แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่วนงานเภสัชกรรม

dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกรth_TH
dc.contributor.authorPatcharaporn Panyawuthikraien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:56Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:34:55Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:56Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:34:55Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0909en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1205en_US
dc.description.abstractโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัด ขนาดประมาณ 300 เตียง จัดเป็นสถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ ที่จะรับบริการจากการส่งต่อของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ แต่เนื่องจากต้องรับผิดชอบประชาชนในพื้นที่เขตอำเภอเมืองรอบๆ โรงพยาบาล โรงพยาบาลจึงได้พัฒนาสถานีอนามัย เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) จำนวน 5 แห่ง โดยไม่ได้เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนในโรงพยาบาล และเนื่องจากโรงพยาบาลได้ดำเนินการโครงการดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนที่บ้าน (home health care) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จึงได้ประสานกับแนวคิดของศูนย์สุขภาพชุมชน จัดเป็นทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน โดยวางแผนการเยี่ยมบ้าน เน้นที่ผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาต่อเนื่อง เป็นโรคเรื้อรัง เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรักษา หรือขาดการรักษา พร้อมกับจัดทำแฟ้มประวัติครอบครัว และขยายงานด้านการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ โรงพยาบาลได้จัดทีมรักษาเคลื่อนที่ หมุนเวียนไปให้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสาขาต่างๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง พร้อมกับจัดให้มีคลินิกพิเศษเฉพาะโรค สัปดาห์ละครั้งที่ศูนย์ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง งานด้านเภสัชกรรมที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ได้รับการสนับสนุน และสามารถเปิดบทบาทเชิงรุก ซึ่งลักษณะงานเภสัชกรรม ที่มีส่วนกับศูนย์สุขภาพชุมชน สามารถแบ่งได้เป็น 3 งานหลัก คือ 1. งานบริหารเวชภัณฑ์ เภสัชกรของโรงพยาบาลได้จัดวางระบบการบริหารเวชภัณฑ์ให้ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ความรู้ และช่วยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีระบบในการเบิก-รับ-จัดเก็บยา มีการควบคุมและเก็บรักษายาที่ถูกต้อง พร้อมกับสามารถให้คำแนะนำเรื่องยา และการปฏิบัติตัว เมื่อมีผู้มารับบริการ 2. การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรจะช่วยคัดกรอง และค้นหาปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาก่อนที่จะพบแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาในลำดับถัดไป หรือต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานในส่วนนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน และการบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน โดยเป็นการประสานการทำงานเชื่อมต่อของเภสัชกรทั้ง 3 ส่วน และประสานงานกับแพทย์และพยาบาล เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ 3. การส่งเสริมป้องกันและงานเชิงรุก ส่วนงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลประจวบฯ ได้จัดทำคู่มือค้นหาผู้ป่วย ช่วยให้สามารถค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงในบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และสามารถวางแผนการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยร่วมในการจัดกิจกรรม และการให้ความรู้ ทำให้ลดปัญหาที่เกิดจากโรคดังกล่าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent447494 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPrimary Careen_US
dc.subjectบริการปฐมภูมิen_US
dc.subjectสถานบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectศูนย์สุขภาพชุมชนen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่วนงานเภสัชกรรมth_TH
dc.title.alternativePrimary Health Care Unit: case study Prachuab Hospital, Pharmacy serviceen_US
dc.identifier.callnoW84.6 พ518ส 2545en_US
dc.identifier.contactno45ค054en_US
.custom.citationพัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร and Patcharaporn Panyawuthikrai. "สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่วนงานเภสัชกรรม." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1205">http://hdl.handle.net/11228/1205</a>.
.custom.total_download207
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0909.pdf
ขนาด: 487.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย