• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษาร้านเรือนยา กรุงเทพมหานคร

วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; Wanthana Maneesriwongkul;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพเภสัชกร และลักษณะของสถานบริการสุขภาพร้านยาชุมชน การศึกษานี้จะนำเสนอกรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของเภสัชกรร้านยาชุมชนในเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากใช้แนวคิดของหลักการบริบาลเภสัชกรรม การให้บริการของร้านยาแห่งนี้นอกจากเน้นบทบาทในการจ่ายยาโดยตรงให้กับประชาชนผู้มาใช้บริการ (ด้วยโรคที่ไม่ซับซ้อน) แล้ว ยังมีบทบาทในการให้บริการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยการบริการให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับเรื่องยาและให้ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น (ทั้งที่ร้านและทางโทรศัพท์) คัดกรองโรค บริการเยี่ยมบ้าน ติดตามโรคและปัญหาการใช้ยา ส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับบริการที่เหมาะสม รณรงค์ป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพในชุมชน บันทึกและแจ้งข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค จากความพยายามให้บริการที่ครอบคลุมทางด้านจิตใจและสังคม ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแต่เรื่องการจ่ายยา ทำให้เป็นที่ไว้วางใจ เสมือนเป็นผู้จัดการทางด้านสุขภาพของผู้มาใช้บริการส่วนหนึ่งในชุมชน การให้บริการของร้านยาชุมชนแห่งนี้มีจุดมุ่งหมายที่ผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ จึงพยายามทำงานเป็นทีมในลักษณะที่เกื้อกูลกันกับวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ ในปัจจุบันร้านยาแห่งนี้มีเครือข่ายความเชื่อมโยงในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ส่วนความเชื่อมโยงในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกับหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ ก็มีกับทั้งภาครัฐและเอกชนเช่น ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิกเอกชน ศูนย์ X-ray และ Lab ตลอดจนโรงพยาบาลในบริเวณใกล้เคียง แต่ความเชื่อมโยงในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเหล่านี้ยังไม่เป็นทางการ เกิดขึ้นเองตามวาระและโอกาส ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องความยอมรับและความสะดวกรวดเร็วในการประสานงาน และการส่งต่อ-รับกลับผู้ป่วย ในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการให้บริการนั้น สำคัญที่ทัศนคติและความมุ่งมั่นที่จะให้บริการ ความสัมพันธ์ที่เป็นกันเองและความหวังดีที่มีต่อผู้มาใช้บริการ ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกพึงพอใจ ไว้วางใจ และเลือกที่จะมาใช้บริการจะเห็นได้ว่าการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของเภสัชกรร้านยาแห่งนี้ มีจุดเน้นในเรื่องการใช้ยาในชุมชน การบริการที่มีคุณภาพ เป็นองค์รวม และความต่อเนื่อง มีจุดแข็งที่เข้าง่าย เภสัชกรเป็นคนในชุมชน มีกำลังคนเพียงพอในการร่วมดูแลสุขภาพประชาชนทั้งในเชิงรุกและเชิงรับในลักษณะที่เกื้อกูลกันกับวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ แต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่ขาดระบบเครือข่ายเชื่อมโยงเป็นทางการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ เนื่องจากร้านยาเป็นแหล่งที่เข้าถึงง่าย จึงมีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นเครือข่ายหนึ่งในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0906.pdf
ขนาด: 361.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 285
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV