• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับกองทุนส่งเสริมสุขภาพ

ศิระ บุญภินนท์;
วันที่: 2541
บทคัดย่อ
กฎหมายด้านส่งเสริมสุขภาพ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปในการค้นหากลไก และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพให้ประสพความสำเร็จ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1. ประมวลลักษณะข้อกฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายที่สามารถส่งผลถึงการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ในเรื่อง การบริโภคยาสูบ อาชีวอนามัย และอุบัติภัยจราจร ที่มีอยู่ในกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย 2. เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมาย และกลไกทางกฎหมาย ของไทยกับต่างประเทศ ในเรื่องทั้ง 3ระบุกลไกและโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นสิ่งที่สามารถนำความสำเร็จมาสู่การส่งเสริมสุขภาพ สำหรับประเทศไทยการศึกษา เป็นการวิจัยเอกสารทั้งหมดผลปรากฎว่า1. มาตรการทางกฎหมายที่สามารถส่งผลถึงการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ตามปรัชญาการส่งเสริมสุขภาพ แนวใหม่ กฎหมายต้องสนับสนุนกิจกรรมหลักต่อไปนี้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดีเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็งพัฒนาทักษะส่วนบุคคลปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ 2. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริโภคยาสูบของต่างประเทศเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟินแลนด์ ได้เน้นไปที่การจัดตั้งองค์กรอิสระ จากแหล่งเงินทุนของรัฐบาล เพื่อให้องค์กรเหล่านั้น ได้มีกิจกรรมเพื่อรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้สังคมได้ตระหนักถึงพิษภัยของการบริโภคยาสูบ และให้ประชาชนตระหนักถึงการละเมิดกฎหมาย เพื่อให้ทุกคนเชื่อฟังและเคารพกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของกฎหมายสหรัฐอเมริกานั้น เป็นการส่งเสริมให้ทุกคนกระตือรือร้นที่จะรักษาสิทธิของตน กลไกของกฎหมายในประเทศดังกล่าว ย่อมส่งผลให้มีการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้คุ้นเคยกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองความปลอดภัยจากการได้รับควันจากยาสูบ อันนำไปสู่แนวคิดในการส่งเสริมสุขภาพ 3. มาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับอาชีวอนามัย ของประเทศต่าง ๆ เป็นมาตรการที่ทางราชการบังคับให้นายจ้าง ต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการต่าง ๆ ให้เป็นการเอื้ออำนวยต่อสุขภาพ อันเป็นกิจกรรมตามแนวทางส่งเสริมสุขภาพส่วนหนึ่ง แต่กฎหมายของสหรัฐอเมริกาเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ ด้วย นับว่าเป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะส่วนบุคคล และเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้ตระหนักในความปลอดภัย พร้อมกันไป อันเป็นผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ 4. มาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้รถใช้ถนน ของหลายประเทศ ได้เน้นให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กฎหมายบัญญัติอย่างจริงจัง โดยรัฐถือเป็นความรับผิดชอบต่ออุบัติภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการจราจรโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนได้ตระหนักในอันตรายที่เกิดอุบัติภัยนั้น ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงการตำหนิผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากภัยดังกล่าว บางประเทศเช่น นิวซีแลนด์ ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อระดมทุนมาใช้จ่ายส่งเสริมการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพในที่สุด 5. กลไกทางกฎหมายของไทยที่จะสามารถนำความสำเร็จมาสู่การส่งเสริมสุขภาพได้ ก็คือผู้บริหารทุกระดับต้องเกิดความตระหนักและมีวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมสุขภาพผลจากการมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารจะนำไปสู่การผลักดันนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพต้องจัดการบริหารโครงสร้างขององค์กรในการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นออกกฎหมายระดมทุน เพื่อนำมาใช้รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในหมู่ประชาชนทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อดำเนินการ ประสานงานจากทุกภาคในสังคม การสร้างเครือข่ายประชาสังคม การเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนรูปแบบต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้มีพฤติกรรมคุ้นเคยตามมาตรการความปลอดภัยต่างๆ ในทุกเรื่องที่นำมาศึกษา ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้ประชาชนมีความสามารถควบคุมและเสริมสร้างสุขภาพของคน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ อันจะเป็นการบรรลุปรัชญาของการส่งเสริมสุขภาพได้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0452.pdf
ขนาด: 616.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 147
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV