัดขอนแก่น การศึกษาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสมของการใช้ LEPTO-SCORE ในการส่งลดความรุนแรงของผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยการสุ่มแบบขั้นภูมิและมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Randomized-controlled field trial) ที่ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดขอนแก่น 4 แห่ง รวบรวมผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้น เป็นโรคเลปโตสไปโรสิสที่รักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 โรงพยาบาลในกลุ่มทดลองบันทึกค่าคะแนน LEPTO-SCORE แรกรับและที่เวลา 12 ชั่วโมง วัดระดับความรุนแรงของผู้ป่วยส่งต่อโดยใช้การประเมิน Modified APACHE II ที่ รพ.ขอนแก่น ใช้ t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนของ 2 กลุ่ม และ chi-square ในการเปรียบเทียบความเหมาะสมของการส่งต่อ ผู้ป่วยทั้งสิ้น 608 ราย จากกลุ่มทดลอง 241 ราย (39.4%) กลุ่มควบคุม 367 ราย (60.4%) เป็นชาย 413 ราย (67.9%) อายุเฉลี่ย 38 ปี และร้อยละ 86.7 มีอาชีพทำนา ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะพื้นฐานและอาการทางคลินิกใกล้เคียงกัน ผู้ป่วยได้รับการยืนยันเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส 38.9% มีผู้ป่วยถูกส่งรักษาต่อโรงพยาบาลขอนแก่นทั้งสิ้น 29 ราย คะแนน Modified APACHE II ของกลุ่มทดลอง (7.5 ( 3.6) ต่ำกว่าของกลุ่มควบคุม (10 ( 5.3) เป็น 2.5 คะแนน (95%CI: –1.9 ถึง 6.4, p = 0.28) ไม่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความเหมาะสมในการส่งต่อผู้ป่วย (กลุ่มทดลองร้อยละ 57 กลุ่มควบคุมร้อยละ 50, p = 0.73) สรุปได้ว่า การใช้ LEPTO-SCORE ในการคัดกรองส่งต่อผู้ป่วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสที่โรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มว่าน่าจะลดความรุนแรงของผู้ป่วยและเอื้อให้เกิดระบบการส่งต่ออย่างเหมาะสมมากขึ้นได้

บทคัดย่อ
Effectiveness and appropriateness of the LEPTO-SCORE for decreasing severity of suspected leptospirosis cases referred to Khon Kaen Hospital: A randomized-controlled field trial in a northeastern province of Thailand The objective was to evaluate the effectiveness and appropriateness of LEPTO-SCORE for decreasing severity of suspected leptospirosis cases referred to treat at Khon Kaen Hospital. A stratified randomized-controlled field trial was conducted at 4 district hospitals in Khon Kaen province. The suspected leptospirosis patients admitted from July 2000 to February 2001 were included for study. The patients in intervention group who had LEPTO-SCORE of at least 8 on admission or of at least 10 at 12 hour apart was assigned to refer to Khon Kaen Hospital. The severity of referred patients were assessed by using Modified APACHE II score at Khon Kaen Hospital (score of < 10 was accounted to be an appropriate refer). In all, six hundred and eight patients were recruited, 241(39.6%) in intervention group and 367 (60.4%) in control group. Most patients were male (67.9%) with the mean age of 38 years and 86.7 percent were farmers. Twenty-nine patients were referred. The Modified APACHE II score of patients in intervention group (7.5 ( 3.6) was lower than that of control group (10 ( 5.3) without statistical difference (difference = 2.5, 95%CI: -1.9 to 6.4, p = 0.28). There was no significant difference of rate of appropriated refer between both groups (57% in intervention group, 50% in control group, p = 0.73). We concluded that the LEPTO-SCORE trended to be useful for decreasing severity of suspected leptospirosis cases referred to treat in tertiary care center and for development of proper referral system.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0996.pdf
ขนาด: 960.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 69
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV