• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ทะเบียนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

จาดศรี ประจวบเหมาะ; Chadsri Phajuabmo; กัมปนาท วีรกุล; รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์; Kamphanat Weerakul; Rangsarit Khanchanawanit;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
โครงการทะเบียนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาทางระบาดวิทยาการดําเนินโรคทางคลินิก ประเมินมาตรฐานการักษาโรคกกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 ณ เวลาครบ 1 ปี มีผู้ป่วยในทะเบียนทั้งสิ้น 3,026 คน จาก 16 สถาบันทั่วประเทศ โดยแบบเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST elevation (STEMI) ร้อยละ 38.9 ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด Non ST elevation (NSTEMI) ร้อยละ 35.6 และผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (UA) ร้อยละ 25.5 อายุเฉลี่ย 64.8 ปี เป็นชายร้อยละ 59.8 หญิงร้อยละ 40.2 พบ ผู้ป่วยเป็นเบาหวานทั้งสิ้น ร้อยละ 44.8 ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงร้อยละ 62.1 ผู้ป่วยมีภาวะไขมันสูง ร้อยละ 68.9 ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ร้อยละ 31.9 ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลในสภาวะช็อคจากหัวใจ ร้อยละ 19.4 ร้อยละ 52 ของผู้ป่วย STEMI ได้รับ การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการถ่างขยายเส้นเลือดแบบเฉียบพลัน สําหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด พบค่ามัธยฐานของระยะเวลา door to needle เท่ากับ 100 นาที โดยมีเพียงร้อยละ 11 ที่ได้รับยาภายใน 30 นาที นับตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะหัวใจ ล้มเหลว โดยพบถึงร้อยละ 42.1 ของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของไทยมีอัตราตายเฉลี่ย ร้อยละ 11 (โดยกลุ่ม STEMI มีอัตราการตายร้อยละ 16.2 กลุ่ม NSTEMI อัตราการตายร้อยละ 11.7 และกลุ่ม UA อัตราการตายร้อยละ 3.1) และมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 10 วัน ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษานี้ 1) ได้เห็นความแตกต่างของอัตราตาย อัตราโรคแทรก ปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย (เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วและได้ปรับ “intervention”) และในแต่ละภูมิภาค (geographical areas) เพื่อปรับความแตกต่าง 2) ได้สร้างกลุ่มนักวิจัย ระบบในการทําวิจัยชนิดสหสถาบัน ผู้บริหารจัดการของงานวิจัย และท้ายสุด คือ การตีพิมพ์ผลงาน 3) พบความชุกของเบาหวานในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในสัดส่วนที่สูงมาก และมีผลทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายสูง จึงมีความจําเป็นที่จะต้องจัดให้มีการรณรงค์เพื่อการป้องกัน การเฟ้นหาโรค และการรักษาโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสียด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด 4) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลในภาวะช็อคสูงกว่าต่างประเทศมาก ประเด็นนี้ควรได้รับการศึกษาต่อเพื่อทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็น ปัจจัยทางชีวภาพ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชน หรือจากระบบบริการสาธารณสุขที่แตกต่างกัน

บทคัดย่อ
Objective: To establish a national registration of acute coronary syndrome (ACS) registry in Thailand in order to study clinical epidemiology, determine the demographic, management practices and in-hospital outcomes of patients with ACS.Methods and results: Thai ACS registry is a multi-center prospective project of nationwide registration in Thailand. The enrollment of the patients started in August 2002. After one year, records of 3025 patients were collected from 16 hospitals. The patients were classified as ST elevation myocardial infarction (STEMI) (38.9%), non-ST-elevation myocardial infarction (NSTEMI) (35.6%) and unstable angina (UA) (25.5%). The mean age was 64.5 years old with 59.8% of male and 40.2% of female. The cardiovascular risk factors were 44.8% of diabetes mellitus, 62.1% of hypertension, 68.9% of dyslipidemia, and 31.9% of smoking. About 52% of the STEMI patients received reperfusion/revascularization therapy. The median time of door to needle was 100 minutes in patients received thrombolytic treatment and only 11% of them were received within 30 minutes after admission. The most complication of congestive heart failure was found 42.1% in ACS group. The total mortality rate was high in STEMI (16.2%) followed by NSTEMI (11.7%) and UA (3.1%) respectively. The mean length of hospital stay was 10 days.Conclusion: Thai ACS registry provides a detail of demographic, management practices and in-hospital outcomes of the patients with ACS. These data may have an impact on our health care system and alert the government to make a policy for these problems
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1139.pdf
ขนาด: 1.617Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 282
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV